นมเกลี้ยงเต้า…ไม่มีอยู่จริง

นมแม่

“ทำยังไงดี ลูกกินนมไม่เกลี้ยงเต้าเลย เค้าจะได้รับสารอาหารครบไหมนะ?”
“เฮ้อ…ค่อยยังชั่วหน่อย วันนี้ลูกดูดนมได้เกลียงเต้าเลย”

คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่จะได้ยินคำนี้บ่อย เพราะอาจได้รับคำแนะนำต่อๆ กันมาว่า “ต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยงเต้าหรือปั๊มนมก็ต้องให้เกลี้ยงเต้า” แต่ความจริงแล้วสำหรับคุณแม่บางท่านที่เมื่อลูกกินนมอิ่มแล้ว และรู้สึกว่ายังไม่เกลี้ยงเต้าก็ใช้เครื่องปั๊มช่วยปั๊มนมออกมา แถมพอปั๊มเสร็จก็ยังมีน้ำนมไหลออกมาอยู่

อ้าว…ทำยังไงถึงจะเกลี้ยงเต้า?

วันนี้โตจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่า “นมเกลี้ยงเต้า” จะเป็นไปได้หรือไม่? อย่างไร?

ความจริงเกี่ยวกับ “นมเกลี้ยงเต้า”

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกตลอดเวลานั้น คำว่า “เกลี้ยงเต้า” จะไม่มีในพจนานุกรมของคุณแม่เลยค่ะ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณแม่เลิกให้นมลูกเท่านั้น น้ำนมของคุณแม่ก็จะหยุดผลิตหรือที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า “น้ำนมแห้ง” นั่นเอง

แต่ถ้าหากคุณแม่ยังคงให้ลูกกินนมแม่อยู่ น้ำนมของคุณแม่ก็จะเปิดโรงงานผลิตอยู่ตลอดเวลา น้ำนมก็จะถูกเก็บไว้ที่เต้านม เมื่อพื้นที่จัดเก็บเต็ม คุณแม่ก็จะรู้สึกว่า “คัดเต้า” เพราะน้ำนมใหม่ที่ถูกผลิตออกมาไม่มีที่เก็บซึ่งคุณแม่ต้องหาทางระบายออกด้วยการให้ลูกดูดหรือไม่ก็ปั๊มออก เพื่อให้มีที่ว่างพอที่จะจัดเก็บน้ำนมใหม่ที่ยังคงผลิตต่อไปเรื่อยๆ

“ถ้าปล่อยให้เต็มบ่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้น?”

ถ้าปล่อยให้เต้าเต็มบ่อยๆ ร่างกายจะเรียนรู้ว่า “ความต้องการน้ำนม” ลดลง ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมน้อยลงเป็นลำดับค่ะ

แบบไหนดีกว่ากัน ลูกดูด vs เครื่องปั๊มนม

หัวข้อนี้ต้องบอกว่า ถ้าร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมมาได้พอดีๆ กับที่ลูกต้องการ ลูกก็จะดูดได้ดีกว่าเครื่องปั๊ม เพราะน้ำนมที่เหลือน้อยและลึกนั้น ลูกจะดูดได้ดีกว่า

แต่ถ้าร่างกายผลิตน้ำนมได้มากกว่าที่ลูกต้องการ ลูกจะเลิกดูดเมื่อเค้าอิ่ม ทำให้ยังมีปริมาณนมค้างอยู่ในเต้า แล้วเราใช้เครื่องปั๊มออกทำให้ได้นมออกมามากกว่าที่ลูกดูด ถึงแม้ว่าเค้ายังอมหัวนมแม่ แต่เค้าก็แค่ดูดเล่นไม่ได้กินนมจริงๆ

เพราะนมแม่ที่เหลือเยอะ ทำให้คุณแม่ต้องปั๊มนมออกหลังลูกกินอิ่ม ย้อนกลับไปเริ่มแรก เพราะคุณแม่ใช้เครื่องปั๊มนมหลอกร่างกายว่า “ฉันยังต้องการน้ำนมเพิ่มอีก”จึงทำให้น้ำนมผลิตออกมาเยอะตามไปด้วย แต่ถ้าให้ลูกดูดอย่างเดียว ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมออกมาได้น้อยกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าน้ำนมจะไม่พอเลี้ยงลูกนะคะ เพียงแต่ต้องให้ลูกดูดตลอดเวลาโดยไม่ปั๊มออกเลย น้ำนมก็ยังพอค่ะ เพียงแต่ไม่ได้เหลือเก็บเท่านั้นเอง

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น…

ถ้าร่างกายตอบสนองได้ดีกับเครื่องปั๊มนม (ก็คือจะรู้สึกจี๊ดๆ ขณะปั๊ม มีน้ำนมพุ่งแรง อาจเกิดได้หลายครั้งในขณะที่ปั๊ม) ปั๊มเสร็จ (น้ำนมหยุดไหลหรือเต้านิ่ม)…

  • เครื่องปั๊มสามารถระบายน้ำนมแม่ออกมาได้ถึง 80%
  • หากบีบต่อด้วยมืออีกซักพัก ก็อาจได้น้ำนมออกมาอีกซัก 10%หลังจากนั้นอาจบีบไม่ค่อยออกแล้ว
  • ซึ่งถ้าลูกดูดต่อ ก็จะสามารถดูดออกมาได้อีก 5%แต่ถ้าลูกหิวแล้วให้ลูกดูดช่วงนี้ ลูกร้องงอแงแน่นอน และเค้าจะหงุดหงิด เพราะน้ำนมเหลือน้อยแล้ว
  • เหลือน้ำนมในเต้าอีก 5% ซึ่งถ้ารออีกซักประมาณ 2-3 นาที คุณแม่ก็จะบีบออกมาได้อีก ไม่มีทางเกลี้ยงเต้าจริงซักทีค่ะ

หาตัวช่วยในการเพิ่มน้ำนม

อยู่ใกล้ๆ เรานี่เอง “ลูก” เลยค่ะ ให้ลูกเป็นตัวช่วย ให้ลูกดูดข้างนึง แล้วปั๊มอีกข้างนึงไปพร้อมๆ กัน เพราะเวลาที่ลูกดูด กลไกของการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ดี ฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้จังหวะเองค่ะ

เพราะฉะนั้นแล้ว คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต้องกังวลว่านมจะไม่พอนะคะ ไม่ต้องกังวลเห็นแม่ๆ คนอื่นๆ มีนมสต้อคในตู้เหลือเฟือ ทำไมเราไม่มีเหมือนเค้ายิ่งเครียดน้ำนมจะยิ่งไหลน้อย เพียงแค่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ นานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ว่าจะลูกดูดหรือปั๊ม ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอและมีวินัยในตัวเองก็พอค่ะ

อ้างอิง brestfeedingthai.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP