น้ำหนักทารกในครรภ์ จะเพิ่มได้อย่างไร แบบไหนต้องพบแพทย์

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่แล้ว ช่วงตั้งครรภ์เป็นอะไรที่มีความสุขที่สุดแล้ว แต่ขณะเดียวกันถามว่ามีความกังวลอะไรไหม คำตอบคือ มีแน่นอนค่ะ โดยเฉพาะกับน้ำหนักของทารกในครรภ์ เพราะคุณแม่บางคนทานเยอะ ทานบ่อย บอกว่าลูกในครรภ์จะได้โตๆ แต่ความจริงแล้วจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แล้วถ้าทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย จะเพิ่มน้ำหนักได้อย่างไร

น้ำหนักทารกในครรภ์ ดูได้จากที่ไหน?

การอัลตราซาวด์

วิธีนี้จะเป็นการประเมินน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแพทย์จะสามารถวัดขนาดของศีรษะและมองเห็นความสมบูรณ์ของร่างกายลูกน้อยได้ ซึ่งน้ำหนักของลูกในครรภ์จะประเมินได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ปริมาณน้ำคร่ำในท้องของคุณแม่
  • ขนาดความใหญ่ของหน้าท้อง
  • การลอยตัวทารกในน้ำคร่ำ

การตรวจร่างกาย

ใช้วิธีการวัดความสูงของยอดมดลูก ด้วยสายวัดนำมาวัดยอดระดับมดลูก โดยให้วัดจากระยะรอยต่อ ของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดของมดลูก ให้แนบตามส่วนโค้งของมดลูก ทั้งนี้ในช่วงอายุครรภ์ที่ 18-30 สัปดาห์ นับเป็นช่วงเวลาที่จะสามารถสังเกตขนาดมดลูกได้อย่างชัดเจน และง่ายที่สุด หน่วยที่ใช้วัดจะเป็นเซนติเมตร ซึ่งจะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ ดังนั้นควรวัดได้ 24 เซนติเมตร เป็นต้น

น้ำหนักตัวของคุณแม่

น้ำหนักตัวของคุณแม่เราจะไม่นับในช่วงไตรมาสแรกค่ะ เพราะคุณแม่บางคนมีอาการแพ้มาก ไม่สามารถทานอาหารได้มาก ก็อาจจะทำให้น้ำหนักยังไม่ขึ้นสักเท่าไหร่ การนับ เราจะนับหลังจากมีอายุครรภ์ครบ 3 เดือนแล้ว โดยน้ำหนักคุณแม่ควรขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 0.2-0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

  • การเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ คุณแม่ต้องศึกษาวิธีดีๆ นะคะ เพราะไม่อย่างนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจะกลายเป็นน้ำหนักค้างตัวของคุณแม่แทน เพราะฉะนั้นเราไปดูวิธีการเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์กันเลยดีกว่าค่ะ
    ทานอาหารที่หลากหลาย โดยเน้นในส่วนที่เป็นโปรตีน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ไม่ทานคาร์โบไฮเดรตเลยนะคะ คาร์โบไฮเดรตทานได้ค่ะ แต่ให้น้อยกว่าโปรตีน โปรตีนที่มีประโยชน์ ได้แก่ ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร โดยประมาณ
แม่โน้ต

สำหรับโปรตีนจากนม คุณแม่ควรทานนมให้หลากหลาย ไม่ใช่แค่เฉพาะนมวัวอย่างเดียว แต่ยังมีนมจากพืชอื่นๆ ที่ให้โปรตีนได้มากเช่นกัน เพื่อป้องกันทารกแพ้โปรตีนจากนมวัวค่ะ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการอ่อนเพลียและต้องการการพักผ่อนที่มากกว่าปกติ ดังนั้น ถ้าคุณแม่สามารถงีบหรือนอนหลับพักผ่อนได้ก็ควรทำค่ะ การพักผ่อน สามารถทำได้โดยการไปเดินเล่นพักผ่อนที่สวนสาธารณะกว้าง เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์แบบนี้ก็ได้เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น หรือหากจะเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ หรือแม้ว่าคุณแม่ไม่ได้สูบบุหรี่ ก็ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ด้วยนะคะ เพราะจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ
  • ออกกำลังกาย คลายเส้นแต่พอดีและในท่าที่เหมาะสม เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อคุณแม่แข็งแรง ไม่อ่อนล้าง่าย ที่สำคัญ ขณะที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะพาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและสมอง ทำให้คุณแม่มีสมองที่ปลอดโปร่งได้อีกด้วยค่ะ
  • หากคุณแม่หายจากอาการแพ้ท้องแล้ว โดยมากแพทย์จะแนะนำให้ทานทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเน้นเป็นผลไม้ เช่น กล้วยหอม 1 ลูก แอปเปิล ถัดไปอาจเป็นนมถั่วเหลือง หรือนมอัลมอนด์ แต่โดยรวมแล้วใน 1 วันคุณแม่ต้องทานให้ครบ 5 หมู่นะคะ
  • คุณแม่ท้องที่มีโรคประจำตัว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

น้ำหนักทารกในครรภ์น้อยแบบไหนควรพบแพทย์

ช่วง 4 เดือนแรก น้ำหนักจะไม่เพิ่มขึ้น

ในช่วง 1-3 เดือนแรก คุณแม่ส่วนใหญ่มักต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องค่ะ กินเข้าไปเท่าไหร่ก็ออกมาเท่านั้น จนร่างกายเพลียและต้องการการพักผ่อนมากกว่า ส่วนเดือนที่ 4 จะเป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มจะทานได้บ้างแล้ว หรือเรียกว่าเป็นช่วงทำน้ำหนักนั่นเอง แต่ก็ไม่ควรตามใจปากนะคะ เพราะจะกลายเป็นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะตกอยู่ที่คุณแม่มากกว่าลูกในครรภ์

ช่วง 3-6 เดือน น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัม/สัปดาห์

ช่วงนี้เริ่มทานได้มากขึ้น แต่ควรระวังไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคขณะตั้งครรภ์เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการคลอดธรรมชาติไม่ได้ รวมไปถึงระหว่างการคลอด ทารกอาจเสี่ยงต่อการติดไหล่ เป็นต้น

จะดีที่สุดหากคุณแม่จะเน้นทานอาหารที่มีโปรตีน และลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง พบแพทย์ตามนัด แต่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจทุกเดือน แล้วจะเพิ่มความถี่ในการนัดให้มากขึ้น จากเดือนละครั้ง เป็นเดือนละ 2 ครั้ง ตลอดจนใกล้คลอด ระหว่างนี้คุณแม่ควรดูแลตัวเองและมีวินัยในการกินด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกที่แข็งแรงค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP