ทำอย่างไรให้ลูกกินผักใบเขียว

แม่แชร์ประสบการณ์
JESSIE MUM

“ลูกไม่ยอมกินผัก”

เป็นปัญหาสุดคลาสสิกของคนที่เป็นคุณพ่อคุณแม่อย่างเราจริงๆ เรียกได้ว่าถ้าใครมีลูกต้องเจอกับปัญหานี้อย่างแน่นอน
ก่อนที่โตจะไปเรื่องวิธีการทำอย่างไรให้ลูกกินผักใบเขียว ต้องขอแยกเรื่องสีผักกันซักนิดค่ะ

ประสบการณ์จากแม่โน้ต

คุณแม่ลูกหนึ่งที่เคยผ่านภาวะครรภ์เป็นพิษมาแล้ว ต้องคลอดลูกก่อนกำหนดด้วยอายุครรภ์เพียง 7 เดือน ต้องเลี้ยงลูกด้วยหลักคำสอนของผู้ใหญ่บ้าง ของตัวเองบ้างเพราะ…เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และยุคสมัยต่างกัน
ในขณะที่ยุคนี้คือ “ยุคดิจิทัล” โจทย์ในการเลี้ยงลูกเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราเองก็ต้องตั้งรับให้ดีและเตรียมความพร้อมให้ลูกเช่นกัน
โน้ตเลิฟการอ่าน รักการเขียน ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ค่ะ

Blockdit : คุณแม่บ้านบ้าน
IG : notepatsita

สีของผักมีผลต่อการกิน

ต้องบอกว่าผักที่น้องมินชอบหรือกินได้จะเป็นพวกแครอท ฟักทอง ฟัก หัวไชเท้า หอมหัวใหญ่ และข้าวโพดอ่อน คือเป็นผักที่มีสีส้ม สีเหลือง สีเขียวอ่อน ไม่ได้มีสีเขียวจ๋า แต่พอเค้าโตขึ้น เราเริ่มหาเทคนิคและวิธีในการปรุงอาหารที่หลากหลายเพื่อให้เค้าลองกิน เค้าก็กินได้มากขึ้น

ตอนนี้น้องมินอายุได้ 4 ขวบกว่า ผักสีเขียวที่เค้ากินได้เยอะขึ้นก็จะมี กวางตุ้ง ฮ่องเต้น้อย บรอกโคลีเป็นต้น

“ทำไมเด็กที่เห็นผักสีเขียวแล้วมีอาการยี้หรือต่อต้านไม่อยากเคี้ยว ไม่อยากกลืน?”

สิ่งที่โน้ตเห็นจากลูกในระยะแรกๆ ที่เราเริ่มหัดให้เค้ากินผักใบเขียวก็คือ พอเค้าเห็นอะไรก็ตามที่เป็นสีเขียวในจานอาหาร เค้าจะเขี่ยออกทันที หรือไม่ถ้าเข้าปากไปแล้ว เค้าก็สามารถตรวจจับความเขียวแล้วคายออกมาได้หรือบางครั้งพอเค้าเห็นว่าอาหารคำนั้นที่กำลังจะเข้าปากมีสีเขียว พอเคี้ยวได้ซัก 2-3 ครั้งเค้าทำท่าจะอ้วกทันที

“เพราะอะไร?”

อาจเป็นเพราะความ “เหม็นเขียว” ของผักใบเขียว ยิ่งถ้านำผักใบเขียมมาปรุงอาหารแล้วยังไม่สามารถกลบกลิ่นผักได้ เด็กก็จะยี้และไม่อยากกินอีกเลย แต่ส่วนผักที่มีสีเหลืองและสีส้ม กลิ่นของมันจะไม่แรงเท่าผักสีเขียว

ทำไมต้องกินผักที่มีสีเขียว ในเมื่อลูกกินผักสีอื่นก็ได้

ผักที่มีสีเหลือง สีส้ม และสีแดง จะอุดมไปด้วยสารชนิดหนึ่ง ก็คือ “แคโรทีน (Carotenemia)” พบมากในฟักทอง มะละกอ หัวผักกาดแดง และแครอท

สารดังกล่าวนี้ เมื่อเรากินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดอาการตัวเหลือง แต่ตาไม่เหลือง โดยจะเห็นได้ชัดจากฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามร่างกาย

ซึ่งอาการตัวเหลืองนี้ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในทางการแพทย์แต่อย่างใด เพียงแค่หยุดกินผักเหล่านี้เท่านั้นเองค่ะ

เทคนิคช่วยให้ลูกกินผักใบเขียว

อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทราบกันดีว่าการที่เรากินอาหารที่หลากหลายนั้นทำให้เราได้รับสารอาหารต่างๆ ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การกินผักก็เช่นกัน

“แต่จะทำยังไงล่ะ ในเมื่อลูกไม่ยอมกินผัก โดยเฉพาะผักสีเขียว?”

แรกๆ โน้ตก็เหนื่อยใจเหมือนกันค่ะ แต่ก็ยังไม่ยอมนะ คิดหาทางไปเรื่อยจนได้มาซึ่งวิธีการดังนี้

ปรับเปลี่ยนเมนู

เช่น นำมาชุบแป้งทอด อาจเริ่มจากผักที่สีอ่อนก่อน อาทิ ดอกกะหล่ำ ฟัก หรือบางทีอาจแซมด้วยบรอกโคลีนิดหน่อย

ไม่ต้อง “ซ่อนผัก”

สำหรับโน้ต เราอยากให้เค้ากินผักสีเขียวได้โดยไม่ต้องอาศัย “การซ่อนผัก” โน้ตก็จะอาศัยการหั่นผักสีเขียวที่เล็กๆ หน่อย เพื่อที่ยังไม่ให้เค้าสัมผัสได้ถึงรสชาติของมันมากนัก (ทางลิ้น) แต่ในขณะที่ให้เค้าเห็นก่อนว่ามีผักสีเขียวในจาน (ทางตา)

พากย์การ์ตูน

มีอยู่ครั้งนึงโน้ตอยากให้ทดลองดูว่าถ้าเป็นน้ำซุปผักในร้านสุกี้ น้องมินเค้าจะกินไหม โน้ตก็ทำน้ำซุปใส่ผักกวางตุ้งให้ พอน้องมินรับถ้วยมา เค้ามองแบบคิดหนักในใจว่า

“หนูต้องกินใช่ไหมเนี่ย?”

ตอนนั้นโน้ตคิดขึ้นมาได้ว่า ลองพากย์เป็นตัวการ์ตูนดู โน้ตก็เลยกลายเป็น “ตัวเชื้อโรค 3 ตัว” ที่นั่งพากย์ข้างๆ พากย์ไป พากย์มา น้องมินยอมกิน…หมดถ้วยเลย หลังจากนั้นก็ให้โน้ตนั่งพากย์เรื่อยมา 555

ค่อยๆ เพิ่มผักใบเขียวทีละนิด

แบบนี้ก็จะค่อยเป็นค่อยไป เวลาที่คุณแม่ทำอาหารก็จะอาศัยว่ามีผักที่ลูกกิน และค่อยๆ เพิ่มผักใหม่ๆ เข้าไปซัก 5% ของอาหาร แล้วค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้นก็ไดค่ะ

มีเมนูผักบนโต๊ะอาหารให้ลูกเห็นทุกวัน

ในทุกมื้อของอาหาร คุณพ่อคุณแม่ควรมีเมนูผักมากินด้วยทุกครั้ง ทำให้ลูกเห็นว่าการกินผักนั้นเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็กินกัน

พ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ลูกๆ มักเลียนแบบพฤติกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ ถ้าลูกมีตัวอย่างที่ดี เค้าจะทำตามโดยที่เราจะไม่ต้องเหนื่อยพูดเลยค่ะ

การฝึกให้ลูกกินผักใบเขียวนั้นไม่ใชเรื่องยาก บางอย่าง บางครั้ง คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องให้เวลากับลูกด้วยเหมือนกัน เพราะการยัดเยียดลูกมากไปในเวลาที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ลูกฝังใจและไม่ชอบทานผักไปเลยก็ได้ค่ะ ใจร่มๆ ค่อยเป็นค่อยไป เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP