กินยาคุมฉุกเฉิน กินยังไง ให้ปลอดภัย

ไลฟ์สไตล์
JESSIE MUM

การคุมกำเนิดสามารถได้หลายวิธีทั้งที่ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีด หรือการกินยาคุมกำเนิดรายเดือนเอง และจะมีอีกแบบคือ “ยาคุมฉุกเฉิน” จากชื่อก็บอกแล้วว่าฉุกเฉิน การกินและฮอรโมนที่มีอยู่ในตัวยาคุมฉุกเฉินก็จะต่างไปจากการกินยาคุมกำเนิดรายเดือนปกติ แต่ก่อนกินยาคุมฉุกเฉินให้ถูกต้องนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนใช้

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill)

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือ Emergency Contraception Pill นั้น ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศโปรเจสตินชนิดเดียวและยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแบบฮอร์โมนคู่ ซึ่งยาคุมประเภทนี้สามารถช่วยคุมกำเนิดได้แบบไม่พร้อมที่ 80 – 90% โดยประมาณ ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันนั้นยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กินอีกด้วย
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินควรใช้ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์กันโดยที่ไม่ได้ใช้วิธีการคุมกำเนิดประเภทอื่น ๆ หรืออาจมีความผิดพลาดจากการคุมกำเนิด อาทิ ถุงยางแตก หรือรั่ว ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ นับระยะที่ปลอดภัยผิด (“หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ” การลืมกินยาคุมกำเนิดรายเดือนเกิน 3 วัน และยังหมายรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม หรือการข่มขืน


หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง? การนับหน้า 7 หลัง 7 ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ นับอย่างไร รีบหยิบปฏิทินมาเลยค่ะ แล้วมานับไปพร้อมกัน คลิกที่นี่

วิธีการกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างถูกต้อง

ขนาดของยาเม็ดคุมกำเนิดจะมีขนาดเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ด จำเป็นต้องรีบกินให้เร็วที่สุดหลังการมีเพศสัมพันธ์กันโดยที่ไม่ได้ป้องกัน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถเลือกกินได้ 2 แบบด้วยกัน ดังนี้

  • กินพร้อมกันทีเดียวเลย 2 เม็ด ทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • หลังมีเพศสัมพันธ์ให้รีบกินยาเม็ดแรกทันที และกินเม็ดที่สองโดยให้ห่างกัน 12 ชั่วโมง แต่ประเด็นคือ ต้องระวังไม่ให้ลืมกินเม็ดที่สอง ซึ่งส่วนใหญ่จะลืมกินกัน พอลืมกินก็เข้าใจว่ากินแค่เม็ดแรกเม็ดเดียวก็พอ แบบนี้อาจต้องเตรียมเลี้ยงลูกกันเลยค่ะ
  • หากในกรณีที่ไม่สามารถกินยาได้ทันที ไม่เป็นไร ยังกินหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์กันได้ซึ่งไม่ควรเกิน 3 วัน หรือต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • หากมีการอาเจียนหลังจากที่กินยาไปแล้ว 2 ชั่วโมง จำเป็นต้องกินยาซ้ำ
  • หากกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว แต่มีเพศสัมพันธ์ซ้ำ ไม่จำเป็นต้องกินยาซ้ำอีก เพราะยาจะไม่มีผลใด ๆ และไม่ได้ส่งผลอะไรเพิ่ม
  • ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉิน 2 แผง (หรือ 4 เม็ด) ในรอบเดือนเดียว เพราะยาจะส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์สร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติได้
  • ยาคุมฉุกเฉินควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เพราะการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อาจส่งผลให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล และที่สำคัญ ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนการกินยาคุมแบบปกติ หรือแบบรายเดือน
  • หากตั้งครรภ์หรือมีการสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ให้หยุดกินยาคุมฉุกเฉินทันที และปรึกษาแพทย์ค่ะ

ผลข้างเคียงของการกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน

สำหรับผลข้างเคียงของการกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะค่อนข้างสูง เนื่องจากฤทธิ์ของยามีผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้

  • หลังจากกินยาได้ไม่นาน อาการที่พบคือ คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ เนื่องจากในบางรายร่างกายอาจมีการต่อต้านยาคุม หรือร่างกายต้องการปรับตามฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ เนื่องจากไข่ตกไม่ตรงตามปกติที่เคยเป็น
  • มีความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก
  • อาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมได้อนาคต เนื่องจากเคยมีผลงานการวิจัยระบุไว้ก่อนหน้า

ข้อควรรู้ก่อนกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน

  • ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ ยาประเภทนี้มีฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ดังนั้น ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะที่มีเพศสัมพันธ์
  • ยาคุมฉุกเฉินไม่ใช้ยาที่ทำให้แท้ง ยาชนิดนี้เป็นยาที่ป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งถ้าหากไข่ได้รับการปฏิสนธิและฝังอยู่ในโพรงมดลูกแล้ว ยานี้ก็ไม่สามารถทำอะไรได้
  • ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีผลอันตรายต่อการตั้งครรภ์ในรอบใหม่แต่อย่างใด
  • เนื่องจากมีความเข้าใจว่ายาคุมฉุกเฉินมีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการ โดยจากรายงานไม่พบว่าการที่ทารกพิการมาจากการกินยาคุมฉุกเฉินโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์

ขึ้นชื่อว่า “ยา” เมื่อกินเข้าไปแล้วก็จะมีผลต่อร่างกาย ซึ่งยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่มีฮอร์โมนสูง ก่อนกินควรปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีใช้ก่อนนะคะ และไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนการกินยาคุมรายเดือนเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

ข้อมูลอ้างอิง ram-hosp.co.th, samitivejhospitals.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP