9 ภาชนะอาหารที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ เสี่ยงอันตรายต่อลูก

ไลฟ์สไตล์

เพราะการได้ดูแลลูกน้อยเป็นความสุขอย่างหนึ่ง การได้ทำอาหาร เตรียมอาหารให้ลูกน้อย และครอบครัวก็คือ ความสุขอีกอย่างหนึ่ง แต่เชื่อว่าคุณแม่จะมีความสุขมากขึ้นหากได้รู้ว่าการทำอาหารนั้น มีภาชนะอะไรที่ควรเลี่ยงไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพื่อเป็นการป้องกันสารเคมีที่จะเข้าไปสะสมในร่างกายและเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ของลูกน้อยหรือครอบครัวภาชนะดังกล่าวมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ

9 ภาชนะอาหารที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ

การใช้ไมโครเวฟนับว่าเป็นวิธีที่สะดวกในการอุ่นอาหาร ซึ่งอาหารบางชนิดสามารถใช้แค่ไมโครเวฟอย่างเดียวก็สามารถนำออกมาทานได้เลย แต่ก็จะมีบางภาชนะที่ไม่ควรนำไปเข้าไมโครเวฟ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ มีภาชนะอะไรบ้างที่ควรเลี่ยง ไปดูกันค่ะ

ภาชนะพลาสติก

ในพลาสติกมีสารเคมีที่ช่วยทำให้พลาสติกเกิดความยืดหยุ่นได้ หรือที่เราเรียกว่า สาร Plasticizer นั่นเอง เมื่อพลาสติกถูกความร้อนจากรังสีของไมโครเวฟที่ปล่อยออกมาสารนี้จะปนเปื้อนออกมาด้วย และที่อันตรายมากไปกว่านั้นคือ เมื่อใช้กับอาหารที่มีไขมันสูง

นอกจากนี้ยังมีสารอันตรายอื่น ๆ อีก ได้แก่ Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารระเหยที่เกิดขึ้นเมื่อพลาสติกอย่าง PET ถูกความร้อนก็จะหลอมละลาย ส่งผลให้อาหารมีกลิ่นหรือรสชาติที่เสียไปได้

ภาชนะโฟม

ภาชนะโฟม กล่องโฟม หรืออะไรก็ตามที่มีวัตถุดิบที่ทำมาจากโฟม มักจะมีสารประกอบที่สามารถหลอมเหลวและติดไฟได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟหรือเสี่ยงต่อการระเบิดในไมโครเวฟได้ ทำให้เครื่องเสียหายอีกด้วยค่ะ

ถุงกระดาษ จานกระดาษ

ถุงกระดาษหรือจานกระดาษ ดูเหมือนจะไม่มีอะไรใช่ไหมคะ แต่แท้จริงแล้ว หากนำภาชนะที่เป็นกระดาศเข้าไมโครเวฟ ความร้อนจากไมโครเวฟจะส่งผลให้กระดาษไหม้ได้เลยทีเดียวค่ะ

ถ้วยโยเกิร์ต

ถ้วยโยเกิร์ตเป็นถ้วยที่ทำจากพลาสติก และเป็นภาชนะที่ควรใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งที่สำคัญ ถ้วยโยเกิร์ตไม่ใช่ถ้วยที่จะนำมาใส่อาหารแล้วนำเข้าไมโครเวฟ เพราะความร้อนที่สูงจากรังสีของไม่โครเวฟจะทำให้ถ้วยละลายและมีสารเคมีปนเปื้อนในอาหารได้

อะลูมิเนียม

อะลูมิเนียมหรือเหล็ก แม้มีปนเปื้อนเข้าไปในไมโครเวฟเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เนื่องจากมีการส่งผ่านพลาสมาไปยังเครื่องไมโครเวฟจนทำให้เกิดการช็อต และระเบิดได้นั่นเอง

แผ่นพลาสติกที่ปิดอาหาร

หรือก็คือที่ Wrap อาหารที่คุณแม่บ้านมักนิยมใช้กันนั่นเองค่ะ พลาสติกปิดอาหารทุกชนิดไม่สามารถนำเข้าเครื่องไมโครเวฟได้นะคะ เพราะเมื่อแผ่นพลาสติกถูกความร้อนมาก ๆ อาจทำให้เกิดการละลายของแผ่นพลาสติกและลงไปปนเปื้อนกับอาหารได้ ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งหรืออาจเสี่ยงต่อการเป็นหมันได้

แก้วเก็บความร้อน

แก้วเก็บความร้อน ฟังดูร้อน ๆ เหมือนกันน่าจะใช้ด้วยกันได้ แต่แท้จริงแล้ว แก้วเก็บความร้อนส่วนใหญ่ทำมาจากสแตนเลสที่สามารถเก็บกักความเย็นได้ เข้าข่ายประเภทเดียวกันกับอะลูมิเนียม และเหล็ก หากนำแก้วเก็บความร้อนเข้าไมโครเวฟแล้ว นอกจากจะไม่ทำให้อาหารด้านในร้อนแล้ว แต่ยังทำให้เครื่องไมโครเวฟเสียหายอีกด้วยค่ะ

ฟอยล์อะลูมิเนียม

ฟอยล์อะลูมิเนียมเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวการร้ายเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้ไมโครเวฟช็อตแล้ว ยังทำให้เกิดไฟไหม้ที่ตัวเครื่องไมโครเวฟเองอีกด้วยค่ะ

ภาชนะโลหะ

ด้วยหลักการทำงานของไมโครเวฟคือ ไมโครเวฟจะปล่อยคลื่นไฟฟ้าไปยังส่วนที่เป็นโลหะ ดังนั้น จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและความร้อนขึ้น ดังนั้นเมื่อจุดนั้นมีความร้อนสะสมอยู่นาน อาจทำให้เกิดไฟไหม้ หลอมละลาย หรืออาจระเบิดได้ ซึ่งจะทำให้มีสารปนเปื้อนในอาหารได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับภาชนะที่ห้ามนำเข้าเครื่องไมโครเวฟ บางคนอาจบอกว่า ไม่เป็นไรมั้ง แค่ครั้งเดียวเอง แต่ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ถือเป็นการเสี่ยงทั้งนั้นค่ะ เสี่ยงต่อการที่ไฟไหม้เครื่องไมโครเวฟ เสี่ยงต่อการหลอมละลาย เสี่ยงต่อเครื่องไมโครเวฟระเบิด ที่สำคัญ เสี่ยงต่อสุขภาพที่ต้องเสียไปจากความมักง่ายหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น ในเมื่อวันนี้เรารู้กันอย่างนี้แล้ว เราสามารถเลือกชีวิตที่ดีที่ปลอดโรคภัยให้ตัวเอง ให้ลูกและครอบครัวได้ ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันเสียแต่วันนี้นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP