ลูกพูดช้าไปหรือเปล่า ทำอย่างไรที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการการพูดของลูกได้

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

เมื่อไม่กี่วันก่อนเห็นมีคุณแม่ดาราท่านหนึ่งออกมาโพสต์แสดงความเป็นห่วงว่าลูกจะมีพัฒนาการด้านพูดช้า ถ้าจำไม่ผิดลูกน่าจะอายุราว ๆ 1 ขวบ ซึ่งเหมือนเดิมค่ะวันนี้โน้ตมีข้อมูลที่อยากนำมาแชร์ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันก่อนเกี่ยวกับจุดเด่นในเรื่องพัฒนาการพูดของเด็กแต่ละช่วงวัยกันก่อน แล้วเราค่อยไปดูวิธีทดสอบเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการพูด พร้อมทั้งวิธีกระตุ้นการพูดของลูกกัน

พัฒนาการด้านการพูดของเด็กแรกเกิด – 3 ขวบ

วัยแรกเกิด-3 เดือน

ปกติแล้วเด็กแรกเกิดสิ่งเดียวที่เขาสามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ก็คือ การร้องไห้ ซึ่งจะร้องไห้ก็ต่อเมื่อหิว และมีอาการไม่สบายตัว หรืออาจมีบ้างเล็กน้อยที่บางครั้งจะมีอาการท้องอืดทำให้ลูกอึดอัด พอเข้าช่วงอายุ 3 เดือน ลูกน้อยจะมีการตอบสนองกับคุณพ่อคุณแม่ได้ดีมากขึ้น โดยจะเป็นการพูดคลอตามขณะที่คุณพ่อคุณแม่คุยด้วยหรือบางทีก็ทำท่าเหยียดมือออกเพื่อที่จะขอของเล่น

วัย 4-6 เดือน

ช่วงประมาณ 4-5 เดือนลูกน้อยจะยังพูดคลอตามแต่ยังไม่เป็นคำ ยังไม่สามารถสื่อสารได้ แต่พอเข้าอายุ 6 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มมีออกเสียงเป็นเสียงสระง่าย ๆ ได้แล้วค่ะ ซึ่งเป็นสระพื้นฐานที่เด็กทุกคนจะเริ่มออกเสียงกัน เช่น “บา” หรือ “มา” และที่สำคัญ ลูกน้อยจะเริ่มจำชื่อของตัวเองได้แล้วนะคะ

วัย 7-9 เดือน

ช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้และสร้างคำใหม่จากเสียงของสระตัวอื่น ๆ ได้แล้ว เริ่มจำชื่อของตัวเองได้แม่นยำขึ้น ให้คุณพ่อคุณแม่ทดลองเรียกชื่อเล่นลูกก็ได้ค่ะ เขาจะสามารถหันตามที่คุณพ่อคุณแม่เรียกได้เลย

วัย 10-11 เดือน

สำหรับช่วงวัยนี้คำต่าง ๆ ที่ลูกเริ่มพูดได้ เริ่มเป็นคำที่สามารถใช้สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วค่ะ คำง่าย ๆ ที่ลูกเคยพูดได้พยางค์เดียว มาช่วงนี้สามารถพูดเพิ่มได้เป็นสองพยางค์ เช่น “มามา” หรือ “ปาปา” เป็นต้น

วัย 12-17 เดือน

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาลูกสามารถเรียนรู้และพูดได้ โดยคำที่พูดนั้นเป็นคำที่มีความหมายสามารถสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจ เช่น มามา หรือ ปาปา เป็นต้น ซึ่งโดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัย 12 เดือน ลูกจะสามารถเข้าใจความหมายและเรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะหากคุณพ่อคุณแม่พูดไปด้วยพร้อมกับทำท่าทางไปด้วย เช่น คุณแม่แบมือเพื่อขอของเล่นจากลูก พร้อมพูดว่าแม่ขอของเล่นชิ้นนี้ได้ไหมคะ? หรือ แม่แต่การพูดบ๊าย บาย พร้อมทำท่าโบกมือ เป็นต้น

เมื่อเข้าวัย 15 เดือน ลูกจะสามารถเข้าใจและสื่อสารได้มากขึ้นด้วยคำพูดที่มีตั้งแต่ 2-6 พยางค์ ลูกสามารถชี้บอกสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง หากคุณพ่อคุณแม่ถาม ลูกจะสามารถทำตามคำขอของคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างถูกต้อง และในขณะเดียวกัน ลูกก็สามารถใช้เสียงตัวเองที่ดังขึ้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าตัวเองเกิดความหงุดหงิด

วัย 18-24 เดือน

วัย 18 เดือน ลูกจะสามารถสื่อสารได้หลายคำมากขึ้นราว ๆ 6-20 พยางค์ และเมื่ออายุได้ 24 เดือน ลูกจะสามารถสื่อสารได้มากถึง 50 พยางค์เลยทีเดียว โดยหลังจากนี้หากคุณแม่ร้องเพลงอย่าง “twinkle twinkle little….” ลูกน้อยก็สามารถร้องต่อได้ทันทีเลยค่ะ

วัย 25-36 เดือน

ช่วงนี้พัฒนาการด้านการพูดของเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็รวดเร็ว จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเจอกับ “การปฏิเสธ” ของลูกมากขึ้น เพราะเข้าสู่วัยที่เรียกกันว่า “Terrible Two” นั่นเอง แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลค่ะ ค่อย ๆ สอนลูกอย่างใจเย็น พฤติกรรมแบบนี้ก็จะหายไปเองเมื่อโตขึ้น

วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดให้ลูก

ฮัมเพลงให้ลูกฟัง

ในยุคนี้มีเพลงให้คุณแม่ได้เลือกมากมายเลย ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทยพื้นบ้าน หรือเพลงสากล ลองเปิดให้ลูกฟัง และถ้าคุณแม่ฮัมเพลงไปด้วยก็จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกร้องตามค่ะ

เริ่มจากสิ่งของใกล้ตัวหรือกิจวัตรประจำวัน

อาจเริ่มจากการแปรงฟันก็ได้ค่ะ ให้คุณแม่แนะนำลูกน้อยว่านี่คือ แปรง นี่คือ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ หรือจะเป็นช่วงที่กินข้าว อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ ถ้าคุณแม่เริ่มจากสิ่งที่เห็นกันอยู่ทุกวัน และเป็นกิจวัตรประจำวัน ก็จะทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ได้เร็วขึ้นค่ะ

อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง

เลือกหนังสือนิทานที่มีรูปน่ารัก และเรื่องราวที่เหมาะกับเด็ก มาอ่านให้ลูกฟัง ถ้าจะให้ดีคุณแม่ควรพากย์เสียงของตัวละครให้ต่างกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกเกิดความสนใจ เพิ่มอรรถรสมากขึ้น

ฟังในสิ่งที่ลูกพูด

เมื่อคุณแม่กระตุ้นลูกน้อย แล้วถ้าลูกน้อยพูดโต้ตอบ ให้คุณแม่หยุดเพื่อฟังลูก แต่ตอบสนองลูกด้วยท่าทีที่อ่อนโยนและตั้งใจฟังเขา เขาจะรักการพูดขึ้นอีกเยอะเลย

เปลี่ยนระดับเสียงให้ต่างกัน

นอกจากจะเป็นการเพิ่มระดับความสนใจให้ลูกได้แล้ว ยังเป็นการทดสอบการได้ยินของลูกได้อีกด้วยนะคะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีพัฒนาการด้านการพูดช้า

  • การกินอาหารหรือการกลืนของเหลวของลูกไม่เป็นไปตามวัยที่เหมาะสม
  • เปล่งเสียงแปลก ๆ ออกมา ซึ่งไม่ใช่เสียงพื้นฐานอย่างเสียง อา
  • พูดติดอ่าง
  • นึกคำหรือประโยคที่จะสื่อสารไม่ได้ ต้องมีคนช่วยเติมคำศัพท์ให้ตลอดเวลา
  • ไม่เข้าใจในคำถาม ต้องมีผู้ที่คอยอธิบายขยายความเพิ่มเติม
  • ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง และไม่สามารถเรียงลำดับข้อมูลให้ถูกต้องได้

เบื้องต้นถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่าแต่ละช่วงวัยเด็กจะมีพัฒนาการด้านการพูดอย่างไร ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงต้นตอได้ง่ายขึ้น หรือเพื่อความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่แนะนำลองพาลูกไปปรึกษาคุณหมอดูก็ดีค่ะ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

อ้างอิง
Babycentre.co.uk
Pathway.org

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP