ลูกเหงื่อออกมากเวลานอน เวลาที่เล่น สัญญาณบอกโรค สังเกตอย่างไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ

เด็กเวลาที่เล่นก็จะเหงื่อออกเยอะ โดยเฉพาะที่หัวและหน้าผาก แต่ถ้าเหงื่อออกมากขณะหลับล่ะ? ถือว่าเป็นเรื่องปกติหรือเปล่า? เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง? แล้วเมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้ลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ

ลูกร้องไห้งอแงก่อนนอน

บางครั้งทารกอาจร้องไห้งอแงมาก ๆ จะทำให้ลูกเหนื่อยและเพลีย ซึ่งเป็นเหตุให้มีเหงื่อออกได้ ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ

ท่าทางการนอน

เพราะทารกยังไม่สามารถขยับตัวหรือพลิกตัวได้คล่องนัก จึงทำให้บางครั้งการนอนในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้เหงื่อออกได้เช่นกัน

อุณหภูมิในห้องสูงเกินไป

อุณหภูมิที่สูงเกินไปเกิดได้จากสภาพอากาศที่ร้อนหรืออาจตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศร้อนเกินไป

เสื้อผ้าหนาเกินไป

การเลือกเสื้อผ้าลูกให้ตรงกับฤดูเป็นสิ่งสำคัญนะคะ หากใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปก็ทำให้ลุกเหงื่อออกได้ และลูกจะนอนหลับไม่สนิท พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ค่ะ

อาการไม่สบาย มีไข้

ทารกที่ไม่สบายหรือมีไข้ อาการนี้อาจส่งผลให้ลูกมีเหงื่อได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน

ลูกมีเหงื่อออกมากขณะหลับ สัญญาณบอกโรค

หากลูกเหงื่อออกมากเวลานอน อาจเป็นสัญญาณบอกว่าลูกกำลังเป็นโรคนั้น ๆ อยู่ ซึ่งคุณแม่ต้องคอยสังเกต ดังนี้

โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด

เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีเหงื่อออกมามากกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดเกิดจากการเจริญเติบโตของหัวใจบกพร่องขณะที่ยังอยู่ในครรภ์คุณแม่

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เป็นอีกหนึ่งโรคที่เมื่อทารกเป็นแล้วจะทำให้เหงื่อออกขณะหลับมากกว่าปกติ โดยมากมักเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัด ไม่สะดวก หากลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็จะพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ผิวหนังจะออกสีฟ้า หายใจเสียงดังคล้ายกรน

โรคไหลตายในทารก (SIDS – Sudden Infant Death Syndrome)

โรคนี้จะทำให้ร่างกายทารกมีอุณหภูมิสูงขึ้นในเวลากลางคืน ส่งผลให้ทารกมีเหงื่อออก และหายใจลำบาก จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะเหงื่อท่วม

หากทารกนอนห้องแอร์แต่ก็ยังมีเหงื่อออกมาก อาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากภาวะเหงื่อออกมาก หรือภาวะเหงื่อท่วม โดยจุดที่มักมีเหงื่อออกมาก ได้แก่ รักแร้ รองลงมาคือ ฝ่ามือ ละฝ่าเท้า ซึ่งภาวะนี้จะไม่ได้ส่งผลรุนแรงต่อร่างกายมากนัก

วิธีรับมือหากลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ

ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม

โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมของห้องควรอยู่ที่ 25 – 27 องศาเซลเซียส หากครอบครัวไหนไม่มีเครื่องปรับอากาศ อาจติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิห้องไว้ก็ได้ค่ะ

เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับฤดูกาล

ข้อนี้สำคัญค่ะ เพราะการเลือกใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมกับฤดูกาลจะทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัวได้ ดังนั้น เนื้อผ้าควรเป็นผ้าที่ระบายอากาศได้ดี

พยายามอย่าให้ลูกร้องไห้บ่อย

ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุก่อนว่าทารกร้องไห้เพราะอะไร อาทิ ลูกหิว ผ้าอ้อมสำเร็จรูปมีความอับชื้น หรืออาจจะฝันร้าย หากลูกร้องไห้ให้คุณแม่อุ้มลูก เพื่อปลอบให้ลูกสงบลง และเปลี่ยนที่นอนหากเป็นไปได้

ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

เนื่องจากทารกต้องเสียเหงื่อมาก อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจากการเสียเหงื่อ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

มาถึงตรงนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจยังมีคำถามอยู่ว่าแล้วลูกต้องเหงื่อออกมากขนาดไหนหรือมีอาการอย่างไรถึงเรียกได้ว่าควรไปพบแพทย์ ไปติดตามกันค่ะ

  1. ลูกน้อยมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่า 37.5 องซาเซลเซียส
  2. พบว่าขณะหลับนั้นลูกน้อยมีเสียงกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ เหล่านี้ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่าอาจเกิดภาวะอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ลูกน้อยยังทานอาหารได้น้อยลงอีกด้วย
  3. น้ำหนักของลูกน้อยไม่ขึ้นไปตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น รวมถึงขณะที่ให้นมลูกน้อยก็ยังมีเหงื่อออกมากผิดปกติ

เพราะทารกยังไม่สามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ผ่านภาษาพูดได้ สิ่งเดียงที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้สำหรับลูกในวัยนี้ก็คือ หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติของลูกน้อย หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องต่อไป

อ้างอิง
Momjunction.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP