สาเหตุใหญ่ ที่ลูกไม่คว่ำตัว?

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

เป็นธรรมดาของคนที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่จะเฝ้าดูการเจริญเติบโตของลูกน้อยในทุกๆ วัน โดยหวังว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งก้าวแรกที่คุณแม่เฝ้ามองคือ พัฒนาการที่ลูกน้อยสามารถพลิกคว่ำตัวได้เองเชื่อว่าคุณแม่หลายท่านคงได้รับข้อมูลเกี่ยวกับช่วงระยะเวลาที่ลูกน้อยควรคว่ำได้แล้ว ซึ่งบางครอบครัวพอระยะเวลาไม่สอดคล้องกับที่อ่านมา ก็จะเกิดความกังวลอยู่ไม่น้อยทีเดียว วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ ว่าทารกควรต้องคว่ำตัวตอนอายุกี่เดือน? แล้วกี่เดือนถึงเรียกว่าช้าไป?รวมไปถึงสาเหตุว่าทำไมทารกยังไม่คว่ำซักที? ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจลูกน้อยมากขึ้น และคุณแม่จะได้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยอีกด้วยค่ะ

Youtube : สาเหตุใหญ่ ที่ลูกไม่คว่ำตัว?

ช้าไปมั้ยสำหรับทารกที่คว่ำตอน 6,7 หรือ 8 เดือน?

ปกติ 3-4 เดือนหลังคลอดทารกเริ่มคอแข็งแล้ว ชันคอได้นานขึ้นบางคนพัฒนาการเร็วหน่อยก็จะสามารถพลิกตัวนอนคว่ำนอนหงายได้เองแล้วก็มี แต่โดยทั่วไปทารกจะสามารถพลิกกลับไปกลับมาได้ประมาณ 5-6 เดือนหลังคลอดซึ่งส่วนใหญ่ 90%จะสามารถพลิกกลับไปมาได้ก็ประมาณ 7 เดือนหลังคลอดค่ะ แต่หากทารกน้อยอายุ 8 เดือนแล้วยังไม่สามารถคว่ำตัวหรือพลิกตัวไปมาได้ แบบนี้อาจจะช้าไป คุณแม่ต้องไปปรึกษาแพทย์นะคะ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทารกที่จะสามารถคว่ำได้ คอต้องแข็งก่อนค่ะ และการนอนคว่ำควรทำเฉพาะเวลาที่ลูกน้อยตื่นเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาการเสียชีวิตเฉียบพลันขณะนอนหลับ (SIDS = Sudden Infant Dead Syndrome)คุณพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้คอลูกน้อยแข็งเร็วได้ด้วยการให้คุณพ่อคุณแม่นอนคว่ำกับลูก หันหน้าประจัญกัน เอาของเล่นกรุ๊งกริ๊งสีสันสดใสมาหลอกล่อให้ลูกเลยหน้ามาดู แบบนี้เป็นต้นค่

สาเหตุที่ทารกไม่คว่ำตัว

เพื่อให้คุณแม่เข้าใจลูกน้อยมากขึ้น และอาจมีบางอย่างที่คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

ไม่ชอบการคว่ำตัว

ทารกบางคนพอได้ลองนอนคว่ำจากที่คุณแม่เคยทำแล้ว อาจไม่ชอบท่านี้ เพราะทารกอาจรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัว ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นอาการที่ทารกไม่ชินค่ะ

พลิกกลับไป-มายาก

เพราะคุณแม่อาจใช้ฟูกที่นุ่มเกินไป ทำให้ทารกพลิกตัวลำบาก โดยเฉพาะทารกที่คอยังไม่แข็ง ไม่สามารถที่จะยกหัวขึ้นมาได้เอง ที่สำคัญ ไม่ควรมีผ้าห่มฟูๆ หมอน หมอนข้าง หรือตุ๊กตาอยู่ข้างๆ นะคะ เพราะอาจจะอุดทางเดินหายใจทำให้ลูกหายใจไม่ได้ค่ะ

น้ำหนักตัวที่มากไป

หากทารกบางคนเจ้าเนื้อหน่อยก็จะส่งผลให้การฝึกคว่ำนั้นยากขึ้นไปอีก แต่ก็คงใช้เวลาเพิ่มอีกซักพักในการหัดคว่ำนะคะ หรือหากลูกน้อยเริ่มพลิกตะแคงได้บ้างแล้ว คุณแม่อาจเอามือดันหลังของลูกน้อยเบาๆ เพื่อช่วยเขาได้นะคะ

ถ้าลูกยังไม่พลิกตัวซักที จำเป็นต้องบังคับฝึกให้ลูกเองหรือเปล่า?

ลองเปลี่ยนฟูก

หากคุณแม่ต้องการช่วยลูกน้อยให้พลิกคว่ำตัวได้ อันดันแรก ลองพิจารณาปัจจัยรอบตัวของลูกน้อยดูซิคะ ว่ามีอะไรที่ทำให้ลูกน้อยคว่ำตัวยาก เช่น ฟูกที่นิ่มเกินไป ลองเปลี่ยนให้แข็งขึ้นมาอีกซักนิด เพื่อเวลาที่ลูกหัดพลิกคว่ำตัว ฟูกจะได้ไม่ไปอุดทางเดินหายใจ เสี่ยงต่อภาวะ SIDS(Sudden Infant Dead Syndrome) หรือ โรคเสียชีวิตฉับพลันในเด็กทารกค่ะ

ไม่จำเป็น…ให้เป็นไปตามธรรมชาติ

คุณแม่ไม่ต้องกดดันตัวเองนะคะ อย่าไปคิดว่าลูกคนอื่นอายุเท่ากันแต่เขาพลิกตัวได้แล้ว อย่าคิดเปรียบเทียบลูกน้อยของเรากับคนอื่น เพราะคุณแม่ก็จะเครียด ลูกน้อยรับรู้ได้นะคะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่เร็ว-ช้าต่างกัน เพียงแต่คุณแม่คอยเป็นผู้ช่วยกระตุ้นให้เขาเท่านั้น

ห้ามบังคับลูกน้อย…เด็ดขาด!

การบังคับลูกน้อยทำให้ลูกเครียด ยิ่งลูกทำไม่ได้อย่างที่คุณแม่หวัง ก็ยิ่งเครียดกันไปใหญ่ ใจเย็นๆแต่หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการฝึกลูก อาจเริ่มฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที บางคนอาจเริ่มวันละครั้ง ถ้าลูกไม่ร้องก็ให้อยู่ในท่านั้นไปนานๆ เท่าที่ลูกยอม ซึ่งบางคนอาจได้ 15 วินาที แต่ขณะที่บางคนได้ 15 นาทีเลยก็มี

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาทั้งทางร่างกายเร็ว-ช้าต่างกัน คุณแม่อย่าลืมว่า เด็กในวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า ดังนั้น เมื่อเขาเติบโตขึ้นแม้เพียงเขาอายุแค่ 2-3 ขวบ เขาก็จะมีความคิดความอ่านเป็นของตนเองเลือกทำโน่น เลือกไม่ทำนี่แล้ว ดังนั้น คุณแม่ควรเคารพในการกระทำและความคิดของลูกด้วยนะคะ เพราะการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้ลองคิดเอง ทำเองจะสอนให้ลูกได้รับประสบการณ์ตรง เติบโตทั้งร่างกายและความคิดค่ะ

ดังนั้น หากลูกของคุณแม่ยังอยู่ในช่วง 3-7เดือน เรียกได้ว่ายังปกติ เพียงแต่คุณแม่อาจหาวิธีมากระตุ้นลูกน้อย โดยอันดับแรกต้องให้ลูกคอแข็งก่อน แล้วค่อยฝึกให้ลูกให้คว่ำนะคะเพราะการที่ลูกน้อยคอแข็งแล้วจะนำไปสู่พัฒนาการในเรื่องของการนั่งต่อไปค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP