ลูกไอ พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ช่วยให้ลูกขับเสมหะออกเองได้ด้วยการ “เคาะปอด”

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ

ลูกไอ” อาการที่ลูกไอนี้เรียกได้ว่าเป็นอาการแรกของลูกที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่าถ้าไอถี่จนผิดปกติ เป็นไปได้ว่าลูกจะไม่สบายเข้าให้แล้ว แต่ถึงแม้ว่าจะเจออาการนี้บ่อยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะละเลยได้นะคะ โดยเฉพาะหากไอแบบมีเสมหะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกให้ขับเสมหะออกมาเองได้ค่ะ ทำอย่างไรไปดูกัน

Youtube : ลูกไอ พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ช่วยให้ลูกขับเสมหะออกเองได้ด้วยการ “เคาะปอด”

อาการไอเกิดจากอะไร?

อาการไอเกิดจากอะไร?

ร่างกายของคนเราเวลาที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะกำจัดสิ่งเหล่านั้นด้วยการไอ ซึ่งอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการไอเรื้อรังนั่นก็คือ การมีเสมหะค้างในหลอดลมนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงต้องมีการเคาะปอด?

ทำไมถึงต้องมีการเคาะปอด?

คุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกมีอาการไอมาก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้องแต่ก็ยังไม่หยุดไอ เหล่านี้มาจากการที่ลูกน้อยมีเสมหะที่ข้นและเหนียวมากในหลอดลม ผนวกกับการไอที่ไม่ถูกวิธี

เปรียบเทียบง่าย ๆ เสมหะก็เหมือนกับซอสมะเขือเทศที่อยู่ก้นขวดใกล้จะหมด การจะให้ซอสออกมาเราก็ต้องคว่ำขวดและเคาะที่ก้นขวดถึงจะออกมาได้ การสั่นสะเทือนและการกระตุ้นให้เกิดการไอที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลมได้ค่ะ

วิธีการเคาะปอด

เตรียมตัวก่อน

เตรียมตัวก่อนการเคาะปอด
ให้ลูกสั่งน้ำมูก บ้วน หรือดูดเสมหะที่มีอยู่ในปากและจมูกออกก่อน ควรทำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1 ½ – 2 ชม. เพื่อไม่ให้ลากสำลักหรืออาเจียน

จัดท่าให้เหมาะสม

จัดท่าการเคาะปอดให้เหมาะสม
แล้วจึงทำการเคาะ โดยในแต่ละท่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-6 นาที รวมทุกท่าแล้วไม่เกิน 15-30 นาที
ใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ เพื่อลดแรงปะทะจากการตบของอุ้งมือ

การวางท่าของมือ

การวางท่าของมือ
ทำมือให้เป็นกระเปาะปลายนิ้วชิดกัน ให้มีการเคลื่อนไหวสบาย ๆ บริเวณข้อมือ ข้อศอก และไหล่ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที

ตำแหน่งที่เคาะ

บริเวณทรวงอกด้านหน้า
บริเวณทรวงอกด้านหน้า โดยวนเป็นวงกลม เลื่อนไปทางซ้ายและทางขวา
ด้านข้างช่วงใกล้กับรักแร้
ย้ายมาด้านข้างช่วงใกล้กับรักแร้ทั้งสองข้าง
ลูกนอนคว่ำ
และสุดท้ายให้ลูกนอนคว่ำแล้วเคาะเป็นวงกลม

ต้องทำบ่อยแค่ไหน

โดยมากแล้วเสมหะมักจะคั่งค้างมากในเวลากลางคืน จึงทำให้ลูกน้อยไอมากในเวลาหัวค่ำและช่วงเช้า การเคาะปอดจึงควรทำในช่วงเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อให้ลูกน้อยได้หลับสบายขึ้น ไม่มีเรื่องการไอมารบกวน แต่หากลูกมีอาการไอเยอะอยู่ อาจเพิ่มช่วงเวลาเป็นกลางวันอีกหนึ่งรอบก็ได้ค่ะ

ผลเสียจากการปล่อยให้ลูกไอเป็นระยะเวลานาน

ผลเสียจากการปล่อยให้ลูกไอเป็นระยะเวลานาน
เวลาที่ลูกป่วยน้ำมูกหรือเสมหะจะเป็นตัวบอกอาการของลูกได้ดีว่าลูกไม่สบายมากหรือน้อยแค่ไหน แต่ถ้าปล่อยให้ลูกไอนาน ๆ มีเสมหะคั่งค้างเป็นสัปดาห์ ไอจนเหนื่อยหอบเป็นเดือนจะมีผลเสียอย่างไรบ้าง

  • ลูกอาจมีอาการปอดบวม
  • ปอดแฟบ
  • ถุงลมโป่งพอง เนื่องจากมีเสมหะไปอุดตัน

วิธีบรรเทาอาการไอแบบอื่น ๆ

น้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง
สูตรบรรเทาอาการไอแบบธรรมชาติที่ได้ผลดีมาก นอกจากน้ำผึ้งจะเข้าไปเคลือบต่อมผลิตเสมหะแล้ว ยังช่วยทำให้ต่อมนี้ชุ่มชื่นอีกด้วยค่ะ

สูดไอน้ำที่มาจากการบูร

สูดไอน้ำที่มาจากการบูร
ไอน้ำสามารถช่วยในเรื่องบรรเทาและอาการคัดจมูกได้ดีทีเดียว โดยคุณแม่หยดน้ำการบูรลงไปเล็กน้อยในน้ำอุ่น หรือเครื่องทำไอน้ำ เท่านี้ลูกน้อยก็จะหายใจได้โล่งขึ้นค่ะ

จิบน้ำอุ่น

จิบน้ำอุ่น
อันดับแรกหากลูกน้อยไอ ให้คุณแม่พยายามทำความสะอาดบ้านกำจัดฝุ่นให้หมดไปก่อนนะคะ เพราะฝุ่นละอองนี้จะทำให้ลูกน้อยระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ แล้วให้ลูกน้อยจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ

เน้นอาหารอ่อน ย่อยง่าย

เน้นอาหารอ่อน ย่อยง่าย
อาทิ ข้าวต้ม และจะดีมากค่ะถ้าเป็นข้าวต้มที่ผ่านการปรุงให้น้อยที่สุด หรือไม่ปรุงเลยยิ่งดี เลี่ยงนอาหารมัน ของทอด และขนมกรุบกรอบ

อาการไอของลูกแม้ว่าจะมีเสมหะหรือไม่ก็ตาม อย่าปล่อยให้มันเป็นความเคยชินนะคะคุณแม่ เพราะมันอาจลามไปสู่โรคอื่น ๆ ได้เลยทีเดียว หากคุณแม่ลองใช้วิธีเคาะปอดช่วยแล้วแต่ลูกก็ยังไออยู่ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP