สอนลูกขับถ่ายโดยไม่ใส่ผ้าอ้อม

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือแพมเพิสเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องติดตัวลูกไปไหนมาไหน ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนั้นก็ต้องมีการเลิกรากันไป คุณแม่จึงต้องเป็นครูฝึกสำคัญเพื่อให้ลูกเลิกติดผ้าอ้อม

การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปมีข้อดีข้อเสียในตัว เด็กทารกแรกเกิดก็จะดีในส่วนที่การขับถ่ายของลูกจะได้ไม่เปื้อนมากเกินไป เพราะทารกยังไม่สามารถกลั้นฉี่และอึ หรือบอกคุณแม่เองได้ แต่ข้อเสียของการใช้ก็มี อย่างเช่น ลูกที่ใส่ผ้าอ้อมจนรู้ความจะติดการใส่ เมื่อไม่ได้ใส่จะไม่กล้าฉี่ ไม่กล้าบอกพ่อแม่ว่าปวด หรือลูกวัยเรียนยังติดผ้าอ้อม ตอนไปโรงเรียนไม่ได้ใส่ แต่กลับบ้านต้องร้องจะใส่ หรืออาจจะใส่กลางคืน เป็นต้น

หากคำนวณค่าใช้จ่าย ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นสิ่งที่ราคาแพง คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้เงินกับผ้าอ้อมสำเร็จรูปมาก แต่ในสมัยก่อนที่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปไม่มี ทำไมพ่อแม่ยังเลี้ยงเรามาได้โดยไม่มีปัญหา เช่นนั้นทำไมถึงไม่ลองทำแบบสมัยพ่อแม่ที่ไม่ได้ใช้ผ้าอ้อมกับเรา และเอาวิธีนั้นมาใช้กับลูกเราอีกที

ฝึกลูกให้ขับถ่ายโดยไม่ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอย่างไร

  1. ลูกอายุ 8 เดือนขึ้นไปก็สามารถขับถ่ายเอง โดยไม่ต้องพึ่งผ้าอ้อมสำเร็จรูป
  2. ให้ลูกนั่งขับถ่ายในกระโถน ขณะใส่ผ้าอ้อมเพื่อสร้างความคุ้นเคย
  3. คุณแม่ต้องสังเกตจดจำ หรือบันทึก ว่าเวลาไหนลูกมีอาการอยากขับถ่าย
  4. เมื่อลูกมีอาการเบ่ง ให้จับนั่งกระโถน พร้อมกับเปล่งเสียงเพื่อกระตุ้นให้ลูกขับถ่าย
  5. บอกลูกขณะขับถ่าย ว่าสิ่งนี้คือ “ฉี่” สิ่งนี้คือ “อึ” ทุกครั้ง และพยายามให้ลูกพูดตาม
  6. เมื่อต้องออกจากบ้าน หมั่นถามลูกว่า “ฉี่ๆไหม” หรือ “อึๆไหม” ลูกจะจดจำได้ว่ามีอาการอย่างไร หรือหากปวด
    จะต้องพูดคำไหน

การสอนให้ลูกขับถ่ายเอง นอกจากจะประหยัดค่าใช่จ่ายแล้ว ยังเป็นการฝึกขับถ่ายอย่างเป็นที่เป็นทาง เสริมสร้างวินัยการขับถ่าย และสุขลักษณะที่ดีแก่ลูก ช่วงแรกการนั่งกระโถนอาจจะใช้เวลามาก เพราะเด็กจะไม่มีความคุ้นเคย จากการนอนการนั่งพื้นขับถ่ายมาเป็นการนั่งขับถ่ายบนกระโถน คุณแม่ต้องหมั่นพาลูกนั่งเพื่อสร้างความเคยชิน พร้อมคุยกับลูกว่าทำแบบนี้ขณะมีอาการอะไร ข้อสำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งไม่ซื้อผ้าอ้อม ไม่ให้ลูกใส่ผ้าอ้อม

การฝึกลูกขับถ่ายเบื้องต้นอาจจะทำได้แค่ตอนกลางวันที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่าย แต่หากว่ากลางคืนที่คุณแม่ไม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกนั้นมีอาการปวดตอนไหนจะทำอย่างไร ถ้าไม่อยากให้ลูกฉี่รดที่นอน การฝึกลูกฉี่ตอนกลางคืนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อาจจะยากแต่ก็สามารถฝึกได้

ฝึกวินัยการขับถ่ายก่อนนอนให้ลูกอย่างไร

  1. เตรียมแผ่นรองปูนอนไว้เผื่อฉุกเฉิน ที่ลูกอาจจะฉี่รดที่นอนก่อนกำหนด
  2. จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการเดินไปกระโถน ว่างไว้ในระยะใกล้เตียงหรือมองเห็นได้ง่าย
  3. ลูกที่ดื่มนมมื้อดึก เว้นระยะเวลาเข้านอน และพาลูกขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน
  4. คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกกลางดึก เพื่อตื่นมาพาลูกไปขับถ่ายอีกครั้ง
  5. สังเกตลูกตอนเช้าว่ากลางดึกฉี่รดที่นอนไหม
  6. หากฉี่รดที่นอนทั้งที่พาขับถ่ายกลางดึก 1 ครั้ง ก็ควรเพิ่มการขับถ่ายให้ลูกอีกครั้ง
  7. ฝึกบ่อย ๆ จะทำให้ลูกจดจำและตื่นมาขับถ่าย
  8. อาจจะมีการผิดพลาดบ้าง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรโกรธลูกที่ทำที่นอนเลอะ แต่ต้องทำความสะอาด และพยายามในการฝึกลูก
  9. หากวันไหนเช้ามาลูกไม่ฉี่รดที่นอน ควรแสดงความยินดีแก่ลูกให้ลูกได้ภูมิใจ

เด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็วจากการที่คุณพ่อคุณแม่สั่งสอน และการฝึก เพียงแค่นี้ลูกก็จะสามารถขับถ่ายได้อย่างเป็นที่เป็นทาง ทั้งยังจะปฏิเสธผ้าอ้อมสำเร็จรูปด้วย เพราะเด็กจะรู้สึกสบายตัวขึ้นเมื่อไม่มีผ้าอ้อม

การฝึกขับถ่ายโดยไม่ใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของลูกน้อยด้วย เด็กบ้างคนอาจจะขี้อายเมื่อต้องนั่งกระโถน แต่พอจับใส่ผ้าอ้อมก็ขับถ่ายปกติ คุณแม่จึงต้องใจเย็นไม่เร่งรีบจนไปกดดันลูก หรือการที่ไม่ฝึกให้ลูกเอ่ยอาการปวดออกมา เด็กบ้างรายขี้อายเกินกว่าหากต้องบอกครูตอนหน้าเพื่อนร่วมห้องว่าปวดปัสสาวะหรืออุจจาระ เด็กจะกลั้นจนถึงที่สุดอาจจะนำพาให้เกิดการฉี่ราด หรืออึใส่กางเกงในได้ในวัยเรียน หรือร้ายแรงจนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่หากสำเร็จคุณพ่อคุณแม่จะไม่ต้องคอยกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย การเข้าห้องน้ำยากในอนาคตวัยเรียนของลูกเลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP