ลูกชัก ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือ

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

อาการชักในเด็ก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง แต่ที่สำคัญถ้าหากลูกน้อยชัก ให้คุณแม่ตั้งสติก่อน แล้วไปดูวิธีรับมือพร้อมกับรายละเอียดต่าง ๆ ของอาการชัก รวมถึงสาเหตุที่เราจะไล่เรียงกันดังนี้

ลักษณะของอาการชัก

ลักษณะอาการชักเกิดได้หลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะคิดว่า การชักต้องเป็นแบบชักกระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว ซึ่งความเป็นจริงแล้ว อาการชักยังมีลักษณะ ดังนี้

  • เหม่อลอยชั่วขณะ
  • หมดสติทันที ร่วมกับอาการตัวอ่อน
  • กระตุกบ้างเป็นบางครั้ง
  • เกร็งผวา
  • มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วครู่ ลูกน้อยไม่สามารถรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว
  • มีอาการเฉพาะที่ อาทิ มีการกระตุกซ้ำ ๆ ของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน และมักเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ

สาเหตุ อาการชัก

อาการชัก หรือ Seizure เกิดจากความผิดปกติของการนำกระแสประสาทในสมอง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้คือ มีไข้สูงในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน – 6 ปี เมื่อมีไข้ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยชักได้ ซึ่งลักษณะที่พบมักจะชักเกร็งทั้งตัว หรือชักกระตุกทั้งตัวก็ได้ มักเกิดได้ในช่วงแรกของการมีไข้ และอาการจะเกิดและหยุดได้เองภายใน 5 นาที
ซึ่งคุณหมอจะมีการซักประวัติจากคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว มีระดับน้ำตาลและเกลือแร่ที่ผิดปกติ การใช้ยารักษาโรคบางชนิด รวมไปถึงการนอนน้อยหรืออดนอน
บางรายที่มีความผิดปกติทางสมอง พบปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของอาการชัก คือ

  • มีโรคทางพันธุกรรมที่เมื่อมีอาการแล้วก็มักจะมีอาการชักร่วมด้วย
  • ภาวะสมองพิการแต่กำเนิด ซึ่งเกิดตั้งแต่ขณะที่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับสารเสพติด การติดเชื้อ การขาดอาหาร รวมไปถึงอุบัติเหตุระหว่างการตั้งครรภ์
  • มีการติดเชื้อในสมอง เช่น สมองอักเสบ ฝีในสมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
  • สมองได้รับความกระทบกระเทือน อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ หรือสมองขาดออกซิเจน
  • มีเนื้องอกในสมอง หรือมีเชื้อมะเร็งกระจายมาจากอวัยวะอื่นสู่สมอง

วิธีรับมือเมื่อลูกชัก

  • เมื่อลูกชัก คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติให้ดี
  • ถ้าลูกน้อยนั่งอยู่ ให้จับลูกนอนราบลงกับพื้น ตะแคงตัวไปด้านข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
  • พยายามพาตัวลูกน้อยไปที่โล่ง ห่างไกลจากของมีคมต่าง ๆ อาทิ ขอบเตียง มุมโต๊ะ หรือวัตถุมีคมที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
  • คลายเสื้อผ้าลูกน้อยที่รัด ๆ ออก พร้อมกับกันคนออกไม่ให้มุง เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • หากลูกน้อยมีไข้ ให้คุณพ่อคุณแม่เช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้ลูก
  • หากลูกน้อยมีอาการตัวแข็งเกร็ง อย่าพยายามนวด ดึง หรือง้าง
  • ห้ามเด็ดขาด! ห้ามนำสิ่งของยัดใส่ปากลูกน้อย หรือผู้ที่กำลังชัก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังจะส่งผลอันตรายต่อช่องปากของลูกน้อยได้อีกด้วย เช่น ฟันหักอุดหลอดลม สำลัก อาเจียน อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

อาการชักที่เป็นอันตราย

ปกติอาการชักมีเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการชักนานกว่า 30 นาที หรือการชักที่มีการสำลักร่วมด้วย และทำให้ลูกน้อยหยุดหายใจ โดยทั้ง 2 กรณีนี้ จะส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ อาการชักสั้น ๆ แต่ชักซ้ำซาก หลาย ๆ ครั้ง ในวันเดียวกันก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน เนื่องจากจะทำให้อาการชักควบคุมได้ยากมากขึ้น แต่ลักษณะที่กล่าวมานี้ก็ไม่ได้พบบ่อยนัก
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ ร่วมด้วยที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย คืออาการชักที่เกิดขึ้นระหว่างที่ลูกน้อยทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ เช่น ปีนต้นไม้ อยู่ใกล้กับของมีคม หรือทำกิจกรรมทางน้ำ เป็นต้น

เมื่อลูกชักสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ตั้งสติ แต่จะบอกว่าอย่าเพิ่งตกใจคงเป็นไปได้ยาก เอาเป็นว่าตกใจได้แต่ก็ควรตั้งสติให้เร็ว ปฏิบัติตามวิธีการรับมือที่กล่าวไว้ข้างต้น แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที

ข้อมูลอ้างอิง bumrungrad.com , sukumvithospital.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP