ผดร้อนทารก พร้อมวิธีป้องกัน

การดูแลสุขภาพเด็ก

เพราะผิวของทารกนั้นบอบบางมาก ดังนั้น เรื่องของผดร้อนทารกก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และจะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ๆ โดยเฉพาะในหน้าร้อน เรื่องนี้ทำเอาคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนกังวลใจมากทีเดียว วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับผดร้อนทารก พร้อมวิธีการดูแลลูกน้อยกันค่ะ

สาเหตุผดร้อน

ผดร้อน หรือ Heat rash หรือ Prickly heat เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมเหงื่อ อันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนทำให้ร่างกายของลูกน้อยมีเหงื่อซึมออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ลูกน้อยร้องงอแง เพราะความที่ไม่สบายตัว ซึ่งหากคุณแม่ลองสังเกตตามเนื้อตัวของลูก โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น ข้อพับหัวเขา ข้อศอก ช่วงคอ รวมถึงแผ่นหลัง จะมีเม็ดตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นมา ผดชนิดนี้เรียกว่า “ผดร้อน” นั่นเองค่ะ มีสาเหตุหลัก ดังนี้

  • ต่อมเหงื่อของลูกน้อยยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
  • เกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้น
  • เกิดจากต่อมเหงื่อที่มีการอุดตันจากการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด เนื้อผ้าหนา และรัดแน่นเกินไป
  • เกิดจากเหงื่อที่ถูกหมักหมมในร่มผ้าเป็นเวลานาน และตลอดเวลา

ลักษณะของผดร้อน

ผดร้อนทารก จะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ใส ๆ ที่ผิวหนัง แต่ลักษณะของตุ่มผดจะแตกต่างกันไปตามระดับความลึกของท่อต่อมเหงื่อที่ถูกอุดตัน ผดร้อนทารกไม่ได้มีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของลูกน้อยแต่อย่างใด จะมีเพียงก็แค่ทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัวร้องงอแง ไม่เล่นเหมือนเคย บางรายอาจมีอาการแสบร้อนที่ผิว หากเป็นมาก ๆ

อาการที่เห็นได้เด่นชัดของผดร้อน

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน อากาศจึงร้อนอบอ้าวมาก ผดร้อนในทารกจึงเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • มีตุ่มน้ำใส และผื่นแดงที่ผิวหนังของลูก
  • จุดที่ผิวหนังมีการเสียดสีกับผ้า มักจะมีตุ่มผดร้อนขึ้น อาจทำให้ลูกมีอาการคันได้ หรือบางรายหากมีอาการมาก อาจทำให้ผิวหนังของลูกแสบร้อนได้
  • ผดร้อนมักจะขึ้นตามข้อพับต่าง ๆ ในร่างกาย คอ อก และหลัง

ผดร้อนทารก จะรักษาและป้องกันอย่างไร?

ก่อนจะไปเรื่องของการรักษา คุณแม่ควรรู้ถึงสาเหตุก่อนค่ะว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้แก้ไขอย่างตรงจุด

สวมใส่เสื้อผ้าที่หนา และรัดแน่นเกินไป

หากคุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่าเสื้อผ้าที่ลูกน้อยสวมใส่นั้นหนาเกินไป ไม่เหมาะกับสภาพอากาศ ในหน้าร้อน คุณแม่ควรหาเสื้อผ้าแขนกุด เป็นผ้าคอตต้อนที่ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าแขนยาว ขายาว เพราะยิ่งทำให้เหงื่อลูกน้อยออกมามากขึ้น

เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อน

หากคุณแม่ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศแล้ว แต่ลูกน้อยก็ยังร้อน ร้องงอแงอยู่ แบบนี้ให้คุณแม่อาบน้ำให้ลูกระหว่างวันได้เลยค่ะ แล้วเช็ดตัวให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ ไม่ให้น้ำเกาะที่ข้อพับ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการอับชื้นได้อีก

ทาผิวลูกน้อยด้วยโลชั่น

การทาโลชั่นจะสามารถช่วยบรรเทาอาการคันผิวให้ลูกน้อยได้ อย่างคาโมมาย (Calamine lotion) เพียงแค่ทาบาง ๆ บริเวณผดร้อนที่ผิวของลูกน้อย ทาเป็นประจำ ผดร้อนจะค่อย ๆ ฝ่อลง และหายไป

หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวลูกสัมผัสกับเหงื่อ

เนื่องจาก “เหงื่อ” เป็นตัวการที่ทำให้เกิดผดร้อน คุณแม่จึงควรเลี่ยงไม่ให้ผิวของลูกในบริเวณที่เกิดผดร้อนของลูกนั้นสัมผัสกับเหงื่ออีก หรือต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลา เพราะจะยิ่งส่งผลให้เกิดผดร้อนมากขึ้น และอาจถึงขั้นแสบผิวได้

ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ

หากลูกร้อน และร้องงอแงไม่หยุดให้คุณแม่ช่วยลดความร้อนที่ผิวหนังของลูกน้อยได้ โดยใช้ผ้านุ่ม ๆ สะอาด ๆ ชุบน้ำเย็นมาปิดประคบบริเวณผิวของลูกน้อยที่เกิดผดร้อนจะช่วยระบายความร้อนที่ผิวหนังลูกน้อยได้ดีทีเดียว

ปรึกษาคุณหมอ

หากคุณแม่ได้ลองทำทุกวิถีทางแล้ว แต่อาการของลูกน้อยก็ยังไม่ดีขึ้น แนะนำปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

ผดร้อนส่วนใหญ่แล้วจะสามารถรักษาให้หายได้เอง โดยคุณแม่อาจหา “ยาทาผดร้อน สำหรับทารก” มาทาดูก่อนได้ค่ะ แต่อย่างที่ได้กล่าวไปค่ะ ว่าถ้ายังไม่ดีขึ้น การปรึกษาคุณหมอคือ ทางออกที่ดีที่สุด


ลูกมีผดร้อนขึ้นที่ขาหนีบ มียาทาผดร้อนไหม? หรือใช้อะไรได้บ้าง? รวมยาทาผดร้อนและวิธีอื่น ๆ ที่ใช้กับทารก ที่นี่ คลิกเลย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP