ลูกติดเชื้อโควิด19 คุณแม่เตรียมรับมืออย่างไร

เลี้ยงลูก

สถานการณ์ของโรคระบาดอย่างโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะมีระดับความรุนแรงที่น้อยลง แต่สำหรับครอบครัวที่มีลูกน้อย ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างถึงที่สุดเพื่อไม่ให้ลูกติดเชื้อโควิด19 ได้ เพราะหากมีการติดเชื้อของเด็กในการดูแลเกิดขึ้น อาจสร้างความกังวลใจให้แก่คุณแม่ได้เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะมาแนะนำให้แก่คุณแม่ ก็คือการเตรียมตัวรับมือหากลูกมีการติดเชื้อโควิด จะมีวิธีในการปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีความปลอดภัยทั้งตัวของคุณแม่และเด็ก

รู้ได้อย่างไรว่าลูกติดเชื้อโควิด19

  • มีไข้สูงหลายวันติดต่อกัน ในบางรายอาจพบมีไข้ต่ำ
  • มีอาการไอแห้ง และเจ็บคอ
  • มีอาการอ่อนเพลียและซึมร่วมด้วย
  • มีอาการเบื่ออาหาร หรือหากพบการติดเชื้อในวัยทารก อาจพบว่ามีการกินนมได้น้อยลง
  • มีอาการท้องเสีย เป็นอาการเด็กติดเชื้อโควิด 19 ที่พบได้น้อย
  • อาจมีน้ำมูกร่วมด้วย หรือในบางรายอาจไม่มีเลย

อย่างไรก็ตาม ในการวินิจฉัยพบว่าลูกติดเชื้อโควิด19 แม้จะไม่มีอาการที่รุนแรงมากนัก แต่ยังถือว่าเป็นกลุ่มที่ควรเฝ้าระวังอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย ยิ่งถ้าลูกน้อยมีโรคที่เกี่ยวข้องกับปอดหรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิตจากอาการปอดอักเสบ หรือระบบหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงในการสัมผัสในบริเวณแก้มของลูกในระยะนี้โดยไม่จำเป็น

กรณีที่มีผลตรวจ

หากพบว่าลูกติดเชื้อโควิด19 สิ่งที่คุณแม่ต้องทำ สามารถแบ่งออกได้หลายกรณี เช่น

กรณีที่ 1 – มีการติดเชื้อทั้งผู้ปกครองและเด็ก

หากมีการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล จะมีการจัดแยกให้อยู่กันแบบครอบครัว และจะไม่มีการแยกเด็กออกจากคุณแม่

กรณีที่ 2 – เด็กมีการติดเชื้อเพียงคนเดียว

หากมีการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล แพทย์จะให้กักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยจะให้ความดูแลเป็นพิเศษในเรื่องของจิตใจสำหรับเด็กเล็กที่ยังห่างผู้ปกครองไม่ได้ และให้มีผู้เฝ้าที่มีร่างกายแข็งแรง อายุไม่เกิน 60 ปี และจะต้องไม่มีโรคประจำตัว

กรณีที่ 3 – เกิดโรคระบาดภายในกลุ่มของโรงเรียน

จะมีการใช้พื้นที่ในกลุ่มที่มีโรคระบาดเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ

วิธีรับมือ เมื่อลูกติดเชื้อโควิด 19

หากมีการดูแลรักษาเด็ก โดยใช้วิธีการรักษาตัวอยู่ที่บ้าน อุปกรณ์ที่คุณแม่จะต้องเตรียมเพื่อเฝ้าระวังและคอยติดตามอาการของเด็กอยู่เสมอ จะได้แก่

  • ปรอทสำหรับวัดไข้
  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ยาสามัญประจำบ้าน ที่สามารถใช้ในเด็กได้ ได้แก่ ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้ไอ เกลือแร่ และยาลดน้ำมูก
  • อุปกรณ์ที่สามารถบันทึกอาการของเด็กได้

โดยแพทย์จะมีการแนะนำให้เฝ้าระวังอาการของเด็ก ที่มีการแบ่งแยกระดับความรุนแรงของอาการไว้ ดังต่อไปนี้

ความรุนแรงระดับที่ 1

อาการที่วินิจฉัยแล้วว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านต่อไปได้ ได้แก่ มีไข้ต่ำ ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย มีน้ำมูก และเด็กยังคงสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ

ความรุนแรงระดับที่ 2

อาการที่วินิจฉัยแล้วว่าผู้ปกครองจะต้องนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล ได้แก่ มีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศา มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็วผิดปกติ ปากซีดเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วมีน้อยกว่า 95% มีอาการเซื่องซึม งอแง และรับประทานอาหารได้น้อยลง

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากลูกติดเชื้อโควิด 19

  • อาจมีผลกระทบในด้านของจิตใจเด็ก หากมีการกักตัวในสถานพยาบาล และต้องอยู่ห่างจากผู้ปกครอง
  • มีโอกาสที่เชื้อจะลงปอด ทำให้เกิดความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • หากหายป่วยจากอาการโควิด อาจทำให้เกิดภาวะ MIS-C ที่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งมีการพบในเด็กไทยแล้วมากกว่า 20 รายในปัจจุบัน

ทำความรู้จัก MIS-C อาการลองโควิดที่พบได้ในเด็ก

อาการของภาวะ MIS-C มีอาการที่ค่อนข้างเหมือนกับโรคคาวาซากิ แต่มีความรุนแรงกว่ามาก ซึ่งมีการแสดงของอาการผิดปกติที่เหมือนกันจนเกิดความสับสน ได้แก่ อาการไข้สูง ตาแดง มีผื่นขึ้นตามลำตัว รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอมีการโตขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดอาการช็อกจนทำให้เสียชีวิตขึ้นได้ เมื่อลูกน้อยในความดูแลของคุณแม่ หายจากอาการโควิดได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ควรที่จะมีการเฝ้าระวังอาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรนิ่งนอนใจ

ภาวะ MIS-C ถือว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่

ภาวะ MIS-C ไม่ใช่โรคติดต่อ เพราะไม่สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสไวรัสโดยตรงเฉกเช่นเดียวกับโรคโควิด แต่มักจะเกิดขึ้นหลังจากร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง รวมถึงเกิดจากความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกายของเด็ก ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีความผิดปกติของระบบในร่างกายมากกว่า 2 ระบบขึ้นไป

ในปัจจุบัน แม้ว่าภาวะ MIS-C จะยังพบได้ค่อนข้างน้อยในประเทศไทย หากคุณแม่พบว่าลูกติดเชื้อโควิด19 และหายจากโควิดได้ประมาณ 2 สัปดาห์ มีอาการและสัญญาณเตือนที่เข้าข่ายภาวะ MIS-C ควรรีบพาเด็กเข้าไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและประเมินร่างกาย รวมถึงควรได้รับการรักษาให้ทันท่วงที

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP