เคลือบฟลูออไรด์ ควรพาลูกไปทำเมื่ออายุเท่าไหร่?

เลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า การดูแลรักษาฟันและช่องปากของลูกน้อยนั้น ควรเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ ถึงแม้ว่าทารกยังไม่มีฟันขึ้นก็ตาม หลังกินนมควรเช็ดทำความสะอาดเหงือกทุกครั้ง ดังนั้น คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องฟันซี่แรกซึ่งคุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องใส่ใจทำความสะอาดมากกว่าที่เคย และเมื่อโตขึ้น ลูกสามารถทานขนม หรือของหวานได้แล้ว เรายิ่งต้องควรใส่ใจลูกมากขึ้นไปอีก เรื่องของการ “เคลือบฟลูออไรด์” จึงมีส่วนสำคัญ แล้วเราควรพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์เมื่อไหร่ดี? วันนี้เรามีข้อมูลมาแนะนำค่ะ

ฟลูออไรด์ คืออะไร

ฟลูออไรด์ นับเป็นแรธาตุชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากในการช่วยป้องกันฟันผุ พบได้ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะในดิน หิน น้ำ โดยเฉพาะหากเป็นน้ำบาดาล รวมไปถึงในอาหาร อาทิ ใบชา, เนื้อสัตว์, ผัก และอาหารทะเล เป็นต้น

พฤติกรรมลูกที่ควรพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์

หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ได้เวลาแล้วที่จะต้องพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ทำความสะอาดฟันและช่องปากได้ไม่ทั่วถึง

บางครั้งแม้อาจจะเห็นว่าลูกเราก็แปรงฟันนานอยู่นะ แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะแปรงฟันหรือทำความสะอาดได้ทั่วถึง คุณพ่อคุณแม่ต้องเช็คช่องปากลูกน้อยทุกครั้งหลังที่ลูกแปรงฟันเองค่ะ

มีประวัติเสี่ยงต่ออาการฟันผุ

ได้แก่ มีพฤติกรรมที่ชอบทานอาหารหวาน, ขนมหวาน หรือน้ำอัดลมเป็นประจำ

วิธีการแปรงฟันที่ผิดวิธี

การแปรงฟันที่ผิดวิธี อาจส่งผลให้ยังมีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน หรือร่องเหงือก เป็นเหตุให้ลูกน้อยฟันผุ หรืออาจเกิดอาการเหงือกอักเสบได้

ไม่ได้มีการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

จริง ๆ แล้ว เรื่องของการพบทันตแพทย์ ควรกระทำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่ละเลย จะไปพบแพทย์อีกทีก็คือไม่ฟันผุ ก็อุดฟัน

เคลือบฟลูออไรด์ได้ตอนกี่ขวบ

คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปพบทันตแพทย์และเคลือบนฟลูออไรด์ได้เมื่ออายุได้ 6 ปี ขึ้นไปค่ะ ซึ่งหลังจากนี้แพทย์ก็เป็นผู้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่ต่อไปค่ะ

ควรเคลือบฟลูออไรด์บ่อยแค่ไหน

  • ควรพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์ทุก ๆ 6 เดือน หรือตามที่แพทย์นัดค่ะ
  • หากพฤติกรรมลูกมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปเคลือบฟลูออไรด์ได้มากกว่า 2 ครั้ง ต่อ ปี หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์อีกเช่นกันค่ะ

เคลือบฟลูออไรด์ มีกี่ประเภท เหมาะกับอายุเท่าไหร่

ทั่วไปแล้วฟลูออไรด์สำหรับเด็กจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

ฟลูออไรด์แบบเจล (Fluoride Gel)

ทันตแพทย์จะบีบเนื้อครีมฟลูออไรด์แบบเจลลงไปในถาดเคลือบที่มีลักษณะโค้งตามรูปฟัน จากนั้นให้ลูกน้อยกัดไว้เป็นเวลาประมาณ 1-4 นาที ขึ้นอยู่กับประเภทของฟลูออไรด์ ระหว่างการเคลือบฟันนี้ก็จะมีที่ดูดน้ำลายใส่ในปากตลอดเวลาของการกัดถาดเคลือบ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กกลืนฟลูออไรด์ส่วนเกินลงไป สำหรับฟลูออไรด์ประเภทนี้เหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปี ขึ้นไป หรือเด็กที่ให้ความร่วมมือในการเคลือบฟันเป็นอย่างดี

ฟลูออไรด์แบบวานิช (Fluoride Varnish)

เริ่มจากทันตแพทย์จะขัดฟันของลูกน้อยให้สะอาดก่อน พร้อมกับเช็ดฟันให้แห้ง จากนั้นจะใช้คัตต้อนบัดหรือแปรงเล็ก ๆ ทาฟลูออไรด์วานิชลงที่ผิวฟัน โดยจะทาทุกซี่ ทุกด้าน โดยจุดที่เริ่มมีรอยผุ แพทย์จะเน้นให้เป็นพิเศษ ฟลูออไรด์ประเภทนี้เหมาะกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี หรือเด็กเล็กที่ยังกลัว หรือไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับแพทย์ค่ะ

ข้อปฏิบัติหลังเคลือบฟลูออไรด์

หลังการเคลือบฟลูออไรด์แล้ว ยังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

จะกลืนน้ำลาย หรือบ้วนทิ้งก็ได้

หลังเคลือบฟลูออไรด์แล้ว จะกลืนน้ำลายก็ได้ หรือหากต้องการบ้วนน้ำลายทิ้งควรทิ้งระยะเวลาที่ 30 นาทีขึ้นไปก่อน จึงจะสามารถบ้วนน้ำหรือดื่มน้ำได้

งดน้ำและอาหาร 30 นาที

หลังเคลือบฟลูออไรด์แล้ว ควรงดน้ำและอาหารเป็นเวลา 30 นาที เพื่อคงความเข้มข้นของฟลูออไรด์ไว้ที่ผิวฟันก่อน และฟลูออไรด์ก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

กรณีเคลือบฟลูออไรด์วานิช

ควรเลี่ยงอาหารที่มีความแข็ง หรืออาหารที่ต้องเคี้ยว เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทานหได้เฉพาะอาหารอ่อน หรือน้ำ พร้อมกับเลี่ยงการแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน ทั้งก่อนนอนและระหว่างวัน ซึ่งจะเริ่มแปรงฟันได้ก็คือ วันถัดไป

การเคลือบฟลูออไรด์ไม่มีความเจ็บแต่อย่างใดค่ะ เพียงแต่เสียงร้องของลูกน้อยมากกว่าที่ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ใจสั่น การเคลือบฟลูออไรด์และการได้เข้าพบทันตแพทย์จะช่วยให้สุขภาพฟันและช่องปากของลูกน้อยมีสุขภาพดี ไม่ผุก่อนวัยอันควร อย่าลืมพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์กันนะคะ

 

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP