ทารกสวมหน้ากากอนามัย อันตรายต่อระบบประสาท

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 2 ปีนี้ ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีการป้องกันที่ดีนอกเหนือจากการไม่ไปในที่เสี่ยง การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์แล้ว ยังมีในเรื่องของการสวมหน้ากากอนามัย ลำพังหน้ากากอนามัยของผู้ใหญ่นั้นมีหลายรูปแบบ เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็มีจำหน่าย แต่ในส่วนของเด็กทารกหรือเด็กเล็กนี่สิ การสวมหน้ากากอนามัยส่งผลอันตรายต่อระบบประสาทกันเลยทีเดียว

ทารกและเด็กเล็กสวมหน้ากากอนามัยได้ไหม

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้ออกมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมในเด็กแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะกับทารกไว้ดังนี้

ทารกแรกเกิด – 1 ปี

ทารกแรกเกิดจะหายใจได้ทางเดียวคือทางจมูก เขายังไม่สามารถหายใจได้ด้วยปาก การสวมหน้ากากอนามัยให้กับทารกจะส่งผลต่อระบบหายใจ เสี่ยงต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด็คั่งได้ ดังนั้นเมื่อทารกขาดออกซิเจนก็จะมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้ หรือบางรายอาจสวม Face Shield ให้กับทารกแทน แต่ก็ควรระวัง เพราะขอบของพลาสติกนั้นคม อาจบาดหน้าหรือดวงตาของลูกได้

เด็กอายุ 1-2 ปี

เด็กในวัยนี้เริ่มแสดงปฏิกิริยารำคาญได้แล้ว บางคนสามารถถอดหน้ากากอยามัยออกได้เองหากรู้สึกว่าอึดอัด การสวมหน้ากากอนามัยให้ลูกควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรให้ลูกสวมหน้ากากอนามัยในระยะเวลาที่สั้นที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูก หากลูกมีท่าทีที่อึดอัด หรือหายใจลำบากก็ให้เอาออกได้ และที่สำคัญ ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะหลับ

เด็กอายุมากกว่า 2 ปี

วัยนี้สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ เนื่องจากสามารถถอดหน้ากากได้เองเมื่อรู้สึกอึดอัดหรือรำคาญ ยกเว้นว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หากเป็นเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

เด็กที่มีโรคประจำตัวและต้องดูแลเป็นพิเศษ

โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบประสาท หรือระบบทางเดินหายใจบกพร่องรุนแรงที่ไม่สามารถใช้หน้ากากอนามัยได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มความเคร่งครัดในเรื่องระยะห่าง และการใช้รถเข็นที่มีผ้าคลุมปิด รวมไปถึงใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงร่วมด้วย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้วยก็ได้ค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย

วิธีชักชวนลูกสวมหน้ากากอนามัย

ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

เพราะลูกมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ชักชวนให้ลูกสวมหน้ากากอนามัย คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ไปกับลูกด้วย เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกว่าโดดเดี่ยว หรือแปลกแยก และที่สำคัญ คือ คราวหน้าถ้าชวนลูกสวมหน้ากากอนามัยลูกก็อาจปฏิเสธได้ เพราะเขากลัวแปลกแยก

ชวนลูกพูดคุยขณะสวมหน้ากากอนามัย

ให้คุณพ่อคุณแม่สวมหน้ากากอนามัยพร้อมกับลูก แล้วชวนลูกพูดคุยที่หน้ากระจก ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและข้อดีเมื่อเวลาที่เราพูดแต่ยังสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่

สวมหน้ากากอนามัยให้ตุ๊กตา

เมื่อสวมหน้ากากอนามัยให้ลูกแล้ว ก็ลองสวมให้กับตุ๊กตาหรือของเล่นตัวโปรดของลูกด้วย เพื่อที่เขาจะได้เห็นว่า ใคร ๆ ก็ใส่หน้ากากอนามัยกัน

ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกหน้ากากอนามัย

ก่อนที่จะให้ลูกเลือกแบบนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกและคัดกรองมาให้ลูกในเบื้องต้นก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าหน้ากากอนามัยที่ลูกจะสวมใส่นั้นมันปลอดภัย และสามารถกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้จริง หลังจากนั้นการรตัดสินใจสุดท้ายค่อยให้ลูกได้เป็นคนเลือก เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าอยากสวมใส่ และภูมิใจกับสิ่งที่เขาเลือกเอง

ให้ลูกได้ลองสวมหน้ากากอนามัยที่บ้านก่อน

หลังจากที่ซื้อหน้ากากอนามัยมาแล้ว ให้ลูกได้ลองสวมใส่ที่บ้านก่อน เพื่อสร้างความคุ้นเคยพร้อมกับเน้นย้ำถึงความปลอดภัยในการสวมใส่หน้ากากอนามัย

การสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นข้อหนึ่งจากหลาย ๆ ข้อที่มีความจำเป็นและสำคัญที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค แต่จะดีที่สุด หากเราไม่พาตัวเองหรือลูกน้อยไปอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยง หรือถ้าจำเป็นต้องไปจริง ๆ ควรรีบไปรีบกลับ พร้อมกับใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่านะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP