ฝึกลูกกินข้าวเองกี่ขวบดี? กระตุ้นพัฒนาการด้านใดบ้าง?

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

การได้เฝ้ามองดูลูกเติบโต แข็งแรง มีสติปัญญาที่ดี ล้วนแล้วแต่เป็นความสุขของพ่อแม่ทั้งนั้น ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเติบโตและช่วยเหลือตัวเองได้ดี ต้องเริ่มฝึกตั้งแต่เล็กๆ ค่ะ โดยเริ่มได้ตั้งแต่ 9 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งวันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาฝึกลูกให้กินข้าวเองกันค่ะ การฝึกนี้เป็นการกระตุ้นพัฒนาการลูกได้ดีมาก ว่าแต่ควรจะเริ่มฝึกกี่ขวบดี เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการช้า-เร็วต่างกัน อ่ะ…เรามาดูกันทีละข้อเลยดีกว่า

Youtube : ฝึกลูกกินข้าวเองกี่ขวบดี? กระตุ้นพัฒนาการด้านใดบ้าง?

ทำไมต้องฝึกลูกให้กินข้าวเอง

การฝึกลูกให้กินข้าวเอง นับเป็นด่านแรกๆ ของลูกที่ต้องเรียนรู้ในเรื่องการช่วยเหลือตัวเอง ทำอะไรด้วยตัวเอง เรามาดูกันค่ะว่าการฝึกให้ลูกกินข้าวเอง มีข้อดีต่อพัฒนาการในด้านใดบ้าง

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือของลูกได้เป็นอย่างดี เพราะการหยิบจับแต่ละครั้งของลูก จะทำให้ลูกได้กำและแบ รวมถึงการกะน้ำหนักมือได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

พัฒนาด้านการทำงานให้สัมพันกัน

พัฒนาด้านการทำงานให้สัมพันกัน

เพราะระหว่างที่ลูกน้อยเรียนรู้การจับอาหารเข้าปากหรือใช้ช้อนตักอาหารนั้น เค้าต้องเรียนรู้การทำงานให้สัมพันกันระหว่างมือกับสายตา

พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านสติปัญญา

ในระหว่างที่ลูกหัดกินนั้น ลูกจะได้เรียนรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การคิดวิเคราะห์ การประมวลผล การวางแผน รวมถึงการแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เริ่มจากการจับช้อน ตักอาหาร จะตักชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็ก จะเข้าปากได้หรือไม่ ต้องยกช้อนสูงเท่าไหร่ ถ้าอาหารตกก่อนเข้าปากจะทำอย่างไรดี เป็นต้น

ลูกกินข้าวเอง กลัวไม่อิ่ม ทำอย่างไรดี

เริ่มแรกของการฝึกลูกให้กินข้าวเองนั้น อาหารอาจเข้าปากบ้างไม่เข้าปากบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะกังวลแล้วว่าลูกกินไม่อิ่มแน่นอน แต่จะทำอย่างไรดี ให้คุณพ่อคุณแม่แบ่งข้าวออกเป็น 2 จาน ดังนี้นะคะ

จานที่ลูกกินเอง

จานที่ลูกกินเอง

เป็นจานที่ให้ลูกได้ลองกำ ลองตัก ลองป้อนอาหารเข้าปากเอง จานนี้ปล่อยเค้าเต็มที่เลยค่ะ เป็นจานแห่งการเรียนรู้ไปเลย^^

จานที่ทานจริง

จานที่ทานจริง

สำหรับจานนี้เป็นจานที่ให้คุณพ่อคุณแม่ป้อน รับรองได้จานนี้ไปลูกอิ่มแน่นอน

เทคนิคฝึกให้ลูกกินข้าวเอง

ปล่อยให้เลอะเทอะบ้าง

ปล่อยให้เลอะเทอะบ้าง

โน้ตจะบอกว่า “ความเลอะเทอะ” เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าจะให้เหนื่อยน้อยหน่อยตอนเก็บกวาดเช็ดถู ก่อนกินอาหารให้คุณพ่อคุณแม่หา “ผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์มาปูรองที่พื้น” เพื่อตอนเก็บจะได้รวบเก็บทีเดียว แล้วค่อยเช็ดพื้น เช็ดโต๊ะอีกที

ลดของว่างระหว่างมื้อ

ลดของว่างระหว่างมื้อ

ที่ต้องลดของว่างระหว่างมื้อก็เพราะว่าเป็นการ “ป้องกันลูกเล่นข้าว” ถ้าลูกน้อยกินของว่างจนอิ่มแล้ว เค้าก็จะไม่หิวข้าว ไม่อยากกินข้าว อยากเล่นอย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนี้ลูกก็จะไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ฝึกในเรื่องการกินข้าวเอง

ตกแต่งอาหารให้น่ากิน

ตกแต่งอาหารให้น่ากิน

หลังจากที่เราลดของว่างระหว่างมื้อลงแล้ว การตกแต่งอาหารให้มีสีสันน่ากินก็เป็นการกระตุ้นความอยากกินอาหารของลูกได้เป็นอย่างดี โดยคุณแม่อาจเลือกผักหรือผลไม้ที่ลูกชอบมาปรุงอาหาร เช่น แครอท ฟักทอง บรอกโคลี ข้าวโพด เป็นต้น เท่านี้ก็เป็นการเพิ่มสีสันในอาหารได้ดีแล้วค่ะ

จัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม

จัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่เคยไหมคะที่เวลาเราเห็นอาหารที่มันมากเกินไป เพียงดูก็อิ่มแล้ว? นั่นแหล่ะค่ะ เด็กๆ ก็เป็นเหมือนกัน ดังนั้น การจัดปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับที่ลูกกินก็นับเป็นการกระตุ้นความอยากกินอาหารได้อีกทางหนึ่ง

ไม่ทำกิจกรรมอื่นระหว่างทานอาหาร

ไม่ทำกิจกรรมอื่นระหว่างทานอาหาร

เช่น การปิดทีวี ปิดมือถือ ปิดสื่อทุกสื่อให้เหลือไว้แต่เพียงช่วงเวลาในการกินข้าวเท่านั้น แบบนี้ก็จะทำให้ลูกมีสมาธิอยู่กับการกินอาหารหรือการฝึกได้ดีค่ะ

กินข้าวพร้อมกัน

กินข้าวพร้อมกัน

ข้อนี้ก็สำคัญค่ะ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่ได้กินอาหารร่วมกันกับลูก จะทำให้ลูกได้เรียนรู้พฤติกรรมและวิธีการกินอาหารจากคุณพ่อคุณแม่ได้ดี แอบกระซิบนิดหนึ่งค่ะ ถ้าครอบครัวไหนต้องการฝึกให้ลูกกินผัก แนะนำให้กับข้าวบนโต๊ะอาหารมีผักด้วยทุกมื้อ ทำให้ลูกเห็นค่ะว่าการกินผักของบ้านเรานั้นเป็นเรื่องปกติ

ขึ้นชื่อว่า “การฝึก” เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเหนื่อยอยู่แล้ว แต่เชื่อเถอะค่ะ วันหนึ่งเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกกินข้าวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ รับรองค่ะ คุณพ่อคุณแม่ยิ้มไม่หุบแน่นอนค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP