ลูกกินอาหารยาก ควรทำยังไงดีคะ..

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

ตั้งแต่ลูกน้อยลืมตาดูโลก ก็ต้องอาศัยน้ำนมแม่มาโดยตลอดจนครบ 6 เดือน จนกระทั่งอายุ 7 เดือนแล้ว ลูกควรเริ่มกินอาหารเสริมอย่างอื่นนอกจากน้ำนมแม่ แต่ดูเหมือนจะยากกว่าที่คิด เมื่อลูกน้อยไม่ยอมรับอาหารเสริม แถมจะกินแต่นมแม่ตลอด เจอแบบนี้ก็พาเครียดกันทั้งคุณพ่อคุณแม่กับการรับมือลูกน้อยวัยกินยาก

การทำงานของระบบย่อยอาหารในเด็กจะสมบรูณ์ดี เมื่ออายุ 6-7 เดือน เด็กทุกคนที่ผ่านการกินนมแม่เป็นหลัก จะคุ้นชินกับรสสัมผัส รสชาติของนม พอถึงช่วงวัยที่เริ่มทานอาหารอ่อนๆ นอกเหนือจากนมแม่ได้ ช่วงเวลานี้คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกกินอาหารเสริมที่มาจากผักผลไม้ แต่ลูกน้อยจะรู้สึกว่าอาหารแปลกตามีรสชาติที่ไม่คุ้น หรือมีกลิ่นที่เปลี่ยนไป ถ้าเช่นนั้นคุณแม่ก็ลองเปลี่ยนการทำอาหารให้ลูกน้อยใหม่ น้ำนมที่ปั้มไว้ คือ…

รสชาติที่ลูกน้อยคุ้นเคย

หากเอาน้ำนมมาผสมเพิ่มรสในอาหารลูกน้อยก็จะกินง่ายขึ้น เช่น

  • ข้าวโอ๊ต + นมแม่
  • ฟักทอง + นมแม่
  • กล้วยน้ำว้า + ข้าวกล้อง + นมแม่
  • แครอท + นมแม่
  • แอปเปิล + นมแม่
  • มันฝรั่ง + แครอท + ไข่แดง + นมแม่
  • ตับบด + นมแม่
  • เนื้อปลา + ฟักทอง + นมแม่
  • แครอท + ข้าว + นมแม่

เมื่อลองวางแผนการปรุงอาหารก็จะเห็นได้ว่า ในส่วนผสมของอาหารนอกจากจะมีน้ำนมแม่ ยังมีทั้ง ผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์เล็กน้อยด้วย ทีนี้ลูกน้อยก็จะกินอาหารได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญอาหารควรเน้นปรุงให้สุก เพราะหากไม่สุกเต็มที่ เชื้อโรคจะไม่ถูกทำลาย ลูกอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดได้ และคุณแม่ควรล้างมื้อบ่อยๆ ขณะปรุงอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคมาสู่ลูก

เปลี่ยนการปรุงอาหารแล้ว ก็ใช่ลูกจะยอมกินง่ายๆ คุณแม่ลองดูว่าระหว่างที่หายไปทำอาหารลูกน้อยทำกิจกรรมอะไรบ้าง หรือคุณแม่เผลอทำอะไรไปบ้างที่อาจทำให้ลูกกินยาก
วิธีให้ลูกน้อยกินอาหารเสริม

  • ให้แน่ใจว่าลูกรู้สึกหิวในช่วงมื้ออาหาร โดยไม่ควรให้ลูกกินของว่าง ขนมหวาน หรือน้ำผลไม้ 3-4 ชม. ก่อนมื้ออาหาร
  • จำกัดปริมาณการดื่มนมของลูก วันละไม่เกิน 3 แก้ว (750ml)
  • ลูกน้อยจะใช้นิ้วหยิบของได้คล่องขึ้น อนุญาตให้ลูกเล่นกับอาหารเพื่อลดความตึงเครียดที่มีต่ออาหาร หรืออยากหยิบช้อนเข้าปากเอง แต่อาจไม่ตรงปากมากนัก
  • ลูกจะสนใจของเล่นมากขึ้น เมื่อถึงเวลามื้ออาหาร งดของเล่น งดการเปิดโทรทัศน์ หรือสิ่งล่อใจลูกน้อย เพราะการกินอาหารหน้าจอทีวี จะดึงความสนใจในมื้ออาหาร และจะกินได้น้อยลงกว่าเดิม
  • คุณแม่ตักอาหารให้ลูกมากเกินไป ลูกเห็นก็ไม่อยากกิน ลองลดปริมาณให้น้อยลงจะทำให้อาหารดูน่ากิน
  • ห้ามดุ ถ้าลูกกินข้าวไม่หมด จะทำให้เกิดความกดดันกับลูกได้
  • อย่าบังคับลูกกินข้าว แต่ให้ค่อยๆ ชักชวนให้กินทีละนิด ไม่ฝืนให้ลูกกิน
  • ชมลูกทุกครั้งเมื่อลูกกินข้าวจนหมดจาน
  • ไม่หลอกล่อให้ลูกน้อยกิน โดยมีสิ่งอื่นเข้ามาแลก แบบนั้นจะทำให้ลูกติดเป็นนิสัยได้
  • ให้ลูกมานั่งร่วมมื้ออาหารพร้อมๆ กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมการเลียนแบบผู้ใหญ่ จึงเป็นวิธีกระตุ้นอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกอยากกินไปในตัว หรือคุณพ่อคุณแม่แสดงการกินให้ลูกดูว่าอร่อย เนื่องจากลูกจะมองคุณเป็นตัวอย่าง
  • สร้างบรรยากาศที่ดีบนโต๊ะอาหาร ให้สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย เพื่อทำให้เกิดความสุข เกิดความสนุกสนาน

ขณะคุณแม่ป้อนอาหารหากลูกไม่กินอย่าบังคับ ให้หยุดป้อนและเริ่มใหม่ใน มื้อถัดไป หรือวันถัดไป การเริ่มเมนูเดิม เมนูละ 1 สัปดาห์ จะเป็นการทดสอบการแพ้อาหารไปในตัว แต่ถ้าลูกเกิดเบื่ออาหารขึ้นมา ให้เปลี่ยนเมนูใหม่ ลูกวัย 7 เดือน ยังคงให้อาหารเพียง 1 มื้อ แต่เพิ่มปริมาณขึ้นและเพิ่มมื้ออาหารว่าง อาจเป็นน้ำผลไม้ หรือผลไม้บดละเอียด อีก 1 มื้อ

คุณแม่หมั่นสังเกตอาการของลูก ว่าเกิดอาการแพ้อาหารหรือไม่ อาการแพ้อาหารได้แก่ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย ปากบวม ตาบวม อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หากพบว่าลูกแพ้อาหาร ควรพาลูกไปพบแพทย์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้แก่ลูก

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP