คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนที่มีความวิตกกังวล ตื่นเต้น เก้ๆ กังๆ เมื่อเวลาที่ต้องพาลูกกลับบ้านหลังจากคลอดที่โรงพยาบาล และด้วยความตื่นเต้นนี้เอง จึงพากันซื้อข้าวของเครื่องใช้ของลูกให้เต็มไปหมด โดยเฉพาะเครื่องนอนไม่ว่าจะเป็นเบาะรองนอน หมอน หมอนข้าง และผ้าห่ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ตุ๊กตาน่ารักๆ ที่คิดว่าจะเอามานอนเป็นเพื่อนลูกให้ลูกรู้สึกอุ่นใจว่ามีใครอยู่เคียงข้างตลอด
แต่…หารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้ลูกเสียชีวิตด้วยโรคเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในเด็ก (Sudden Infant Death Syndrome – SIDS)
ข่าวคราวการเสียชีวิดแบบ SIDS นี้ พบมากในเด็กแรกเกิดและในเด็กที่มีอายุไม่ถึง 2 ขวบ ยกตัวอย่างจากในประเทศสหรัฐอเมริกาที่พบว่ามีเด็กทารกที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ (SIDS /ขาดอากาศหายใจในจณะหลับ) มากถึง 700 ราย
Youtube : ทารกยังคออ่อน นอนหนุนหมอนจะอันตรายหรือไม่? หนุนได้เมื่อไหร่?
สารบัญ
หมอนก็คร่าชีวิตลูกน้อยได้
จากหลายๆ ครั้งที่คุณพ่อคุณแม่รู้มาว่า ตุ๊กตา หมอนข้าง หรือผ้าห่ม ก็สามารถคร่าชีวิตลูกน้อยวัยทารกได้ เพราะเป็นจังหวะที่ลูกพลิกตัว หน้าไปซุกที่เครื่องนอนและตุ๊กตาดังกล่าวเป็นเวลานาน ซึ่งเด็กทารกที่คอยังไม่แข็ง เค้าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงทำให้ลูกขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในที่สุด
ซึ่ง…การหนุนหมอนของเด็กทารกที่คอยังไม่แข็งก็เช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่จับให้ลูกนอนคว่ำในขณะที่ลูกหลับ เมื่อลูกขยับตัว อาจทำให้หน้าของลูกคว่ำไปที่หมอนพอดี และหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีเวลามาดูแลลูกตลอดหรือเผลอหลับไปด้วย อาจทำให้เกิดเรื่องเศร้าได้ในที่สุด
“แล้วควรจะให้ลูกนอนหนุนหมอนได้เมื่อไหร?”
ผู้เขียนมีคำตอบค่ะ
ลูกจะนอนหนุนหมอนได้เมื่อไหร่
ทางที่ดีที่สุด แนะนำว่าควรให้ลูกนอนหนุนหมอนได้ก็ต่อเมื่ออายุมากกว่า 2 ขวบ หรือ เมื่อลูกคอแข็งแล้วเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการตายอย่างเฉียบพลันในเด็กทารกค่ะ ที่อีกอย่างที่สำคัญคือ ด้วยสรีระของเด็กทารกนั้น สัดส่วนของหัวยังค่อนข้างใหญ่กว่าลำตัว ดังนั้น การให้ทารกได้นอนเบาะหรือนอนในที่ราบ ลูกก็จะไม่ได้รู้สึกว่าหัวต่ำหรือนอนลำบากอะไร กลับกัน…เค้าจะนอนได้พอดีกว่ามีหมอนมารองที่หัวค่ะ
การฝึกให้ลูกคอแข็ง
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญสำหรับคนที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่มีทั้งห่วง ความกังวลว่าเมื่อไหร่ลูกเราจะคอแข็งซักที?ทำไมลูกเราคอแข็งช้าจัง? จะบอกว่าข้อนี้ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เพราะ…คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยฝึกลูกได้ โดย…
ในขณะที่ลูกตื่น ให้ลูกนอนคว่ำ แล้วเอาของเล่นไปเล่นกับลูกทางด้านหน้า เพื่อให้เค้าแหงนมองของเล่นนั้น (ควรเป็นของเล่นที่มีเสียงนะคะ เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับลูก) และถ้ายิ่งเป็นของเล่นที่เค้าชอบด้วยจะยิ่งดีมากเลยค่ะ เพราะเค้าจะมองได้นาน นั่นหมายถึงเค้าจะสามารถเกร็งคอได้นานขึ้นค่ะ ฝึกทุกวัน อาจเริ่มจากวันละ 5 นาที แล้วค่อยเพิ่มเป็น 10 และ 15 นาที จนกว่าคอจะแข็ง
การเลือกซื้อหมอนหนุนให้ลูก
การเลือกซื้อหมอนให้ลูกคุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาจาก…
ขนาดและรูปทรง
ควรกะขนาดให้พอเหมาะกับขนาดของตัวลูก รวมถึงรูปทรงของหมอนควรมีลักษณะที่รองรับพอดีกับศีรษะและคอของลูก
เลือกความสูงหมอนให้พอดีกับลูก
โดยปกติแล้วหมอนของเด็กเล็กจะไม่เน้นทำให้สูงมาก เพราะจะทำให้เด็กปวดคอได้
ขนาดของหมอนที่เหมาะสม
ขนาดของหมอนที่พอดีและพอเหมาะสำหรับเด็กเล็กนั้นจะอยู่ที่ 10”x14” หรือ 12”x16” เน้นที่ค่อนข้างเตี้ยค่ะ
ไม่นอนหมอนของผู้ใหญ่
เพราะหมอนของผู้ใหญ่นอกจากจะมีขนาดที่ใหญ่เกินไปแล้ว ยังมีความแข็งมากกว่าหมอนของเด็ก อาจทำให้ลูกปวดคอหรือต้นคอได้ ทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจได้
เลือกหมอนที่ปราศจากสารก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
ตัวอย่างเช่น หมอนออร์แกนิกคอตตอน หมอนยางพาราสำหรับเด็ก หรือหมอนที่สามารถรองรับคอ และจัดท่านอนให้กระดูกสันหลังของลูกให้อยู่ในลักษณะสมดุล เป็นต้น
หมอนยางพาราหลุม หัวทุย สำหรับทารก
หมอนหลุม รองรับน้ําหนักศรีระเด็กทารก
หมอนยางพาราเกรด A ออกแบบให้มีหลุม ยางพาราคุณภาพสูงส่งผลให้ หมอนก็นรูปไว้ รองรับ น้ําหนักได้มากกว่า ช่วยเรื่องออกแบบสรีระให้ทุย ปกติอายุการใช้งานจะยืนยาวมากถึง 5-10 ปี
ปลอกถอดซักได้ สเป็คกันไรฝุ่น
ปลอกหมอนลายการ์ตูนแบบถอดซักได้ เพิ่มเติมฟีเจอร์แบบกันไรฝุ่น เพื่อลูกน้อยก็รักจะได้รับการ ปกป้องยามพักผ่อน ช่วยให้หลับได้ลึกขึ้นกว่าเดิม
รองรับน้ําหนักได้ดี ยางคืนรูปไว
หมอนยางพาราเกรด A ยางพาราคุณภาพสูงส่งผลให้ หมอนคืนรูปไว รับน้ําหนักได้มากกว่าปกติ อายุการใช้งานจะยืนยาวมากถึง 5-10 ปี
ธรรมชาติ 100% ยางแท้ เกรดพรีเมี่ยม
โปรดระวังสินค้าลอกเลียนแบบ ใช้เคมีผสมในปริมาณที่สูง แรกๆใช้ประทับใจเหมือนกัน ผ่านไปราวๆ 3-6 เดือน จะค่อยๆเสื่อมสภาพ ยางเสื่อมสภาพไ) เลือกใช้ทั้งที่ ใช้ของดีไปเลย
อย่าลืมนะคะ หากลูกยังเล็ก คอยังไม่แข็ง คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเรื่องเครื่องนอนมากเป็นพิเศษ ไม่เลือกเบาะนอนที่นุ่มเกินไป รวมไปถึงการจัดวางเครื่องนอนรอบๆ ตัวลูกไม่ควรให้มีเยอะมากเกินไป เพื่อป้องกันการเกิด SIDS ค่ะ