ทำไมลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ

พ่อแม่มือใหม่หลายคนอาจจะมีทั้งสังเกตลูกน้อยและไม่ได้สังเกตลูกน้อยขณะหลับ ว่าลูกมีอาการนอนหลับดีหรือไม่ มีเสียงดังครืดคราดหรือเปล่า พ่อแม่บางคนบอกว่าสังเกตแล้วแต่ลูกไม่มีอาการครืดคราด หรือแท้จริงแล้ว

“ลูกมีอาการนอนครืดคราด แต่…พ่อแม่ไม่รู้?”
แล้ว…
“การนอนครืดคราดหรือไม่ครืดคราดสำคัญด้วยหรือ?”

จะสำคัญหรือไม่ วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลของ ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ มาฝากค่ะ

Youtube : ทำไมลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไข

ให้ความสำคัญกับการหายใจของทารก

การหายใจของทารกเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ ในเด็กแรกเกิดบางคน ในขณะที่ดูดนมหรือนอนหลับ พ่อแม่มักจะได้ยินเสียงหายใจที่ดังผิดปกติ บางคนหายใจเร็ว บางคนหายใจแรง บางคนหายใจดังฟี้ๆ หรือบางคนก็ดังครืดคราด เกิดจากอะไรไปดูกันค่ะ

“ลูกวัย 2 เดือน มีเสียงดังครืดคราดในลำคอตอนหายใจ ตอนดูดนมจะยิ่งหายใจแรงขึ้น และดูดนมได้ไม่ต่อเนื่อง เพราะต้องหยุดหายใจเป็นระยะ อยากทราบว่าเกิดจากเหตุใด และจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี”

จากอาการ ป้าหมอนึกถึงสาเหตุได้ 6 กรณีต่อไปนี้ จะวินิจฉัยได้แน่นอนต้องพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

  1. แพ้โปรตีนนมวัว
  2. กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง (laryngomalacia)
  3. ความผิดปกติแต่กำเนิดของท่อหลอดลมหรือสายเสียง
  4. ภาวะกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD)
  5. เพิ่งหายจากเป็นหวัดหรือโรคหลอดลมอักเสบ
  6. ดื่มนมมากเกินไป (overfeeding)

แบบไหนถึงเรียกว่า “หายใจดังครืดคราด”?

โดยปกติแล้วเด็กเล็กมักจะหายใจเร็ว

ทารกแรกเกิด –2 เดือน
ทารกแรกเกิด –2 เดือน อัตราการหายใจจะอยู่ที่ 60 ครั้งต่อนาที

2 เดือน –1 ปี
2 เดือน –1 ปี อัตราการหายใจจะอยู่ที่ 50 ครั้งต่อนาที

1 ปี – 3 ปี
1 ปี – 3 ปี อัตราการหายใจจะเริ่มช้าลง และจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 20-30 ครั้งต่อนาที

เด็กเล็กที่หายใจเร็ว แต่ไม่มีเสียงดัง แบบนี้ถือว่าปกติ กลับกันหากขณะที่ทารกกำลังดูดนมหรือขณะนอนหลับ…

มีเสียงหายใจดัง

  1. มีเสียงหายใจดัง
  2. ดูแล้วลูกหายใจลำบากต้องใช้แรงในการหายใจมากกว่าปกติ

ไม่สามารถดูดนมได้อย่างต่อเนื่อง
ต้องนอนอ้าปากหายใจ ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้อย่างต่อเนื่อง

หายใจสะดุด

  1. หายใจสะดุด
  2. หายใจเฮือก

…แบบนี้ถือว่า “ผิดปกติ” ค่ะ

สาเหตุจากการที่ทารกหายใจมีเสียงดัง

เด็กวัยแรกเกิด (แรกเกิด – 1 เดือน)

แพ้โปรตีนนมวัว

แพ้โปรตีนนมวัว
เด็กบางคนอาจแพ้ตั้งแต่อยู่ในท้อง เพราะแม่ดื่มนมเพื่อต้องการบำรุงครรภ์ แต่เนื่องจากระบบย่อยของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ น้ำย่อยยังไม่สมบูรณ์ ทำให้โปรตีนจากนมวัวเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นให้ร่างกายของทารกสร้างภูมิต่อต้านชนิดผิดปกติขึ้นในร่างกาย
ภายหลังหากมีการได้รับนมวัวเพิ่มไปอีก ร่างกายจะทำปฏิกิริยาทันที มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น คันตา คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล เลือดกำเดาไหล มีเสมหะครืดคราดในลำคอ นอนกรน อ้าปากหายใจเสียงดังวี้ด หอบหืด ไอเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ
การรักษา
หยุดทานนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่มาจากวัว หากเป็นเด็กที่ทานนมแม่ แม่ก็ควรงดด้วยค่ะ

กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง(Laryngomalacia)

กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง
ทารกที่มีภาวะนี้จะหายใจเสียงดัง หรือมีเสียงครืดคราดในลำคอ จะได้ยินชัดเจนเมื่อลูกนอนหงาย ดูดนม หรือร้องไห้
การรักษา
ไม่ต้องทำอะไรค่ะ เพราะกว่า 90% ของทารกมีภาวะนี้ซึ่งจะหายได้เองเมื่อทารกเติบโตขึ้นประมาณ 2 ขวบ

มีความผิดปกติของท่อหลอดลมหรือสายเสียง

ความผิดปกติแต่กำเนิดของท่อหลอดลมหรือสายเสียง
บางคนมีความผิดปกติของท่อหลอดลมโดยมีเส้นเลือดงอกผิดปกติมาล้อมรอบท่อหลอดลม บางคนมีเนื้องอกที่กล่องเสียง ทำให้หายใจไม่สะดวก แต่ก็ไม่ได้พบบ่อย
การรักษา
ดูจากสาเหตุ เช่น อาจผ่าตัดหรืออาจให้ยารักษาเนื้องอก

ภาวะกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD)

ภาวะกรดไหลย้อน
ทารกที่มีอาการกรดไหลย้อนจะมีอาการ เช่น ขย้อนนม แหวะนม อาเจียนบ่อย ร้องงอแง กลัวการทานนม ลำตัวแอ่นเกร็งเวลาทานนม
การรักษา
วินิจฉัยด้วยการกลืนแป้งหรือตรวจวัดความเป็นกรดที่หลอดอาหาร หรือทดลองให้ยารักษา แล้วดูอาการตอบสนองว่าดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงแนะนำให้กินนมอย่างถูกวิธี โดยเน้นกินทีละน้อยๆ แต่กินบ่อย หลังกิน อุ้มให้ตัวตั้งไว้นานๆ อย่าเพิ่งรีบวางนอนราบ

เพิ่งหายจากอาการหวัดหรือหลอดลมอักเสบ

เพิ่งหายจากเป็นหวัดหรือโรคหลอดลมอักเสบ
เพิ่งหายจากอาการหวัดที่มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล หากเด็กสามารถสั่งได้เองก็จะทำให้หายเร็วขึ้น แต่หากยังไม่สามารถทำได้ น้ำมูกหรือเสมหะก็หายได้เองไม่เกิน 2 สัปดาห์

ดื่มนมมากไป (Overfeeding)

ดื่มนมมากเกินไป
อาการที่ทารกดื่มมากไป

แหวะนม
แหวะนม

ร้องเสียงคล้ายแพะ
ร้องเสียงคล้ายแพะ (แอะๆ)

มีเสียงครืดคราดในคอ
มีเสียงครืดคราดในคอ เพราะน้ำนมล้นมาอยู่ที่คอหอย

พุงกางตลอดเวลา
พุงกางตลอดเวลา

วิธีแก้ไข

อย่าให้นมทุกครั้ง

พยายามอย่าให้นมทุกครั้งที่ร้องหากไม่ถึงเวลานม ควรเบี่ยงเบนไปทำกิจกรรมอื่น เช่น เล่นกับลูก เป็นต้น

เด็กอายุมากกว่า 1 ปี

เด็กในวัยนี้จะมีสาเหตุที่ทำให้หายใจครืดคราดได้หลายสาเหตุ อาทิ อากาศเย็น, อากาศแห้ง, ควันบุหรี่, แพ้อาหาร ซึ่งนอกเหนือจากสาเหตุเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุ ได้แก่

เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้

ข้อนี้นับว่าเป็นอะไรที่เกิดขึ้นกับเด็กมากที่สุด และคุณพ่อคุณแม่ก็กังวลมากที่สุด ซึ่งการแพ้อากาศหรือเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบนั้น มักพบได้ในเด็กที่มีอายุ 3 – 4 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาการภูมิแพ้ ได้แก่ มีอาการคัดจมูก, คันจมูก และน้ำมูกไหล ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามมีน้ำมูกและไหลลงคอ ลูกน้อยจะมีเสมหะในลำคอส่งผลให้ลูกน้อยไอนั่นเอง มักมีอาการมากในช่วงเช้ามืด และช่วงค่ำ แต่ไม่มีอาการไข้

เด็กทารก (1 เดือน – 1 ปี)

ติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ

การติดเชื้อนี้สามารถเกิดได้จากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้เช่นกัน โดยจะมีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด คือ มีไข้อาจจะสูงหรือต่ำก็ได้, มีน้ำมูก (ทั้งใสและขุ่น), มีเสมหะ และคอแดง เป็นต้น โดยเด็กจะมีอาการเหล่านี้ทั้งวันและจะเป็นมากในช่วงที่นอน แต่เมื่อไข้ลดลงแล้ว อาการต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 – 14 วัน

อากาศเย็นและแห้ง

มีหลายครอบครัวค่ะที่เวลานอนจะเปิดแอร์ เพื่อให้หลับได้สบายตลอดคืน แต่สำหรับลูกน้อยที่ไม่สบายอยู่นั้น การเปิดแอร์ที่เย็น ๆ จะส่งผลให้ลูกน้อยหายใจมีเสียงดังครืดคราดได้ เนื่องจากอากาศที่เย็นและแห้งนี้จะไปกระตุ้นเยื่อบุจมูกให้บวมและหลั่งน้ำมูกออกมาในขณะที่นอนได้ น้ำมูกจึงไหลไปบริเวณคอเกิดเป็นเสมหะในลำคอได้ ดังนั้น หากต้องการเปิดแอร์ขณะที่นอน อุณหภูมิที่เหมาะสมควรให้อยู่ที่ 26 – 28 องศาเซลเซียส และใช้โหมด swing หลีกเลี่ยงไม่ให้แอร์กระทบที่ตัวของลูก พร้อมกับสวมเสื้อผ้าที่ค่อนข้างอุ่นสักหน่อย

แพ้อาหาร

การแพ้อาหารมักมีอาการที่แสดงออกได้หลายอย่าง อาทิ หายใจครืดคราด, ปากบวม, ตาบวม, ลมพิษที่ผิวหนัง, ถ่ายเหลวเรื้อรัง และถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น ทั้งนี้ การจะทดสอบว่าแพ้อาหารชนิดใดนั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือด จะทำได้ก็คือ ต้องทดลองงดอาหารที่สงสัยนานประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ แล้วคอยดูว่ามีอาการดีขึ้นหรือไม่

เปิดแอร์แล้วลูกหายใจครืดคราด ทำอย่างไรดี?

เช็คดูอุณหภูมิที่เปิด ไม่ควรเย็นมากเกินไป โดยอุณหภูมิที่แนะนำควรอยู่ที่ 26 – 28 องศาเซลเซียส และสวมเสื้อผ้าที่ค่อนข้างหนาสักหน่อย

ลูกหายใจครืดคราด อันตรายไหม?

หากสังเกตลูกแล้วลูกมีอาการดูเหนื่อยหอบ, ปากซีด, หายใจไม่ทัน และหน้าอกบุ๋ม ลักษณะนี้ควรปรึกษาแพทย์

ลูกหายใจมีเสียงวี้ด อันตรายไหม?

หากลูกหายใจมีเสียงดังวี้ด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ เสมหะอุดตันในโพรงจมูก แต่อาการนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไป แต่บางกรณีอาจหมายถึงอาการของปอดติดเชื้อ หรือโรคหอบหืด ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยต่อไป

หายใจครืดคราดแบบที่ต้องพบแพทย์ทันที

หากลูกน้อยหายใจครืดคราด คัดจมูก และมีอาการร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรพาลูกพบแพทย์ทันที

  • ลูกน้อยไอเรื้อรัง และมีเสียงหายใจดังวี้ด
  • มีไข้สูง (38 องศาเซลเซียส) ขึ้นไป
  • ทารกมีอาการคล้ายหวัด
  • หายใจเข้าและออกลึก จนเห็นซี่โครงได้ชัด
  • ขณะที่ลูกหายใจ ปีกจมูกจะบานกว่าปกติ
  • มีเสียงครืดคราด ขณะที่หายใจ
  • หายใจเร็วมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
  • ริมฝีปาก, ตา, มือ และเท้ามีสีฟ้า
  • หยุดหายใจเกิด 10 วินาที

อ้างอิง ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP