เรื่องควรรู้กับการนอนของลูกวัยขวบปีแรก

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

ในช่วงวัยแรกเกิด เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย ต้องคอยเฝ้าดูลูกน้อยทุกอากัปกิริยา ไม่ว่าจะการกิน การขับถ่าย โดยเฉพาะการนอน ซึ่งเด็กทารกยังไม่สามารถแยกกลางวันกลางคืนได้เหมือนเรา ฉะนั้นเจ้าตัวเล็กจึงยังไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่ในรวดเดียวหลายๆ ชั่วโมงได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่คงต้องเหนื่อยหน่อย ที่จะทำความเข้าใจกับการนอนของเจ้าหนูทั้งหลาย

การนอนหลับของเด็ก

การนอนหลับของเด็ก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพวกเขา เพราะขณะที่ลูกนอนหลับจะมีฮอร์โมนเรียกว่า โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเติบโต ใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ จึงทำให้สมองเติบโตด้วย หากเจ้าหนูได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี และเรียนรู้ได้มาก แต่สำหรับการนอนของเด็กทารกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเด็กแต่ละช่วงวัยมีพฤติกรรมการนอนที่เเตกต่างกัน เจ้าตัวเล็กจะได้พักผ่อนตลอดเวลาของการนอนจริง ๆ ก็ต่อเมื่อได้หลับรวดเดียวยาวๆ ประมาณเดือนที่ 6 ขึ้นไป

การนอนของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 3 เดือน

การนอนของทารกในช่วงนี้ จะเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องเหนื่อยสุดๆ เพราะลูกน้อยยังไม่สามารถแยกแยะกลางวันกลางคืนได้ และในช่วงแรกมักจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน มีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน ลูกจะหลับดีในช่วงสัปดาห์แรก จะนอนครั้งละประมาณ 3-4 ชั่วโมง ตลอดทั้งวัน รวมกันประมาณ 18 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการนอนอาจเปลี่ยนไปทุกสัปดาห์ และจะค่อยๆ ปรับตัวมานอนตอนกลางคืนมากกว่าได้เองในไม่ช้า

การนอนของลูกน้อยวัย 3 – 6 เดือน

ในวัยนี้ เจ้าตัวเล็กจะเริ่มนอนกลางวันน้อยลง และนอนกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้า ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนก่อน ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าเจ้าหนูจะหิวกลางดึก เพราะเขาได้กินนมตุนไว้เต็มที่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปลุกลูกมากินนมตอนดึกอีก ความต้องการนอนของลูกน้อยในช่วงนี้จะลดลงเป็น 15-16 ชม. ต่อวัน

การนอนของลูกน้อยวัย 6 – 12 เดือน

เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะสามารถนอนหลับได้นานรวดเดียวในเวลากลางคืน โดยจะไม่ตื่นมาดูดนมกลางคืนอีก ส่วนกลางวันก็จะหลับเป็นช่วงสั้น ๆ วันละ 2 ครั้ง รวมเวลาหรือความต้องการนอน 13-14 ชม. ซึ่งคุณแม่ก็จะเหนื่อยเรื่องการตื่นบ่อยของลูกน้อยลดลง

สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเมื่อลูกนอน

อย่านับการนอนหลับสั้นๆ

ว่าเป็นการนอนของลูก เพราะการนอนหลับอย่างเต็มที่ของทารกนั้น คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาทีขึ้นไปเท่านั้น หากเจ้าหนูนอนหลับไปในระยะเวลาสั้นๆ แล้วตื่นบ่อย อาจเป็นสาเหตุให้หงุดหงิดและร้องไห้โยเย เพราะเขาไม่ได้รับประโยชน์จากการนอนนั้นและไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่นั่นเอง

อย่าเข้าไปหาทันทีเมื่อลูกตื่น

เพราะระหว่างการนอนของเจ้าหนูน้อย อาจจะหลับๆ ตื่นๆ บ้างเป็นเรื่องปกติ ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะรีบเข้าไปหาเมื่อเห็นว่าลูกตื่นแล้วร้อง ซึ่งอาจเป็นการรบกวนการนอนของเด็กจนทำให้เขาตื่นขึ้นมาทันที แทนที่จะได้นอนต่อไปอีก เมื่อลูกตื่นควรปล่อยให้เจ้าหนูได้อยู่กับบรรยากาศเงียบๆ ต่อไปสักครู่ จะทำให้เขาหลับต่อไปได้

อย่าปลุกลูก ถ้าไม่จำเป็น

พ่อแม่หลายคนมักกังวลว่าถ้าลูกนอนตอนกลางวันนาน ๆ พอตกกลางคืนลูกจะหลับยาก แต่จริงๆ แล้ว สำหรับเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไป ไม่ควรเข้าไปปลุกให้ตื่น เพราะเด็กหลายคนที่หลับนานช่วงกลางวัน ก็หลับนานในช่วงกลางคืนได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การเข้าไปปลุกเขาในขณะที่เขายังนอนไม่อิ่ม อาจทำให้ลูกหงุดหงิด และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่

อย่าเมินเฉยกับอาการง่วง

พ่อแม่ไม่ควรเมินเฉยๆ ต่ออาการแปลกของลูก เพราะนั่นอาจหมายถึงอาการง่วงได้ เพราะเด็กอาจไม่ได้แค่หาวเวลาง่วง แต่มีอาการอื่นๆ มากมายที่บ่งบอกว่าง่วง เช่น เปลือกตาตก ตาลอย หงุดหงิด ร้องไห้ หากคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีอาการดังกล่าวควรกล่อมลูกนอนทันที ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เจ้าหนูเข้าสู่ภาวะเหนื่อยมากเกินไป และจะยิ่งงอแงเข้าไปอีก

อย่าใช้เครื่องนอนมากมายกับทารก

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรห่มผ้าให้ทารกบ่อย หรือใช้ผ้าหนาๆ เกินไป รวมไปทั้งการเอาหมอนข้าง ผ้าห่ม ผ้านวม หรือตุ๊กตา วางไว้รอบทารกขณะนอนหลับ อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ เพราะครื่องนอนเหล่านี้อาจทำให้เกิดการตายแบบกะทันหัน หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) เช่น ผ้าห่มหนๆ อาจไปปิดหน้าลูกจนหายใจไม่ออก

สำหรับขวบปีแรก คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องรับเมือกับการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการนอนของลูกอยู่ตลอด แต่เมื่อเจ้าหนูเริ่มโตขึ้นระยะเวลาของการหลับสนิทก็จะเพิ่มขึ้นจาก 50% ไปจนถึง 70-80% ของระยะเวลาการนอนหลับทั้งหมด ทำให้รอบของการหลับมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ แต่หากมีอะไรมาทำให้เจ้าตัวเล็กตื่นระหว่างหลับ เขาอาจจะหลับต่อเนื่องได้ยาก หรือบางคนถึงกับไม่ยอมนอนต่อ ฉะนั้นการสร้างบรรยากาศการนอนที่ดีให้กับลูก ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจด้วย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP