ทารกร้องไห้มาก อันตรายไหม ส่งผลกระทบด้านใดกับลูกบ้าง

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

ความเชื่อและคำพูดที่กล่าวต่อ ๆ กันมาว่า “ปล่อยให้ลูกร้องไห้ไป เดี๋ยวก็หยุดไปเอง” หรือ “ให้ลูกร้องไห้นาน ๆ ก็ดีเหมือนกัน จะได้เป็นการบริหารปอด” ความจริงแล้ว การที่ปล่อยให้ทารกร้องไห้มาก ๆ นั้นเป็นอันตรายหรือไม่ จะส่งผลต่อจิตใจ ร่างกาย หรือสมองหรือเปล่า วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ

ทารกร้องไห้มาก จะส่งต่อปอดหรือสมอง

ในร่างของคนเราจะมี “ฮอร์โมนคอร์ติโซล์ (Cortisol)” ถ้าคุณแม่ปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้เป็นเวลานาน ๆ ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนตัวนี้ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดออกมามากกว่าปกติ เมื่อฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้น มันก็จะไปขัดขวางพัฒนาการของเนื้อเยื่อระบบประสาทในสมอง ยับยั้งการเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำเด็กลดลงตามไปด้วย
กลับกัน หากลูกน้อยร้องไห้ แล้วได้รับการปลอบโยนและมีการตอบสนองลูกในเชิงบวกร่างกายจะมีการหลั่ง “สารอะดรีนาลีน (Adrenaline)” ออกมา ส่วนระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล์ก็จะลดระดับลง โดยทั่วไปแล้วหากทารกร้องไห้ก็มักจะไม่เกิน 15 นาที เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้นานเกิน 20 นาที และที่สำคัญคือ การเพิกเฉย ปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้ ความคิดแบบนี้ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่ค่ะ โดยเฉพาะกับลูกน้อยที่อายุยังไม่ถึง 5 ปี

ผลกระทบต่อการเพิกเฉยต่อเสียงร้องของทารก

การเพิกเฉยต่อเสียงร้องของลูกน้อย จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

เป็นคนที่ไม่มั่นคงทางอารมณ์

ทารกจะมีวิธีการสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่กี่อย่าง คือ การส่งยิ้มและการร้องไห้ ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ลูกพยายามจะสื่อสาร ขาดการตอบสนองลูกในทางบวก ลูกน้อยร้องไห้ก็ไม่เข้าไปอุ้ม ไม่ปลอบโยน เหล่านี้จะส่งผลต่อจิตใจของลูกเป็นอย่างมาก ลูกน้อยจะรู้สึกขาดความอบอุ่น มีความรู้สึกไม่ปลอดภัย มีภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย (ร้องไห้)

ขาดความมั่นใจในการแสดงออกทางคำพูด

ขณะที่ลูกน้อยร้องไห้ แต่คุณพ่อคุณแม่เพิกเฉย ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าตัวเขาไม่มีพลังในการสื่อสารความรู้สึกทุกข์ใจ (เพราะร้องไห้ขนาดนี้คุณพ่อคุณแม่ยังไม่สนเขาเลย) ลูกน้อยจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ไม่มีคุณค่า นาน ๆ เข้า เด็กจะมีปัญหาในเรื่องการทำความเข้าใจในอารมณ์ของตนเอง ไม่สามารถหาคำจำกัดความให้กับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกหรือแสดงออกได้ ซี่งส่งผลต่อการสื่อสารที่เป็นคำพูดนั่นเอง

เป็นเด็กเก็บกด

จากการเพิกเฉยของคุณพ่อคุณแม่ จากเดิมที่ลูกร้องไห้เพื่อที่จะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่รู้ต่อมาก็จะกลายเป็นว่าเมื่อลูกน้อยมีความเศร้าหรือความทุกข์ ลูกจะไม่แสดงออก เป็นการ “เก็บกด” อารมณ์ไว้กับตัวเองจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อโตขึ้นลูกหากลูกมีเรื่องทุกข์ใจ ลูกก็จะไม่เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องคุยกับคุณพ่อคุณแม่อย่างเปิดใจ บางรายอาจไม่คุยเลย

ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ที่ผ่านมา ลูกได้รับประสบการณ์มาแบบไหน ลูกก็จะส่งต่อพฤติกรรมในแบบนั้น ลูกถูกเพิกเฉยต่ออารมณ์ทุกข์ใจที่เค้าเคยพยายามที่จะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ฉันใด เขาก็จะไม่ได้รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแบบนั้นเหมือนกัน

วิธีสื่อสารกับทารกให้ตรงใจลูก

การสื่อสารกับลูกไม่ใช่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะเป็นฝ่ายพูดฝ่ายเดียวแต่ควรฟังลูกพูดด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีวิธีสื่อสารกับลูกได้ ดังนี้

น้ำเสียง และท่าทาง

น้ำเสียงเป็นอะไรที่ลูกน้อยสามารถจับความรู้สึกได้ไวทีเดียวค่ะ เสียงและท่าทางที่นุ่มนวล อ่อนโยนจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นใจ และปลอดภัย

เน้นคำสำคัญ และใช้คำซ้ำ

โดยเฉพาะในช่วงที่คุณแม่ต้องการจะสอนลูก ตัวอย่างเช่น การเรียกชื่อลูกซ้ำ เพื่อให้ลูกได้รู้จักชื่อของตัวเอง

พูดชื่อสิ่งที่เห็น

ให้คุณแม่พูดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ พร้อมกับชี้ให้ลูกรู้จักสิ่งต่าง ๆ แม้ลูกจะพูดไม่ได้ แต่ลูกสามารถจำได้ค่ะ

พูดชื่นชมลูก

เมื่อลูกสามารถพูดสื่อสารได้ อย่าลืมชื่นชมให้กำลังใจลูกด้วยนะคะ

มีเสียงประกอบกับสิ่งที่พูด

เช่น เมื่อเห็นหมา ให้คุณแม่บอกลูกก่อนว่านี่คือ หมา แล้วค่อยทำเสียง “โฮ่ง ๆ” เป็นต้น

แม่โน้ต

ไม่ควรสอนลูกว่า “นี่คือ เจ้าโฮ่ง” เพราะโตขึ้นลูกน้อยจะเรียกหมาว่า “โฮ่ง” หรือ “แมว” ก็ให้สอนว่าแมว ไม่ควรสอนว่า “หง่าว” เหล่านี้จะส่งผลเสียอย่างเห็นได้ชัดเมื่อลูกต้องเข้าโรงเรียน กลายเป็นว่าลูกต้องปรับตัวและมาเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ที่ถูกต้องใหม่

สบตาลูกน้อย

ข้อนี้สำคัญมาก ทุกครั้งที่คุณแม่พูดคุยกับลูกให้สบตาลูกเสมอ เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าคุณแม่ตั้งใจคุยกับเขา

การเพิกเฉยต่อความรู้สึกของทารกก็เท่ากับคุณแม่กำลังจะปลูกฝังสิ่งนั้นให้กับลูกน้อยเช่นกัน ถ้าหากต้องการให้ลูกน้อยเติบโตมาเป็นเด็กดี รู้จักมีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนความคิดเรื่องการเพิกเฉยต่ออารมณ์ของลูกตั้งแต่วันนี้นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP