8 เทคนิคเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ลูก

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

“ปกติแล้วลูกจะเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปกี่ขวบคะ?”

มีคุณแม่หลายท่านเลยค่ะที่มีคำถามเข้ามาถามโน้ตเกี่ยวกับเรื่องการเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ลูก ถ้าเป็นส่วนของโน้ตเอง โน้ตจะรอให้น้องมินพร้อม เพราะเคยฝึกเค้านั่งกระโถนก่อน เค้าร้องไห้และไม่ยอมปัสสาวะ ซึ่งกว่าจะเลิกก็เกือบ 3 ขวบ (แต่เพราะเค้ามีประสบการณ์ไม่ดีจากการนั่งชักโครกที่โรงเรียนเดิมมา เลยแก้ยากหน่อย) แต่ถ้าจะว่ากันโดยทั่วไปแล้ว เมื่อลูกอายุได้ 1 ขวบก็สามารถเริ่มฝึกเค้าได้แล้วค่ะ

ซึ่งวันนี้โน้ตมีเทคนิคการช่วยลูกให้เลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปมาฝากค่ะ

8 เทคนิคเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ลูก

การเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ โดยมีเทคนิคและวิธีการดังนี้ค่ะ

ลูกเริ่มพูดและสื่อสารได้

ลูกเริ่มพูดและสื่อสารได้

โดยปกติแล้วเด็กเมื่อเข้าวัย 1 ขวบเค้าจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์และฝึกพูดเป็นคำสั้นๆ และเมื่อเข้าวัย 2 – 3 ขวบ เด็กก็จะเริ่มสื่อสารได้มากกว่า 2 พยางค์ได้ เริ่มพูดเป็นประโยคสั้นได้มากขึ้น ช่วงนี้แหละค่ะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเค้าได้ว่า “แบบนี้เรียกฉี่ แบบนี้เรียกอึ

คอยถามลูกบ่อยๆ

คอยถามลูกบ่อยๆ

หลังจากที่เราสอนเค้าไปแล้วว่า แบบนี้เรียกฉี่ แบบนี้เรียกอึแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นถามลูกบ่อยๆ ว่า ปวดฉี่ไหมคะ ปวดอึไหมคะ เมื่อลูกปวดฉี่หรือปวดอึก็เริ่มจากการพาไปนั่งกระโถนก่อน

แต่อาจมีบางครอบครัวให้ลูกนั่งชักโครกเลยโดยมีคุณพ่อคุณแม่อุ้มประคองไว้หรือใช้ที่รองชักโครกสำหรับเด็ก แบบนี้ถ้าลูกรับได้ก็โอเคนะคะ แต่จะเสี่ยงหากลูกไม่ยอมรับชักโครก อาจทำให้เค้าเกิดภาพจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับการนั่งชักโครกไปเลย ถ้าจะให้ชัวร์ ควรเริ่มจากการนั่งกระโถนก่อนก็ได้ค่ะ

ใส่กางเกงในช่วงกลางวัน

ใส่กางเกงในช่วงกลางวัน

ในช่วงแรกของการเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มในช่วงกลางวันก่อนนะคะ โดยเปลี่ยนจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปมาเป็นกางเกงในแทน

บอกลูกเมื่อเราเข้าห้องน้ำ

บอกลูกเมื่อเราเข้าห้องน้ำ

ทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่เข้าห้องน้ำ ให้อธิบายให้ลูกฟังค่ะว่า “แม่ปวดฉี่ แม่ปวดอึ แม่จะเข้าห้องน้ำไปฉี่ไปอึนะคะ เพราะเราทุกคนเวลาที่ปวดฉี่หรือปวดอึก็จะเข้าห้องน้ำค่ะ” เพื่อให้ลูกได้เข้าใจว่า การเข้าห้องน้ำเพื่อไปฉี่หรืออึนั้นเป็นธรรมชาติของทุกคน

ให้ลูกเลือกกระโถน

ให้ลูกเลือกกระโถน

การให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกของใช้ด้วยตัวเองก็เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งนะคะ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความอยากใช้ อยากลอง (ทฤษฎีนี้สามารถใช้ได้กับการฝึกเด็กที่ทานยาก ฝึกให้กินข้าว ฯลฯ)

สำหรับหัวข้อนี้ให้ลูกเลือกกระโถนเองเลยค่ะ สีไหน แบบไหน เอาที่นั่งสบาย โดยให้เค้าลองนั่งเลย ยกเว้นว่าถ้าเค้าเลือกไม่ถูกก็ค่อยให้คุณพ่อคุณแม่เลือกให้ หรือถ้าหากซื้อมาแล้วลูกยังไม่ยอมนั่งฉี่หรือนั่งอึ โน้ตจะใช้วิธีนี้ค่ะ เอากระโถนมาให้ลูกใช้นั่งดูทีวี ให้เค้านั่งจนชินซักระยะ ต่อไปเค้าจะยอมเอง

ฉี่ก่อนนอนทุกวัน

ฉี่ก่อนนอนทุกวัน

ฝึกลูกให้เป็นกิจวัตรด้วยการให้ลูกฉี่ก่อนนอน และไม่ควรให้ลูกกินน้ำก่อนเวลานอน 1 ชม. เพื่อป้องกันการฉี่ราดค่ะ

วางกระโถนใกล้ตัว

วางกระโถนใกล้ตัว

เวลาที่ลูกบอกปวดฉี่หรือปวดอึขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่จะได้คว้าทัน แต่อย่าลืมนะคะว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกดดันหรือเร่งรีบให้เค้าขับถ่ายลงกระโถน เพราะถ้าเค้าเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับเรื่องนี้ขึ้นมา การฝึกจะใช้เวลานานมากขึ้นไปอีก

ให้กำลังใจเมื่อลูกขับถ่ายในกระโถนได้

ให้กำลังใจเมื่อลูกขับถ่ายในกระโถนได้

สิ่งสำคัญสำหรับลูกที่ต้องการจากผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็คือ กำลังใจ ค่ะ เมื่อลูกสามารถฉี่หรืออึได้ในกระโถนหรือในชักโครกก็ตาม ให้คุณพ่อคุณแม่พูดให้กำลังใจและชื่นชมลูกเสมอๆ เค้าจะเกิดความภาคภูมิใจและดีใจที่ตัวเองก็ทำได้เช่นกัน

สำหรับเด็กบางคนที่เลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ช้า คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกดดันลูกหรือกดดันตัวเองนะคะ ไม่มีประโยชน์เลย จะให้ลูกเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ควรดูที่ความพร้อมของลูกเป็นหลักค่ะ เลี้ยงลูกให้มีความสุข เมื่อเราเห็นรอยยิ้มของลูกเราจะยิ้มตามอย่างไม่รู้ตัว ดีกว่าเห็นน้ำตาลูกแล้วความดันเราจะขึ้นค่ะ 5555

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP