ลูกชอบต่อรอง เพราะอะไร? รับมืออย่างไร?

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

ขออีก 3 นาที” ประโยคนี้อาจเป็นประโยคที่คุณพ่อคุณแม่อาจคุ้นหูกันดี จะให้ลูกทำสิ่งนู้นที สิ่งนี้ทีลูกก็ชอบต่อรองทุกครั้ง แม้แต่ 1 นาทีก็ยังดี เป็นเพราะอะไรนะ แก้อย่างไร หรือจะรับมืออย่างไรดี?

การต่อรองที่ต่างกันในแต่ละช่วงวัย

ด้วยพัฒนาการทั่วไปของเด็ก เมื่อเขาเริ่มรู้จักสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น มีคำศัพท์ในหัวมากขึ้น เด็กก็จะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นเช่นกัน เขาจะกล้าคิด กล้าพูด และกล้าแสดงออก ที่สำคัญ คือ รักอิสระ ไม่ชอบการบังคับ ทั้งหมดนี้จะแสดงออกมาเป็นเรื่อง

ของการต่อรองนั่นเอง

ซึ่งการต่อรองจะไม่ได้หายไปไหนค่ะ เพียงแต่การต่อรองจะมีความค่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

วัยเด็กเล็ก

ในช่วงวัยนี้ลูกจะชอบต่อรอง ในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน เช่น ไม่อยากอาบน้ำ ยังไม่อยากเข้านอน หรือไม่อยากกินข้าว เป็นต้น

วัยประถมศึกษา

ลูกจะเริ่มต่อรองในเรื่องที่โตขึ้นตามสภาพแวดล้อม เช่น ไม่อยากไปโรงเรียน อยากเล่นเกมก่อนอาบน้ำ หรืออยากกินขนมก่อนทำการบ้าน เป็นต้น

วัยรุ่น

ช่วงนี้ลูกอาจจะติดเพื่อนบ้าง ยังไม่อยากกลับบ้านเร็ว มักจะอ้างว่าเพื่อนๆ ยังไปที่นั่นกันได้เลย เป็นต้น

ช่วงวัยไหนที่ชอบต่อรอง?

โดยทั่วไปแล้วเด็กๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มสื่อสารหรือเริ่มพูดได้ก็อายุประมาณ 2 ขวบ แต่ถ้าจะนับว่าเริ่มพูดต่อรองได้ เข้าใจความหมายได้มากขึ้นเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ขวบ ค่ะ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มพบได้มากขึ้นว่าลูกเริ่มต่อรองเก่งขึ้น ซึ่งในช่วงอายุนี้ลูกเองก็เริ่มที่จะเข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต่อรองได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเขากจะเริ่มงอแงเมื่อการต่อรองของเขาไม่ได้ผล

ทำอย่างไรเมื่อลูกต่อรอง

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องเจอกับลูกที่ชอบต่อรอง จะรับมืออย่างไรดี ไปติดตามกันค่ะ

ถามความเห็น พร้อมให้ทางเลือกกับลูก

เพราเรื่องบางเรื่องสามารถพูดคุยต่อรองกันได้ค่ะ หากไม่ใช่เรื่องซีเรียส หากลูกมีการต่อรองในประเด็นนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ถามความคิดเห็นของลูกกลับ พร้อมกับให้ทางเลือกกับลูกแทน เช่น หนูจะดูการ์ตูนอีกสัก 1 หรือ 2 เรื่องดีคะ เพราะเราจะได้ไปกินข้าวเย็นกัน” เป็นต้น

อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าบางอย่างต่อรองไม่ได้

มันต้องมีบ้างค่ะ สำหรับบางเรื่อง ถ้าลูกต่อรองแล้วแต่เรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่ซีเรียสจริงๆ เช่น ในกรณีที่ลูกต้องการให้คุณแม่ช่วยป้อนข้าวให้ (อารมณ์อ้อนคุณแม่) พอคุณแม่ป้อนข้าวลูก 1 คำ ลูกก็ลุกเดินไปหยิบของเล่น แล้วถือกลับมาที่โต๊ะกินข้าว แบบนี้คุณแม่สามารถอธิบายให้ลูกเข้าใจค่ะว่า “ถ้าหนูจะให้แม่ป้อนข้าวให้ หนูต้องนั่งทานที่โต๊ะนิ่งๆ ไม่เดินไปเดินมา เพราะหนูอาจจะสำลักได้ ไม่อย่างนั้นแม่ไม่ป้อนนะคะ” เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ละจะเลือกให้แม่ป้อนต่อค่ะ เพราะเขาต้องการอ้อนคุณแม่อยู่แล้ว

ตกลงกันได้ดีทั้งสองฝ่าย

ข้อนี้เป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้กันทั้งสองฝ่ายค่ะ เช่น คุณแม่อาจบอกว่า…
หนูจะไปอาบน้ำเร็วขึ้นอีกสักครึ่งชั่วโมงดีไหมคะ เพราะคืนนี้หนูต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้หนูต้องไปโรงเรียนแต่เช้า พออาบน้ำเสร็จเร็ว ก็ค่อยลงมาดูต่อ

หนู

“อย่างนั้นหนูขอดูอีก 1 เรื่องก่อนได้ไหมคะ ประมาณ 2 นาที แล้วจะไปอาบน้ำค่ะ”

แบบนี้ก็ win-win ทั้งคู่ค่ะ

ทีท่าก็สำคัญ

เมื่อคุณแม่และลูกได้ทำการต่อรองกัน ตกลงกันแล้วเรียบร้อย เมื่อถึงเวลาให้คุณแม่เดินไปหาลูกด้วยทีท่าที่จริงจัง ทั้งสีหน้า และน้ำเสียง ให้ลูกให้รู้ว่าคุณแม่เอาจริงแล้วนะ ต่อจากนี้จะไม่มีการต่อรองใดๆ อีก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการไม่ให้ลูกรู้สึกว่ากดดันลูกมากเกินไป คุณแม่อาจมีข้อเสนอให้ลูกตามนี้ก็ได้ค่ะ เช่น “หนูจะปิดเองหรือจะให้แม่ปิดให้ดีคะ

มองโลกในทางบวก

การต่อรองของลูกไม่ใช่เรื่องอันตราย หรือน่ากลัวแต่อย่างใดเลยค่ะ ที่จริงแล้วการที่ลูกชอบต่อรองเป็นการดีเสียด้วยซ้ำ เพราะคุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ความคิด และความต้องการของลูก ว่าลูกต้องการอะไร หรือลูกกำลังคิดอะไรอยู่ แต่การต่อรองอย่างมีเหตุผล สิ่งนี้สำคัญกว่าค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกใช้การต่อรองที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่ติดตัวลูกไปจนโต

การต่อรองของเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพบเจอไปตลอดค่ะ เมื่อโตขึ้นและก้าวเข้าสู่ช่วงวัยหนึ่ง การต่อรองก็เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจและจัดการเรื่องการต่อรองให้ดี โดยที่ไม่กดดันลูก หรือบังคับลูกมากเกินไป ลูกก็จะเติบโตขึ้นไปเป็นเด็กที่มีการต่อรองอย่างมีเหตุมีผลค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP