เมื่อลูกทำผิด ไม่ควรให้ท้ายลูก ไม่ปกป้องลูกในทางที่ผิด

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ร้อยทั้งร้อยคุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็ต้องการให้ลูกเป็นเด็กดี มีเพื่อนรัก ไปไหนมาไหนก็มีแต่ผู้ใหญ่เอ็นดู แต่ด้วยความที่เป็นเด็ก บางครั้งก็อาจมีบ้างที่เผลอไปแกล้งเพื่อน พูดจาไม่ดีกับคนอื่น หรือตีคนอื่น ซึ่งบางครอบครัวก็ยอมรับและแก้ไขพฤติกรรมลูก แต่ก็มีบางครอบครัวที่พยายามมองข้าม เข้าข้าง ปกป้อง หรือมองว่าก็เป็นแค่เด็ก ๆ เขาเล่นกันเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาตามมาได้ในอนาคตนะคะ

สิ่งที่ควรทำ เมื่อลูกทำผิด

ทันทีที่คุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกของตัวเองทำผิด ให้เริ่มทำตามนี้ค่ะ

ขั้นที่ 1 : หายใจลึก ๆ ตั้งสติ

ขั้นแรกให้คุณพ่อคุณตั้งสติก่อน อย่าเพิ่งตัดสินอะไรทันที แต่คุณพ่อคุณแม่ควรรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ จากลูก และคนอื่น ๆ ในเหตุการณ์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพิจารณาอย่างยุติธรรม และที่สำคัญ เพื่อให้ลูกรับรู้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณพ่อคุณแม่ยังรับฟังเขาอย่างใจเย็นได้เสมอ และไตร่ตรองมาดีแล้ว จึงพิจารณาทำโทษหรือสอนเขา เพื่อให้เขาได้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

ขั้นที่ 2 : ไม่ใช้อารมณ์ในการทำโทษเด็ก

การทำโทษหรือจะลงโทษลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้อารมณ์หรือการกระทำที่รุนแรง อาทิ การทุบตี หรือการต่อว่าอย่างรุนแรงด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย จริงอยู่การลงโทษลูกจะทำให้ลูกหยุดพฤติกรรมนั้นทันที หรือหยุดทำพฤติกรรมไม่นั้นเมื่ออยู่ต่อหน้าเรา แต่จะทำทันทีเช่นกันเมื่ออยู่ลับหลังเรา (แอบทำเมื่อสบโอกาส) ที่สำคัญ ลูก ๆ จะเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงของคุณพ่อคุณแม่ไปทำกับคนอื่นที่มีอำนาจน้อยกว่าได้

สิ่งที่ควรทำ คือ

  1. ถ้าไม่อยากให้ลูกทำพฤติกรรมที่ไม่ดี เราก็ควรสอนลูกว่าพฤติกรรมที่ดีควรทำเช่นไร
  2. ถ้าอยากให้ลูกทำอะไรให้บอกลูกตรง ๆ ไม่ใช่การประชดประชัน เพราะลูกจะรู้แค่ว่า “ไม่ให้สิ่งนั้น” แต่ลูกจะไม่รู้ว่า “ควรต้องทำอย่างไร

ขั้นที่ 3 : คุณพ่อคุณแม่ควรทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ทำมาแล้ว 2 ขั้น มาในขั้นนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ทำดังนี้ค่ะ

มีเวลาคุณภาพให้ลูกอย่างเพียงพอหรือไม่

ไม่ใช่ว่าอยู่กับลูกตลอดเวลา แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อยู่กับหน้าจอตลอดเวลาเหมือนกัน ไม่มีเวลาทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับลูกเลย

ครอบครัวได้ตั้งกติกา หรือจัดตารางเวลาไว้อย่างชัดเจนหรือเปล่า

หากครอบครัวไม่มีกติกา หรือกฎเกณฑ์ให้ลูกได้ปฏิบัติ เมื่อโตขึ้นมาเขาจะรับกับกติกาของสังคมไม่ได้ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งจะกลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจได้

มีใครให้ท้ายเด็กที่บ้านหรือเปล่า

ข้อนี้จะทำให้เด็กย่ามใจว่า “ไม่ว่าฉันจะทำผิดอะไร ก็มีคนคอยช่วยแน่นอน” เพราะฉะนั้นเด็กก็จะยังคงทำพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อไป

คุณพ่อคุณแม่เป็นต้นแบบที่ดีแล้วหรือยัง

เพราะลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เลียนแบบแม้กระทั่งความคิด

ขั้นที่ 4 : เมื่อลูกทำผิด ไม่ได้แปลว่าลูกเป็นเด็กไม่ดี

เพียงแต่สิ่งไม่ดีที่เขาแสดงออกมานั้นคือ “พฤติกรรม” ต่างหากค่ะ ไม่ใช่ “ตัวตน” ของลูก คุณพ่อคุณแม่บางคนรักลูกมากซะจนต้องออกมาปกป้องลูกทันทีเมื่อลูกทำผิด ไม่เชื่อว่าลูกตัวเองทำผิด “ไม่จริง ลูกฉันไม่ได้ทำอย่างนั้นแน่นอน ลูกฉันเป็นเด็กดี” ซึ่งความจริงแล้ว แทนที่จะช่วยแก้ไขพฤติกรรมลูก ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าทำผิดตรงไหน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำจะทำให้ลูกคิดว่า…

“ฉันเป็นคนดี ฉันทำอะไรก็ไม่ผิดหรอก เพราะฉะนั้นฉันจึงไม่มีอะไรที่จะต้องปรับปรุงตัว เด็กคนอื่นต่างหากที่ต้องปรับปรุงตัว”

…และท้ายสุดลูกก็จะเป็นเด็กที่ตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทำอะไรก็ถูกไปหมด ไม่มีอะไรที่ผิดพลาด

ในวันนี้ วันที่ลูกยังเล็ก ในวันที่เรายังสอนเขาได้ ความผิดแม้จะดูเบาบาง และเป็นเรื่องเล็กน้อยในสายตาคุณพ่อคุณแม่ แต่มันคือ โอกาสที่จะสอนให้ลูกได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ในสิ่งที่สังคมยอมรับ เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ขัดเกลาลูกเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อเขาโตขึ้น “สังคมจะขัดเกลาเขาเอง” ซึ่งอาจมีความรุนแรงมากกว่านี้ก็ได้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP