เทคนิคการฝึกสมองส่วนหน้า ที่มีส่วนสำคัญสำหรับทักษะ EF

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “EF หรือ Executive Function” กันมาบ้างใช่ไหมคะ? ซึ่ง EF นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ลูกประสบความสำเร็จและมีความสุขในการใช้ชีวิตได้ การที่ลูกจะมี EF ที่ดีได้ ต้องได้รับการฝึกค่ะ ซึ่งส่วนที่สำคัญเลยก็คือ “สมองส่วนหน้า” นั่นเอง

สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

  • สมองส่วนหน้านอกจากจะมีความสำคัญต่อการมี EF ที่ดี แล้ว สมองส่วนหน้ายังทำหน้าที่อื่น ๆ อีก ดังนี้
  • การควบคุมตนเอง (Inhibition)
  • Executive Function
  • สมาธิ (Attention)
  • Impulse Control
  • การเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคม
  • การวิเคราะห์ คิด และวางแผน
  • การแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
  • แต่ยังมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่าสมองส่วนหน้าจะสามารถพัฒนาได้เร็วและสูงสุดในช่วงวัยเด็ก ซึ่งความจริงแล้ว สมองส่วนหน้าสามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาจวบจนอายุ 20 ปี ปลาย ๆ เลยทีเดียวค่ะ

10 เทคนิคการฝึกสมองส่วนหน้า

การฝึกสมองส่วนหน้าของลูก สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

เล่นเกมจับคู่

เนื่องจากเกมจับคู่ต้องอาศัยการสังเกต การมีสมาธิ และการหาจุดเชื่อมโยงของภาพ ที่สำคัญยังได้อาศัยความจำในระยะสั้น ซึ่งความจำระยะสั้นจะเป็นการเริ่มต้นการใช้งานของสมองส่วนหน้าค่ะ


อยากช่วยลูกพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มีกิจกรรมอะไรสนุก ๆ และได้ความรู้บ้าง? แวะทางนี้ค่ะ เรามีกิจกรรมดี ๆ มาช่วยคุณแม่ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูกน้อย ทำได้ง่าย ๆ แม้อยู่บ้าน คลิกเลย

อ่านนิทาน

การอ่านนิทานไม่จำเป็นต้องอ่านให้ลูกฟังเฉพาะก่อนนอนเท่านั้นก็ได้นะคะ ในระหว่างวันหากคุณพ่อคุณแม่มีเวลาว่าง ก็สามารชวนลูกมาอ่านหนังสือนิทานด้วยกันได้ค่ะ เริ่มแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มอ่านให้ลูกได้เข้าใจเนื้อหาก่อน หลังจากนั้นชักชวนลูกให้อ่านด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการฝึกการเรียบเรียงเรื่องราวให้ลูกได้อีกด้วยคะ


แนะนำ 10 นิทานอีสป กับ 5 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ที่ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ ในช่วงเวลาที่ปิดเทอมยาวอย่างนี้ จะมีเรื่องอะไรบ้าง?

ให้ลูกฝึกคิดวิเคราะห์

เริ่มจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันก็ได้ค่ะ เช่น ทำไมตัวต่อมันหลุดง่าย ต่อไปใหม่ก็หลุดอีก แบบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังถึงสาเหตุก่อนว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะลูกไม่ได้กดลงไปให้สนิท จึงทำให้หลุดง่าย เป็นต้น เมื่อทำเช่นนี้บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ลูกจะซึมซับวิธีคิดเหล่านี้ไปจนโต และสามารถค่อย ๆ วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหาได้เอง

สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญค่ะ เพราะถ้าหากลูกไม่รู้ว่าที่ตัวเองกำลังรู้สึกอยู่นี้เรียกว่าอะไร ลูกก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเองได้ และไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ค่ะ

ให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเอง เคารพกติกาสังคม

เช่น บางคนอาจมีอาการหงุดหงิดกับการต้องต่อแถวนาน ๆ ไม่สามารถอดทนได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นกติกาและมารยาทของสังคม เรื่องของการแซงคิวเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้วยนะคะ

เล่นบทบาทสมมติ

การเล่นบทบาทสมมติจะทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่า อาชีพที่ลูกอยากทำในอนาคตนั้นต้องมีความรู้ด้านใดบ้าง ต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง เป็นต้น

มอบหมายงานบ้าน เพิ่มความรับผิดชอบ

ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เลยค่ะ ด้วยการมอบหมายงานที่ง่าย และเหมาะสมกับอายุ เพื่อเป็นการฝึกในเรื่องความรับผิดชอบ และฝึกเรื่องการแก้ปัญหาได้อีกด้วยค่ะ

ชวนวาดรูประบายสี

การวาดรูปและระบายสี เป็นการฝึกการคิดและการวางแผนว่าจะให้ส่วนไหนอยู่ตรงไหน เมื่อวาดเสร็จแล้วส่วนไหนจะใช้สีอะไร เพราะอะไร และใช้สีไหนเด่น เป็นต้น

ให้เวลาคุณภาพกับลูก

ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ครอบครัวต่างก็ต้องทำงานนอกบ้าน เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ออกจากบ้านแต่เช้ามืด กลับมาก็ดึกลูกหลับแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่าการให้เวลาคุณภาพกับลูก จะทำให้ลูกได้รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีตัวตนอยู่จริง การที่ลูกรับรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีตัวตนอยู่จริง จะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งการให้เวลาคุณภาพกับลูกใช้เวลาเพียง 10 – 20 นาทีเท่านั้น เล่นกับลูก พูดคุยกับลูก โดยที่ไม่มีหน้าจอเข้ามาเกี่ยวข้อง เท่านี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ

งดหน้าจอก่อน 3 ขวบ

เพราะของเล่นที่ดีที่สุดคือ “คุณพ่อคุณแม่” ค่ะ จริงอยู่หน้าจอจะทำให้ลูกเพลิน สนุก แต่ไม่สามารถกระตุ้นพัฒนาสมองส่วนหน้า ในส่วนของการคิดวิเคราะห์และการเติบโตทางความคิด หรือแม้จะถึงวัยที่สามารถเล่นหน้าจอได้แล้วก็ไม่ควรเล่นเกิน 1 ชั่วโมงต่อวันนะคะ

โดยรวมแล้วสมองส่วนหน้าจะเป็นส่วนของการคิดและวิเคราะห์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างสรรค์เกมหรือกิจกรรมเองได้นะคะ เพื่อให้เหมาะสมกับความชอบของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกได้ฝึกอย่างสนุกสนานค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP