หน้าจอไม่ว่าจะมือถือหรือไอแพด ให้ลูกใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัย พร้อมคำแนะนำ

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ด้วยความที่ยุคเป็นยุคดิจิทัล การเลี้ยงลูกจึงต้องเลี้ยงแบบคู่ขนานกันไป ลำพังจะไม่ให้เขารู้จักเรื่องของหน้าจอเลยก็คงไม่ได้ (เพราะบางโรงเรียนแม้ในระดับชั้นอนุบาลก็มีสอนคอมพิวเตอร์กันแล้ว) สำหรับโน้ตเอง โน้ตให้ลูกเล่นหน้าจอนะคะ เพียงแต่ว่า “เราต้องควบคุมลูกในการเล่นและเนื้อหาที่ลูกดูให้ได้” ไม่ใช่ให้หน้าจอเลี้ยงลูกแทนเรา และโน้ตก็ยังใช้เทคนิคในการสอนลูกเรื่องของหน้าจออีกมากมาย ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยในเรื่องนี้กันค่ะ

ช่วงวัยที่เหมาะสม

วัย 2 ขวบ

สำหรับเด็กวัยนี้ยังไม่ควรให้ลูกรู้จักกับหน้าจอค่ะ เพราะวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ รวมถึงเรื่องของสติปัญญา การสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมอื่น ๆ มาเล่นกับลูกค่ะ

วัย 3 – 5 ขวบ

วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงอนุบาลและกำลังจะจบจากชั้นอนุบาลเพื่อเข้าสู่ระดับชั้นประถมศึกษา การให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว ก็จะเป็นผลดีในแง่ของการเปิดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับลูก แต่จำกัดไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง และให้หากิจกรรมอื่น ๆ มาเสริมค่ะ เช่น เกมบอร์ดต่าง ๆ เกมตึกถล่ม ร้องเพลง หรือระบายสี เป็นต้น

วัย 5 – 18 ปี

ช่วงนี้เล่นได้เช่นกันค่ะ แต่ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง


การให้เด็กได้ดู “ยูทูป” นั้นมีประโยชน์จริงหรือ? แล้วรายการอะไรบ้างที่เหมาะกับเด็ก? เรามีคำตอบให้คุณแล้วค่ะ

ท่าทางขณะใช้งานหน้าจอ

เด็กหลาย ๆ คนมักจะนั่งใช้งานหน้าจอแบบผิดท่า เช่น เอาไอแพดวางกับพื้น หรือไม่ก็ยกไอแพดขึ้นมาแล้วเงยหน้าขึ้นดู

แต่ท่าทางที่ถูกต้องก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรวางไอแพดไว้บนโต๊ะ ให้ลูกนั่งที่เก้าอี้เหมือนนั่งทานข้าวประมาณนั้น และสำคัญที่สุดคือ ให้เว้นระยะห่างระหว่างสายตากับไอแพดประมาณ 1-2 ฟุต และควรให้ลูกพักสายตาอย่างน้อย 1-5 นาทีค่ะ

ตั้งค่าถนอมสายตา

ธรรมชาติของเด็กเขาจะชอบเข้าไปมองสิ่งนั้นใกล้ ๆ ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับไอแพด เด็กมักจะชอบจ้องใกล้ ๆ และเปิดแสงให้สว่างสุด จะได้มองเห็นชัด ๆ แต่…แสงที่ว่านี้จะทำอันตรายต่อดวงตาลูกได้ค่ะ ซึ่งวิธีที่จะช่วยถนอมสายตาลูกคือ

วิธีที่ 1 เปิด Night Shift Mode

  • เข้าไปที่ส่วนควบคุม (Control Center) แตะค้างที่ส่วนปรับสว่าง > กด Night Shift Mode หรืออีกวิธีคือ
  • เข้าไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ จอภาพและความสว่าง (Display and Brightness) ▶ แตะเปิด นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเวลาเปิด-ปิดได้อีกด้วยค่ะ

วิธีที่ 2 เปิดโหมดมืดหรือ Dark Mode ในที่แสงน้อย

ในส่วนของการปรับตั้งค่าของไอแพดจะมีโหมดที่ชื่อว่า Dark Mode หรือโหมดมืด ซึ่งโหมดนี้จะช่วยในเรื่องการถนอมสายตาให้กับลูกได้ โดยโหมดนี้จะเปลี่ยนสีพื้นหลังและธีมของแอปพลิเคชันจะเป็นโทนที่มืดดำทั้งหมด

วิธีที่ 3 ปรับความสว่างของจอภาพ

ความสว่างทีเหมาะสมของหน้าจอควรอยู่ที่ประมาณ 35-40% มี 2 วิธีง่าย ๆ คือ

  • เข้าไปที่ปรับเพิ่มและลดระดับแสงที่ควบคุม (Control Center) หรือ
  • ไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ การช่วยการเข้าถึง (Accessibility) ▶ จอภาพและขนาดข้อความ (Display & Text Size) ▶ เปิดลดแสงขาว ▶ ปรับแสงตามความเหมาะสม

จำกัดการใช้งานหน้าจอ

ในไอแพดจะมีกาฟีเจอร์ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถจำกัดการใช้งานของลูกได้นะคะ

เวลาหน้าจอ (Screen Time)

ไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ เวลาหน้าจอ (Screen Time) ▶ เวลาไม่ใช้งาน (Downtime) ▶ แตะเปิดเวลาที่ไม่ใช้งาน ▶ กำนดเวลาที่ห้ามให้ลูกใช้งาน

จำกัดการใช้งานของแอปพลิเคชัน

ไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ เวลาหน้าจอ (Screen Time) ▶ การจำกัดการใช้แอป (App Limits) ▶ เพิ่มการจำกัด (Add Limit) ▶ เลือกหมวดหมู่แอปฯ ที่ต้องการจำกัด ▶ เลือกเสร็จแล้วให้แตะเพิ่ม

การจำกัดเนื้อหาและความเป็นส่วนตัว

ไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ เวลาหน้าจอ (Screen Time) ▶ จำกัดเนื้อหาและความเป็นส่วนตัว (Content & Privacy Restrictions) ▶ เลือกตั้งค่าการจำกัดเนื้อหาและความเป็นส่วนตัวที่ต้องการเลยค่ะ

แต่หากคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกจะไปเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าที่เราตั้งเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถตั้งรหัสเวลาหน้าจอ (เหมือนกับการตั้งรหัสเข้าเครื่อง) ได้อีกด้วยค่ะ

ไปที่ตั้งค่า (Setting) ▶ เวลาหน้าจอ (Screen Time) ▶ ตั้งรหัสผ่าน (Use Screen Time Passcode) ▶ ตั้งรหัสผ่าน 4 หลัก และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

เลือกแอปพลิเคชันให้เหมาะกับลูก

แอปพลิเคชันที่โน้ตเลือกให้ลูกดูคือ “ยูทูปคิดส์ (Youtube Kids)” ค่ะ แต่ต้องบอกก่อนว่าแม้จะเป็นยูทูปคิดส์

เนื้อหาของบางช่องก็ไม่ได้เหมาะสำหรับเด็กในทุกช่องนะคะ เช่น ตัวละครแอนิเมชันก็จริง แต่ลักษณะชอบแกล้งเพื่อนแล้วมานั่งหัวเราะกัน หรือบางช่องก็เป็นการเล่นซ่อนแอบ แต่หาตั้งนานแล้วหาไม่เจอ จึงใช้ไฟพ่นให้บ้านร้อน เพื่อให้เพื่อนออกมา เป็นต้น

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรนั่งดูไปกับลูกเพื่อเป็นการสกรีนช่องต่าง ๆ ไปในตัว ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าช่องไหนที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม สามารถเข้าไปบล็อกช่องนั้น หรือจะเลือกบล็อกเฉพาะบางตคลิปก็ได้ค่ะ


จะให้ลูกดู Youtube ดีไหมนะ? จะมีวิธีไหนไหมที่แม่ลูกจะพบกันครึ่งทาง? แวะทางนี้กับ 6 วิธีเลี้ยงลูก บอกลูกก่อนให้ดู Youtube แม่ทำได้ ลูกก็ทำได้แน่นอนค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP