เทคนิคสอนลูกให้ฟัง โดยที่แม่ไม่ต้องตะคอก

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ตัวแสบประจำบ้าน” คงไม่ใช่ใครทีไหนก็ลูกของคุณพ่อคุณแม่เองใช่ไหมคะ แต่เพราะความแสบจนบางครั้งก็กลายเป็นความดื้อ ที่ทำให้บางครั้งเวลาที่คุณแม่สอนอะไรก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยฟัง ทำให้คุณแม่ต้องตะโกนหรือตะคอกใส่ลูกด้วยความโมโห แต่รู้หรือไม่ค่ะว่าการที่คุณแม่ตะคอกใส่ลูกนั้นยิ่งจะทำให้ลูกไม่ฟังคุณแม่มากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นก่อนจะสอนลูกหรือจะพูดอะไรกับลูก คุณแม่ควรตั้งสติ แล้วทำดังนี้ค่ะ

เทคนิคที่จะทำให้ลูกฟัง โดยที่แม่ไม่ต้องตะคอก

ย่อตัวให้อยู่ในระดับเดียวกับลูก

ข้อนี้เรียกได้ว่าเป็นเรื่องของ “จิตวิทยาท่าทาง” ก็คงจะไม่ผิดนัก โดยทุกครั้งเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะพูดหรือจะสอนอะไรกับลูก ให้ย่อตัวนั่งลง เพื่อให้อยู่ในระดับสายตาของลูก เพราะ “ดวงตา” เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลัง เป็นส่วนที่สามารถบอกความรู้สึกได้ดีที่สุด ใช้ดวงตาสื่อสารกับลูกขณะพูด ให้ลูกได้รู้ว่า “สิ่งที่คุณแม่พูดนั้นเป็นเรื่องสำคัญ” และที่สำคัญการที่คุณแม่ย่อตัวลงให้อยู่ระดับเดียวกันกับลูกแทนการที่คุณแม่ยืนและก้มหัวลงเพื่อสื่อสารกับเค้า ก็เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกว่า “เค้ากำลังถูกสั่งมากกว่าการสอนด้วยความรัก ความห่วงใย

เรียกชื่อลูกระหว่างพูดกับลูก

การเรียกชื่อลูกก็เพื่อทำให้ลูกรู้สึกว่า “นี่คือเรื่องส่วนตัว” และ “นี่ก็คือเรื่องของเค้า” เป็นเรื่องที่เค้าต้องตั้งใจฟัง ไม่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

ใช้น้ำเสียงและท่าทีที่อ่อนโยน นุ่มนวล

ตั้งสติ” คำนี้คุณพ่อคุณแม่คงได้ยินกันบ่อย เข้าใจค่ะว่ามันอาจทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างในช่วงแรก แต่…ต้องทำค่ะ ที่บอกว่าต้องตั้งสติก็เพราะว่า การระเบิดอารมณ์ตะคอกใส่ลูก มันก็จะเข้าอีหรอบเดิม ลูกก็จะไม่ฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอน

กลับกันหากคุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งสติได้ สูดหายใจลึก ๆ แล้วเขาไปพูดกับลูกด้วยท่าทีและน้ำเสียงที่อ่อนโยน ทว่ามั่นคง ให้ลูกรู้ว่าเราพูดตามไหน ตามนั้น พูดจริง ทำจริง ลูกก็จะเรียนรู้ได้เองค่ะว่าแม้คุณพ่อคุณแม่จะใช้น้ำเสียงอย่างนี้ก็ตาม แต่ก็จริงจังนะ

พูดให้กระชับ ใช้คำง่าย ๆ

เพราะสมาธิเด็กยังสั้น การที่คุณพ่อคุณแม่จะสอนหรือจะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้ลูกฟัง ควรพูดให้กระชับ ไม่ยืดยาว และพูดให้ตรงประเด็นไปเลย ไม่อย่างนั้นลูกจะสติหลุดและจะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการสื่อสารได้

ตั้งใจ และเปิดใจฟังในสิ่งที่ลูกพูด

ในระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่ย่อตัวลงให้อยู่ในระดับเดียวกับลูกนั้น การสื่อสารจะไม่ได้เป็นไปแบบทางเดียวอีกต่อไป คุณพ่อคุณแม่ควรเว้นวรรคเพื่อให้ลูกได้อธิบาย พร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ก็ควรเปิดใจฟังในสิ่งที่ลูกพยายามอธิบายด้วยนะคะ ลองมองจากมุมของลูกดู ซึ่งที่สำคัญ ลูกเพิ่งโตมาไม่กี่ปีเอง ประสบการณ์ลูกยังน้อย อีกทั้งยังไม่รู้วิธีการจัดการในอะไรหลาย ๆ อย่าง บางครั้ง การที่คุณพ่อคุณแม่เปิดใจฟังลูกด้วยความเข้าใจ และไม่คาดหวัง เราอาจได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ จากลูกก็ได้นะคะ

พูดในแง่มุมที่แสดงความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่

อาทิ “แม่เสียใจที่หนูแกล้งเพื่อนนะคะ” ซึ่งเป็นการบอกให้ลูกรู้ว่าการกระทำแบบนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนอื่น รวมถึงความรู้สึกของคุณแม่ด้วย การพูดแบบนี้จะทำให้ลูกรับรู้ความรู้สึกและเค้าจะเข้าใจได้มากกว่าการที่จะบอกว่า “ลูกทำผิด” ค่ะ

หรือ…จะพูดอย่างนี้ก็ได้ค่ะ เช่น “แม่ไม่อยากให้หนูทุบประตู เพราะแม่ไม่อยากให้มือหนูเจ็บ ถ้าหนูเจ็บ แม่ก็เจ็บ และเสียใจเหมือนกัน

แสดงให้ลูกรู้ว่าคุณเข้าใจ ด้วยการทวนคำพูดของลูก

เวลาที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูก ก่อนที่จะจบการสอน คุณพ่อคุณแม่ต้องทวนความเข้าใจลูก ด้วยการให้ลูกพูดทวนก่อนใช่ไหมค่ะ แบบนี้ก็เช่นกันค่ะ เมื่อลูกพูดจบให้คุณพ่อคุณแม่พูดทวนในสิ่งที่ลูกสื่อสารกับเรา ด้วยการพูดทวนเช่นกัน สิ่งนี้จะทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจฟังเค้า และเข้าใจเค้าจริง ๆ

จะเห็นได้ว่าการที่อยากให้ลูกฟังคุณพ่อคุณแม่นั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องฟังลูกด้วยเหมือนกัน และที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ไม่หัวร้อน เผลอตะคอกใส่ลูก เพราะการตะคอกเท่ากับการตีเลยทีเดียวค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP