ลูกชอบแก้ตัว ชอบโกหก ทำอย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

คงเป็นความสุขหากลูกน้อยมีเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องดี ๆ มาเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ได้ฟัง ได้ภูมิใจ แต่คงจะเป็นเรื่องเศร้ามากหากเรื่องต่าง ๆ ที่ลูกเล่านั้นเป็นเรื่องโกหก แต่มันจะเป็นเรื่องง่ายมาก หากวันนี้คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ก่อนว่า “เพราะอะไร” ลูกถึงโกหก และรู้ถึง “วิธีแก้ไข

เพราะอะไรลูกชอบแก้ตัว ชอบโกหก

สาเหตุที่เด็กมักจะโกหก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุ ดังนี้

แยกไม่ออกระหว่างจินตนาการและความจริง

เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง เป็นวัยที่ไร้เดียงสา เขายังแยกไม่ออกว่าเรื่องไหนคือ เรื่องจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เขาไม่ได้เจตนา

โกหกเพื่อเลี่ยงในสิ่งที่ไม่อยากทำ

ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่ลูกตั้งใจจะโกหก เช่น หนูล้างมือเรียบร้อยแล้ว ซึ่งความจริงแล้วเขาอยากจะกินขนมเร็ว ๆ ไม่อยากล้างมือแล้ว (เพราะใจไปจดจ่ออยู่ที่ขนมเรียบร้อย)

โกหกเพื่อเลี่ยงการถูกลงโทษ

โดยมากมักจะเห็นจากเรื่องของการทำการบ้าน เช่น “หนูทำการบ้านเสร็จแล้ว” เป็นต้น เพราะเขากลัวว่าถ้าเขาไม่ทำการบ้าน แล้วถ้าแม่รู้เขาจะถูกต่อว่าได้ (ซึ่งเขาลืมไปว่าเรื่องนี้คุณแม่สามารถเช็คได้ไม่ยาก)

การโกหกของแต่ละช่วงวัย

การโกหกของเด็กวัยหัดเดิน และวัยก่อนเรียน (อายุ 2 – 4 ขวบ)

  • วัย 2 – 3 ขวบ : เด็กในวัยนี้จะเริ่มมีทักษะในการพูดมากขึ้น เริ่มรู้จักคำศัพท์มากขึ้น แต่ลูกน้อยจะยังไม่รู้จักว่าสิ่งไหนคือความจริง ความฝัน จินตนาการ ความกลัว หรือความปรารถนาของตัวเอง ซึ่งอยู่มาวันหนึ่ง คุณแม่อาจจะได้ยินลูกพูดว่า “สีเมจิกหนูหาย พี่ขโมยสีหนูไปเมื่อวาน” ทั้ง ๆ ที่เมื่อสักครู่คุณแม่เพิ่งเห็นลูกนั่งระบายสีอยู่เลย ส่วนพี่ก็ไม่ได้อยู่บ้าน เด็กวัยนี้เขายังไม่พร้อมที่จะถูกลงโทษจากการโกหก ดังนั้น ให้คุณแม่ตอบสนองลูกเชิงบวกด้วยการพูดว่า “ที่มือหนูเลอะสีอะไรคะ” แบบนี้เป็นต้น เพราะบางครั้งอาจมีสิ่งของที่มาทับกล่องสีเมจิก ทำให้ลูกมองไม่เห็น ลูกก็จะสรุปได้ว่าสีหาย

    นอกจากนี้ คุณแม่อาจค่อย ๆ สอนลูกให้พูดความจริงด้วยการหาหนังสือนิทานที่เกี่ยวกับการพูดความจริง และผลของการพูดความจริง หรือแม้กระทั่งผลของการพูดโกหก มาให้ลูกได้ฟังก็ได้ค่ะ

  • วัย 4 ขวบ : วัยนี้เป็นวัยที่มีการปฏิเสธและการโกหกที่ชัดเจนด้วยคำว่า “ไม่” เช่น “หนูทำจานแตกหรือเปล่าคะ” เป็นต้น ซึ่งถ้าลูกโกหก คุณแม่ควรอาศัยเวลานี้พูดคุยถึงผลเสียจากการที่ลูกโกหก และควรทำทันทีที่ลูกพูดโกหก อย่ากังวลแม้ว่าจะต้องคุยกันยาว พร้อมกับอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดความจริง

การโกหกของเด็กวัยเรียน (อายุ 5 – 8 ขวบ)

เด็กในวัยนี้การโกหกมักจะเป็นการโกหกที่มากขึ้น เพื่อทดสอบว่ามีเรื่องไหนบ้างที่จะทำให้เขารอดพ้นจากการถูกจับผิดหรือจับได้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียน คุณครู การบ้าน และเพื่อน โดยมากสาเหตุที่ลูกต้องโกหกก็เนื่องมาจากการที่มีกฎระเบียบและมีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก เช่น “วันนี้หนูทำการบ้านเสร็จตั้งแต่ที่โรงเรียนแล้ว ส่งครูแล้ว” ซึ่งสิ่งที่ลูกพูดมาเป็นสิ่งที่เราจะสามารถสืบกลับได้ไม่ยาก

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีความช่างสังเกตอยู่มาก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูก พร้อมกับสอนลูกไปด้วย เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับเขา

การโกหกของเด็กก่อนวัยรุ่น (อายุ 9 – 12 ขวบ)

เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาในเรื่องของ “ความน่าเชื่อถือและมโนธรรม” ของตัวเอง เขาจะรู้สึกไวต่อผลกระทบจากสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป รวมถึงรู้สึกผิดหลังจากที่ตัวเองพูดโกหก

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ในบางครั้งอาจมีบางสถานการณ์ที่อาจจะมีความจำเป็นต้องโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นการรักษามารยาท และแสดงความมีน้ำใจออกมา สิ่งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจเช่นกัน เช่น ถ้าเพื่อนมีขนมมาแจกที่โรงเรียนเนื่องในวันเกิดเขา แต่หนูไม่ชอบขนมนั้น การปฏิเสธที่จะไม่กินขนมก็ดูจะเป็นการไม่รักษาน้ำใจเกินไป หนูควรกินและกล่าวขอบคุณ คราวหน้าหนูก็จะได้รับแจกขนมอีก

สนับสนุนให้ลูกพูดความจริง

การปรับพฤติกรรมลูกให้ลูกพูดแต่ความจริง ทำได้ไม่ยากค่ะ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ “รู้” ว่าควรทำอย่างไร ดังนี้

เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก

โดยเฉพาะในเรื่องของการพูดความจริง กล้าทำกล้ารับ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ห้ามลงโทษ ไม่ดุด่าลูก เมื่อเขาตัดสินใจบอกความจริง

แม้ว่าในช่วงแรกลูกจะโกหก แล้วมายอมสารภาพในภายหลัง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุด่า หรือลงโทษลูกเด็ดขาด เข้าใจค่ะว่าในมุมของคนที่เป็นพ่อแม่นั้นอาจเสียใจอยู่บ้างที่ลูกโกหก แต่ให้คิดอย่างนี้ค่ะว่า เพื่ออนาคตระยะยาว ถ้าเราไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กโกหก คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น และค่อย ๆ สอนเขาด้วยเหตุผลที่ถูกต้องจะดีที่สุด

ไม่กล่าวหาลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้อธิบาย

อย่าเพิ่งคิดไปก่อนว่าลูกต้องโกหกเราแน่ ๆ แบบนี้จะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกโมโหมากขึ้น เตรียมตั้งป้อมดุลูกแล้ว ซึ่งมันจะยิ่งส่งผลเสียมากขึ้นไปอีก ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ ถามลูกด้วยท่าทีและน้ำเสียงที่อ่อนโยน สอบถามลูกถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรหนูถึงโกหก พร้อมกับเปิดหู เปิดใจรับฟังลูก เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจในความคิดของลูกมากขึ้น คราวนี้ก็จะปรับพฤติกรรมลูกได้ไม่ยากค่ะ

แม่โน้ต

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เปิดใจรับฟังเขา เขาจะรู้สึกได้และก็จะเปิดใจรับฟัง เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่เช่นกันค่ะ

ไม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกบังคับให้สารภาพ

ไม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาคือ ผู้ต้องหาที่กำลังถูกไต่สวน ถูกบังคับให้ต้องพูด แบบนี้เขาจะยิ่งป้องกันตัวด้วยการโกหกซ้ำอีก เพื่อให้ตัวเองรอดพ้นจากการถูกทำโทษค่ะ

การที่ลูกโกหกเพียงเพราะเขาไม่ต้องการให้ตัวเองถูกต่อว่าหรือดุด่าจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ให้เราเชื่อมั่นในตัวลูกค่ะ ว่าลูกเราเป็นเด็กดี เพียงแต่ที่เขาโกหกไปนั้นเกิดจาก “ความกลัว” และ “ความไม่รู้” เท่านั้นเองค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP