เทคนิคการปรับความคิดและขั้นตอนเพื่อเข้าใจลูก

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เคยไหมคะที่บอกให้ลูกวางจากเกมหรือมือถือที่อยู่ตรงหน้าก่อน แต่ลูกกลับสวนมาด้วยอารมณ์รุนแรงว่า “ไม่!” คุณแม่ก็พูดกับลูกกลับไปด้วอารมณ์โมโหเช่นกัน เกิดการเสียงดัง เกิดการทะเลาะกัน สัมพันธภาพระหว่างลูกกับคุณแม่ก็จะมีแต่แย่ลง จะดีกว่าไหมคะหากผู้ใหญ่จะมานั่งทบทวนแล้วค่อยคิดหาทางออก โดยมีเป้าหมายว่า “คุณพ่อคุณแม่ก็ยังสามารถสั่งสอนลูกได้ด้วย สัมพันธภาพก็ยังดีอยู่ด้วย

เทคนิคการปรับความคิดและขั้นตอนเพื่อเข้าใจลูก

ขั้นที่ 1 มองและฟังลูกโดยที่เราไม่ต้องตัดสินอะไรในตัวเขา

เช่น ลูกไม่อยากปิดเกม เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นแบบนั้น ก็อย่างเพิ่งตัดสินลูกว่าลูกติดเกม หรือไม่มีความรับผิดชอบนะคะ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ตัดสินลูกก่อนแล้ว จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ตอบโต้กลับ…มากกว่าที่จะเข้าไปนั่งในใจลูก ไปดูความรู้สึกของลูกค่ะ

ขั้นที่ 2 ประเมินความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้นของลูก

ถ้าลูกมีท่าทางแขนขาที่เกร็ง พร้อมกับเสียงตะโกนมาว่า “ไม่!” รวมทั้งมีการกระแทกโต๊ะดังปัง! นั่นแปลว่าคงไม่ใช่ความโกรธที่ธรรมดาแน่นอน ต้องเป็นอะไรที่โกรธเอามาก ๆ ซึ่งการมองเห็นอารมณ์ของลูก และประเมินได้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจยอมรับอารมณ์ของลูกได้นั่นเองค่ะ

ขั้นที่ 3 เข้าไปนั่งในใจลูก ไปอยู่ในความรู้สึกร่วมกับลูก (Empathy)

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตั้งสติ วางอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว อยากให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ในอารมณ์โกรธของลูกนานสักหน่อย แล้วลองจินตานาการดูว่าเราเป็นลูก และพยายามค้นหาดูว่า “อะไรเป็นเหตุที่จะทำให้เราโกรธได้มากขนาดนี้

เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นไหมคะ ปัจจัยที่ทำให้ลูกโกรธสุด ๆ คงไม่ใช่การห้ามในครั้งนี้แน่นอน แต่ลูกได้สะสมความโกรธที่ไม่ว่าจะเป็นจากการตี ถูกตีตราว่าขี้เกียจ ติดเกม ถูกตำหนิซ้ำ ๆ ว่าไม่มีความรับผิดชอบ ลูกอาจรู้สึกเศร้าที่ถูกคุณพ่อคุณแม่ดุบ่อย โกรธบ่อย และไม่ได้ช่วยเขาแก้ปัญหาอย่างใจเย็น ความเสียใจและน้อยใจจึงแปรเปลี่ยนมาเป็นความโกรธที่รุนแรงได้

ขั้นที่ 4 ยอมรับความรู้สึกของลูก พร้อมบอกลูกว่า “พ่อแม่เข้าใจ”

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของลูกแล้ว ความผูกพันธุและความเชื่อมโยงทางใจของกันและกันก็จะทำงาน ลูกจะมองคุณพ่อคุณแม่ในแง่ร้ายน้อยลง ทำให้ลูกเปิดโอกาสที่จะพูดคุยกันมากขึ้นค่ะ

ตัวอย่างคำพูด

“หนูโกรธแม่ที่แม่ไม่เคยฟังหนูเลยใช่มั้ยลูก”

“ที่หนูตะโกนเสียงดังเพราะหนูโกรธแม่ในหลาย ๆ เรื่องใช่ไหมคะ ทั้งเรื่องเล่น เรื่องเรียน”

แต่น้ำเสียงและท่าทางไม่ควรแฝงด้วยความโกรธ เจือความตึง ๆ นะคะ แต่ควรเป็นน้ำเสียง ท่าทาง และสายตาที่อ่อนโยน ลูกจะรู้สึกปลอกภัย อุ่นใจ และมั่นใจว่าคราวนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มาต่อว่าเขาเพิ่ม สิ่งนี้จะทำให้ลูกกล้าที่พูดระบายความอัดอั้นออกมา แต่ถ้าลูกยังไม่กล้าพูด แสดงว่าลูกยังไม่มั่นใจว่าคุณพ่อคุณแม่จะรับฟังเขาอย่างเปิดใจจริง ๆ

แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังไม่ต้องเร่งลูกนะคะ ถึงแม้วันนี้ลูกอาจจะไม่ยอมเปิดใจ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ทำตามขั้นตอน 1-4 ในทุก ๆ ครั้งที่ลูกโกรธ ทำซ้ำจนลูกเริ่มมั่นใจว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขาและยอมรับฟังเขาจริง ๆ รู้สึกปลอดภัยจริง ๆ วันนั้นเขาก็จะยอมพูดระบายออกมาเองค่ะ

ขั้นที่ 5 ชวนลูกมาคิดหาทางออกร่วมกัน

หากคุณพ่อคุณแม่สามารถผ่านขั้นตอนที่ 4 มาได้แล้ว (ลูกยอมเปิดใจพูดแล้ว) มาขั้นตอนนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกมาคิดหาทางออกร่วมกัน ให้ลูกได้รับรู้ถึงความเป็นเจ้าของเรื่อง คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งคิดเองแล้วให้ลูกปฏิบัติเท่านั้น ลองฟังความเห็นของลูกก่อน แล้วค่อย ๆ เกลาให้ได้ข้อสรุปที่รับได้ทั้งสองฝ่าย

เรื่องของการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะหนึ่งชีวิตที่เกิดมาเขาก็มีความคิด มีความรู้สึก และมีอารมณ์ได้เหมือนผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเป็นเด็กที่อ่อนโยน เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างที่คุณพ่อคุณแม่พยายามทำอยู่นี้ ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้นะคะ

อ้างอิง
คุณหมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก ThaiPBSKids

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP