ถ้าบังเอิญมีวันหนึ่งที่ลูกของคุณกลับมาที่บ้านแล้วดูมีอาการแปลกไป ถ้าได้ลองถามถึงกิจกรรมว่าไปทำอะไรที่เหนื่อยล้ามาหรือไม่แล้วคำตอบก็คือไม่ แถมยังมีอาการซึมๆ สภาพร่างกายดูอ่อนเพลีย รวมไปถึงในบางครั้งอาจจะมีเสื้อผ้าขาดบ้าง ข้าวของอุปกรณ์การเรียนอาจจะพังหรือหายไปและหน้าตาดูแปลกไป นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะเชื่อลูกได้ทั้งหมดคุณต้องสังเกตอาการต่างๆ ของลูกให้ดีเพราะมันอาจจะเป็นการที่ลูกถูกรังแกมาจากโรงเรียนหรือนอกบ้านก็เป็นได้
และเหตุผลที่ลูกไม่บอกหลักๆ แล้วนั้นเด็กๆ อาจจะเกิดความกลัวนั่นเอง กลัวคนที่มาทำร้ายว่าถ้าบอกไปแล้วจะมีปัญหาไปยิ่งกว่าเดิมหรือไม่นั่นเองซึ่งถ้าดำเนินมาจนถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเร่งเข้าไปปกป้องลูกของคุณกันได้แล้ว
แต่ก็คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องตกใจไปเพราะปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีมานานและแม้สังคมต้องการแก้ไขขนาดไหนทุกอย่างก็ดูจะยังไม่สำเร็จดังนั้นทางที่ดีที่สุดนั่นก็คือเริ่มป้องกันที่ลูกของพวกคุณกันก่อนดีกว่าให้มีภูมิต้านทานและสามารถเอาตัวรอดกับเรื่องเหล่านี้ได้
สารบัญ
วิธีรับมือกับปัญหาลูกถูกรังแก
1.พูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจ
อาจจะเริ่มจากการตั้งคำถามด้วยความใจเย็น ไม่คาดคั้นและค่อยๆ ถามไปเรื่อยๆ เพื่อถ้าบ้างจุดอาจจะไปโดนจุดที่ลูกยังกลัวที่จะตอบเราก็อาจจะค่อยๆ อ้อมถามเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อให้ลูกเกิดความอุ่นใจว่าคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจเขาอย่างจริงใจและสามารถไว้ใจคุณได้นั่นเอง
ตัวอย่างคำถามเช่น มีใครที่โรงเรียนรังแกลูกหรือเปล่า, ลูกมีเพื่อนสนิทที่โรงเรียนบ้างไหม เขาเป็นใคร, มีใครที่โรงเรียนที่ลูกไม่ชอบบ้าง ทำไมถึงไม่ชอบเขา เขารังแกหนูหรือเปล่า เป็นต้น
2.เข้าไปสอบถามพูดคุยกับคุณครูและอาจารย์
เข้าไปสอบถามเพื่อจะได้เห็นสภาพแวดล้อมจริงและเข้าไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณครูมักจะรู้เห็นรายละเอียดที่โรงเรียนได้ดีกว่าเราเสมอ อาจจะถามถึงความสัมพันธ์ของลูกกับเพื่อนๆ และคนรอบตัว สอบถามถึงการใช้เวลาว่างของลูกที่โรงเรียนว่ามีกิจกรรมอะไรให้ทำบ้างหรือลูกมีความสนใจอยากจะทำกิจกรรมใดบ้าง และอย่าลืมที่จะเล่าถึงความสงสัยที่คิดว่าลูกอาจจะถูกรังแกพร้อมทั้งบอกถึงเหตุผลต่างๆ ให้คุณครูได้รับทราบเอาไว้อีกด้วย
สิ่งที่ควรทำเมื่อรับรู้ว่าลูกถูกรังแก
แสดงความเห็นอกเห็นใจลูก
กว่าที่เด็กๆ จะมีความกล้าเล่าให้คุณฟังนั้นต้องใช้ความกล้าเป็นอย่างมากเพราะเด็กๆ กลัวการถูกมองว่าเป็นคนขี้ฟ้อง ดังนั้นถ้าเขากล้าที่จะเอ่ยปากเล่าออกมาแล้วนั้นคุณควรแสดงให้เขาเห็นว่าคุณดีใจที่เขากล้าเล่าและมีความเห็นใจเขาเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับลูกของคุณได้
ไม่สอนให้ลูกโต้ตอบโดยใช้กำลัง
ถ้าจะสอนให้ต่อยคืนคุณควรหันมาสอนให้คุมสติได้จะดีกว่า เพื่อที่จะเป็นการสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ตอนนี้เมื่อเขาเห็นว่าการคุมสติมันมีผลดีอย่างไรแน่นอนว่าเขาก็จะยึดถือทำสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน
แจ้งข่าวกับทางโรงเรียนไว้
ให้คุณครูช่วยดูแลเป็นพิเศษเมื่อคุณพบแล้วว่าลูกถูกรังแกจริงๆ เพื่อให้คุณครูช่วยสังเกตพร้อมทั้งสั่งสอนคนที่มาแกล้งลูกอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ทำอะไรที่เกินเหตุเกินอารมณ์จนเกินไปนั่นเอง
สร้างความมั่นใจให้กับลูก
ช่วยสนับสนุนลูกให้เขาหันหน้าไปหากิจกรรมที่เขาชอบกันดีกว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมและเติมเต็มช่องว่างในจิตใจของเขา เมื่อเขาได้เจอกับกิจกรรมที่ใช่แล้วนั้นก็จะไปสนใจกับสิ่งเหล่านั้นไม่เอาตัวมาผูกติดอยู่กับการกลัวการโดนกลั่นแกล้งนั่นเอง
พาลูกไปพบปะเจอสังคมและเพื่อนใหม่ๆ
อาจจะเป็นผลมาจากข้อข้างบนที่พาลูกไปทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะทำให้ลูกได้เจอสังคมใหม่ๆ และนี่อาจจะเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นใจและพัฒนาการทักษะด้านการเข้าสังคมที่ดีให้กับลูกได้อีกด้วย
แน่นอนว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสรับรู้ว่าลูกของตนเองถูกกลั่นแกล้งนั้นยอมมีความวิตกกังวลต่างๆ ตามมาอย่างมากมายแน่นอน แต่สิ่งที่คุณควรมีไว้เสมอนั่นก็คือสติและเหตุผลเพื่อที่จะสามารถเข้าใจว่ามันเป็นวัยและธรรมชาติของเด็กๆ แต่ในความเข้าใจนั้นคุณก็ยังสามารถเข้าไปปกป้องเขาในขอบเขตที่ถูกต้องและเหมาะสมได้อีกด้วย