ลูกสะอึก เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีแก้อย่างแม่มือโปร?

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เมื่อเห็นลูกน้อยสะอึกทุกครั้งหลังให้นมอาจเกิดความกังวล และไม่รู้ว่าลูกสะอึกด้วยสาเหตุใด? และที่สำคัญกว่านั้นคือ จะรับมือหรือจะแก้ไขปัญหาให้ลูกได้อย่างไรดี วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแนะนำค่ะ

ลูกสะอึก เกิดจากสาเหตุใด?

คุณพ่อคุณแม่อาจเจอเหตุการณ์ที่ว่าลูกกินนมเสร็จ ผ่านไปไม่ถึง 5 นาทีลูกก็สะอึกแล้ว ลูกสะอึกบ่อยจนทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวล สำหรับเรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลมากไปก็ได้ค่ะ เพราะถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยกินนมเสร็จ

การสะอึกเกิดจากการขยายตัวของกระเพาะอาหาร เนื่องจากนมที่กินเข้าไป เมื่อกระเพาะเกิดการขยายตัวมันก็จะเกิดแรงดันที่กล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอด และช่องท้อง กล้ามเนื้อกระบังลมจึงหดตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่ลูกน้อยหายใจออก จึงส่งผลให้ลูกสะอึกนั่นเอง ซึ่งอาการนี้จะค่อย ๆ ลดลงและหายไปเอง เมื่อลูกอายุได้ 4-5 เดือนค่ะ

วิธีรับมือ ลูกสะอึก

วิธีรับมือลูกน้อยสะอึก สามารถทำได้ ดังนี้

จับลูกนั่งเพื่อเรอ

หลังจากที่ลูกน้อยกินนมแล้วทุกครั้ง ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูกเรอทุกครั้ง หรือบางคนอาจใช้วิธีให้ลูกกินแล้วครึ่งหนึ่งก็จับเรอ เพื่อไล่ลมก่อน แล้วค่อยมากินต่ออีกครึ่งก็ได้ค่ะ วิธีการก็คือ ให้ลูกนั่ง แล้วคุณแม่ตบหลังลูกเบา ๆ หรือใช้การวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้องก็ได้เช่นกัน

อุ้มลูกให้เรอ

ซึ่งวิธีที่นิยมทำกันเช่น การอุ้มลูก โดยให้ส่วนหัวของลูกวางที่ไหล่ของคุณแม่ แล้วคุณแม่ก็ลูกหลัง เน้นให้ลูกตัวตั้งไว้ หรือจะอุ้มลูกเดินไปเดินมาสักพัก เพื่อให้นมไหลออกจากกระเพาะอาหารได้เร็วยิ่งขึ้น

ให้ลูกนั่งตัก มือประคองคาง

หลังลูกกินนม ให้ลูกนั่งตัก คุณแม่เอามือประคองส่วนคาง และคอของลูกน้อยไว้ ให้ตัวลูกเอนไปด้านหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มือลูบหลังเบา ๆ ช้า ๆ โดยลูบจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ ทำวนไปจนกว่าลูกจะเรอ

ให้ลูกดูดนมแม่

หากลูกกินนมแม่แล้วสะอึก สามารถให้ลูกกินนมแม่ซ้ำได้ค่ะ หรือถ้าเป็นกรณีที่ลูกกินนมผง สามารถแก้ได้ด้วยการให้ลูกกินนมจากขวดซ้ำ ก็สามารถแก้ไขอาการได้เช่นกัน

ลูกสะอึกแบบไหน ควรพบแพทย์

จริงอยู่แม้ว่าการสะอึกของลูกน้อยอาจไม่ใช่อันตราย แต่ถ้าคุณแม่พบว่าลูกน้อยสะอึกนานเป็นชั่วโมงแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่หายสักที คุณแม่ต้องสังเกตอาการเพิ่มเติมนะคะ หากมีอาการดังนี้ที่ควบคู่ไปกับการสะอึก ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

  • มีไข้สูง
  • ปวดท้อง (สังเกตได้จากลูกร้องไห้ และบิดตัวไปมา)
  • อาเจียน
  • ไอ
  • หายใจเหนื่อยหอบ

ลูกสะอึก ไม่ควรทำสิ่งนี้

เข้าใจค่ะว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่พยายามทำทุกวิถีทางแล้วที่จะแก้อาการสะอึกให้ลูก ซึ่งลูกก็ยังไม่หายสักที แต่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็น ๆ แล้วตั้งสติกันสักนิดค่ะ และห้ามทำสิ่งเหล่านี้ เด็ดขาด

  • ให้ลูกกินนมเปรี้ยว หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด
  • กดลูกตาแรง ๆ
  • ตบหลังลูกแรง ๆ
  • ดึงลิ้นลูกจนลูกเจ็บ
  • แกล้งทำเสียงดังให้ลูกตกใจ

โดยรวมแล้วอาการที่ลูกสะอึกนั้นเป็นเรื่องที่ปกติค่ะ เพียงแต่คุณแม่ต้องรับมือให้ถูกวิธีเท่านั้น และอีกสิ่งที่หนึ่งที่ยังต้องทำควบคู่กันไปคือ ให้สังเกตว่าถ้าลูกยังมีอาการสะอึกอยู่ พร้อมกับมีอาการอื่นที่กล่าวไปข้างต้นด้วย แบบนี้ควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP