อาการหลังคลอด 3 เดือน ที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ

การคลอดและหลังคลอด
JESSIE MUM

คุณแม่หลังคลอด หรือคุณแม่ลูกอ่อน วัน ๆ อาจจะง่วนอยู่แต่กับการเลี้ยงดูลูกน้อย ห่วงเรื่องการให้นม เพราะทารกแรกเกิดจะต้องกินนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง จนทำให้คุณแม่ลืมใส่ใจดูแลตัวเองไปเสียสนิท ซึ่งแท้จริงแล้วการดูแลตัวเองหลังคลอดเป็นเรื่องจำเป็นมาก ซึ่งคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อการรับมือได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว

เจ็บแผลผ่าคลอด

โดยทั่วไปแล้ว หลังจากผ่าคลอดคุณหมอจะให้พักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 – 4 วันโดยประมาณถึงจะกลับบ้านได้ หลังจากนั้นจะต้องใช้เวลาพักฟื้นต่อที่บ้านอีกประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ แผลจึงจะหายสนิท และจะสามารถทำกิจกรรมอะไรต่าง ๆ ได้ตามปกติ

แต่ในช่วงของการพักฟื้นนั้น คุณแม่ควรเลี่ยงกิจกรรมทุกอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อแผลผ่าคลอด เช่น การยกของหนัก การทำงานบ้าน การออกกำลังกาย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ และเพื่อให้คุณแม่ได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น คุณแม่ควรลุกเดินอย่างช้า ๆ ไม่ให้นั่งนิ่ง ๆ หรือนอนเป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และอาการท้องผูก และที่สำคัญ คุณแม่ควรใช้มือประคองไว้หากคุณแม่จะไอหรือจะจามด้วยนะคะ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับแผลค่ะ

เจ็บช่องคลอด

สำหรับคุณแม่ที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ จะต้องมีการตัดฝีเย็บ เพื่อขยายปากช่องคลอด ซึ่งช่องคลอดจะฉีกขาด อาจทำให้รู้สึกเจ็บช่องคลอดราว ๆ 2 – 3 สัปดาห์

คัดเต้านม

เนื่องจากเต้านมจะมีการผลิตน้ำนมออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางเดียวที่จะลดอาการคัดเต้านมได้ก็คือ การให้ลูกน้อยดูด แต่เต้านมที่คัดตึงมากเกินไปก็จะส่งผลให้ลูกดูดยาก ดังนั้นก่อนการให้นมลูกหากคุณแม่รู้สึกคัดเต้านมมาก ให้คุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ๆ ประคบรอบเต้านม และบีบน้ำนมออกมาเล็กน้อยก่อนที่จะให้ลูกดูด

ริดสีดวงทวารและอาการท้องผูก

คุณแม่อาจมีการเจ็บระหว่างที่ถ่ายอุจจาระ หรืออาจมีอาการบวมรอบ ๆ ทวารหนัก อาการนี้เป็นสัญญาณของโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากเส้นเลือดดำบริเวรทวารหนัก หรือลำไส้ส่วนล่างมีการโป่งพอง ซึ่งถ้าหากคุณแม่พบอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

อาการนี้เกิดจากการที่คุณแม่เกร็งกล้ามเนื้อระหว่างการคลอด หรือมีการเจ็บครรภ์คลอดที่นานกว่าปกติ จึงส่งผลให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ เมื่อหัวเราะ ไอ หรือจามจึงมีปัสสาวะเล็ดออกมา อาการดังกล่าวนี้จะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ บางรายอาจนานกว่านั้น ในระยะนี้แนะนำให้คุณแม่สวมผ้าอนามัย พร้อมกับออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยท่าฝึกกระชับช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้นค่ะ

รู้สึกร้อนวูบ ๆ วาบ ๆ หรือหนาวใน

อาการนี้เกิดจากระดับฮอร์โมนและการไหลเวียนของโลหิตที่เปลี่ยนไปหลังจากคลอดลูกน้อยค่ะ จึงมีบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิในร่างกาย ทำให้คุณแม่รู้สึกร้อนวูบวาบในบางครั้งบางครั้งก็หนาวใน

น้ำคาวปลา

คุณแม่ลูกอ่อนจะมีน้ำคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด เป็นของเหลวที่ประกอบไปด้วยเลือด เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอก และแบคทีเรีย โดยในระยะแรกน้ำคาวปลามีสีแดงเข้ม ลักษณะข้นคล้ายกับประจำเดือน จากนั้นจะค่อย ๆ เหลวขึ้น และมีสีเหลืองอ่อนและจางลงจนกลายเป็นสีขาวขุ่น หรือเหลืองอ่อน ซึ่งทั่วไปหลังการคลอดภายใน 2 – 4 สัปดาห์น้ำคาวปลาจะหมดไปบางรายอาจนานกว่านั้นแต่ไม่ควรเกิน 6 สัปดาห์

น้ำหนักลด

หลังคลอดในระยะแรกน้ำหนักของคุณแม่จะไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ที่เพิ่งคลอดน้ำหนักจะลดลงไปประมาณ 6 กิโลกรัม เนื่องจากน้ำหนักของทารก รก และน้ำคร่ำได้หายไปจากการคลอด เมื่อผ่านไปสักระยะร่างกายจะขับของเหลวส่วนเกินออกมา น้ำหนักตัวของคุณแม่จึงค่อย ๆ ลดลง

แม่โน้ต

การให้นมลูกก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักลดลงเร็วค่ะ น้ำหนักของแม่โน้ตลดลงเยอะมาก มากกว่าช่วงก่อนท้องเสียอีก ทั้งนี้ ต้องอยูที่อาหารการกินด้วยนะคะคุณแม่ แต่หลังให้นมคุณแม่จะหิวทันที ควรหาอะไรที่กินง่ายรองท้องสักหน่อยหลังให้นม โดยเอาวางไว้ใกล้มือค่ะ

ภาวะผมร่วง

เนื่องจากระดับของฮอร์โมนที่สูงขึ้นณะตั้งครรภ์จึงทำให้ผมของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นดกขึ้นมาก แต่หลังคลอดแล้วระดับฮอร์โมนก็เปลี่ยนไปจึงทำให้ผมร่วง แต่อาการนี้จกลับสู่ภาวะปกติภายใน 5 เดือนค่ะ

ผิวแตกลาย

เป็นอาการที่ท้องแตกลายขณะตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป รอยแตกลายนี้จะยังไม่หายไปแม้หลังคลอด เพียงแต่จะจางลงเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันหรือเพื่อให้แตกน้อยที่สุด คุณแม่ควรทาครีมที่บริเวณท้องตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์นะคะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับอาการหลังคลอด ได้รู้กันอย่างนี้แล้วคุณแม่ควรเตรียมหาวิธีรับมือกันเสียแต่วันนี้นะคะ เพื่อที่ร่างกายจะได้ฟื้นตัวเร็ว และจะได้ดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ มีความสุขค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง familymildthailand.com, pobpad.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP