ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดรอยนูนหรือคีลอยด์

การคลอดและหลังคลอด

คุณแม่มือใหม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่แผล เกิดเป็นรอยแผลนูนหรือคีลอยด์ และที่สำคัญเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ วันนี้โน้ตมีวิธีดูแลแผลผ่าคลอด และวิธีป้องกันแผลติดเชื้ออย่างถูกวิธีมาฝากค่ะ

ลักษณะของแผลที่ผ่าคลอด

โดยทั่วไปแผลผ่าตัดจะมี 2 ลักษณะ คือ แผลในแนวตั้งใต้สะดือ และแนวนอนหรือแนวขอบบิกินี ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว โดยในอาทิตย์แรกหลังการผ่าคลอดผิวชั้นนอกของแผลจะติดกัน จากนั้นแผลจะปิดสนิท และเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงนานประมาณ 6 เดือน แล้วสีจะค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวและเรียบเนียน ส่วนผลด้านในหรือแผลส่วนกล้ามเนื้อท้องและมดลูกต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะหายดี ในบางรายอาจเป็นคีลอยด์แต่ก็พบได้น้อย

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด

ถ้าคุณแม่อยู่ที่โรงพยาบาลข้อนี้จะไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่ เพราะจะมีพยาบาลช่วยดูแล แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่กลับบ้าน คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

  • ไม่ยกของหนักในช่วง 6 อาทิตย์แรกหลังผ่าคลอด
  • หมั่นล้างแผลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผลทุกครั้ง
  • หากมีไหมโผล่ออกมา ไม่ควรไปจับปลายไหมหรือดึงออกเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เล็มออกให้ จะได้ไม่เกี่ยวเสื้อผ้าค่ะ
  • ไม่อาบน้ำด้วยการแช่ในอ่าง แต่ควรใช้ฝักบัวแทน
  • ใช้สบู่อาบน้ำที่มีฤทธิ์อ่อน และไม่ถูสบู่ เจลอาบน้ำ หรือโรยแป้งโดยตรงที่แผล
  • ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูที่สะอาดทุกครั้ง
  • สวมเสื้อผ้า และชุดชั้นในที่หลวม ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้เสื้อผ้าเสียดสีที่แผล
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากินหรือยาทาสำหรับการรักษาแผลก่อนทุกครั้ง
  • หากอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณแม่ควรเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือครีมบางชนิดก่อน เพราะอาจส่งผลเสียต่อทารกได้
  • หากมีรอยพับที่เหนือแผล ให้คุณแม่หมั่นเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณนั้นชื้น
  • หลังแผลปิดสนิท ให้ทาวิตามินอีที่แผล เพราะวิตามินอีจะเพิ่มความชุ่มชื้น ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินอีสูง และมีอัลเลียม ซีปาที่จะช่วยลดการอักเสบได้

วิธีป้องกันการติดเชื้อ

การดูแลแผลผ่าเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อนั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องอาศัยความขยันและความสะอาดกันมากสักหน่อย ไปดูกันค่ะว่าวิธีป้องกันการติดเชื้อนั้นต้องทำอย่างไรกันบ้าง

  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการดูแลแผลผ่าให้เข้าใจ พร้อมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  • หากต้องกินยาปฏิชีวนะ ควรกินให้หมดตามที่แพทย์สั่ง ไม่หยุดยาหรือลดปริมาณเอง โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์
  • หมั่นทำความสะอาดผ้าปิดแผลอยู่เสมอ
  • ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการอุ้มลูกและให้นมลูก เพื่อเลี่ยงแผลผ่าที่อาจถูกกดทับ
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือทาครีมบริเวณแผลที่ผ่าคลอด
  • เลี่ยงไม่ให้แผลบริเวณที่ผ่าตัดเสียดสีกัน
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทันที หากรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว หรือรู้สึกไม่สบายตัว

สัญญาณของการติดเชื้อที่ต้องรีบไปพบแพทย์

สำหรับแผลที่ติดเชื้ออาจปรากฏได้ภายหลังจากวันที่เกิดแผล หรือในบางรายเป็นอาทิตย์ เป็นเดือนก็มี จะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือแผลที่ติดเชื้อ และควรต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน ไปดูกันค่ะ

  • ที่แผลผ่ามีรอยแดง เจ็บ หรือบวม
  • รู้สึกว่าเจ็บมากขึ้นบริเวณแผลผ่า
  • เริ่มมีกลิ่นเหม็นบริเวณแผล
  • เริ่มมีหนองและเลือดปูดออกมาอย่างเห็นได้ชัด
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • รู้สึกชาที่แผล
  • ดูแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • กังวลกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

คุณแม่มือใหม่ที่ผ่าคลอดจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างมาก ไหนจะเจ็บแผล ไหนจะให้นมลูกอีก แถมเป็นคุณแม่มือใหม่อีกต่างหาก โชคหลายชั้นเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนออกจากโรงพยาบาล ควรซักถามแพทย์ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนะคะ เพื่อให้แผลหายเร็ว และไม่เป็นคีลอยด์ จะได้ใช้เวลาที่เหลือให้คุ้มค่าไปกับครอบครัวและลูกน้อยที่แสนจะน่ารักค่ะ

นวัตกรรมใหม่ของกางเกงชั้นในสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

นวัตกรรมใหม่ของกางเกงชั้นในสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

นวัตกรรมใหม่ของกางเกงชั้นในสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด พร้อมแผ่นซิลิโคนดูแลแผลผ่าคลอดชนิดเดียวกับที่ศัลยแพทย์ใช้ (medical-grade silicone)
เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา ปกป้องดูแลแผลผ่าคลอด เร่งการสมานแผล ลดอาการบวมแดง/คัน ลดรอยแผลเป็น
เนื้อผ้าเส้นใยทอพเศษเพิ่มแรงกดบนแผลผ่าคลอดเพื่อให้รอยแผลนิ่มลงและแบนราบ
ซัพพอร์ทรอบลำตัวช่วยพยุงและบรรเทาอาการเสียวแผลขณะลุกยืน ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นและเร่งให้รูปร่างคืนสู่สภาพก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP