แผลฝีเย็บอักเสบ จากการคลอดธรรมชาติ ควรดูแลอย่างไร

การคลอดและหลังคลอด
JESSIE MUM

หลายคนอาจสงสัยว่า การคลอดธรรมชาติ ต้องมีแผลฝีเย็บด้วยหรือ? แล้วจะดูแผลฝีเย็บอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ และที่สำคัญ ถ้าติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบไปแล้วจะจัดการอย่างไรดี ทำเองที่บ้านได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาใข้อข้องเรื่อง “แผลฝีเย็บ” กันค่ะ

แผลฝีเย็บ จากการคลอดธรรมชาติ

ก่อนอื่นต้องอธิบายเรื่องแผลฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติกันก่อน “แผลฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติ” เกิดจากการกรีดหรือการตัดผิวหนังบริเวณที่เรียกว่า “ฝีเย็บ” ที่อยู่ระหว่างช่องคลอดไปจนถึงทวารหนัก เพื่อให้ทารกออกมาได้อย่างสะดวก กลับกันหากแพทย์ไม่ได้ทำการกรีดผิวหนัง ก็อาจเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาดในบริเวณดังกล่าวได้
ทั้งนี้ ไม่ใช่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนที่จะต้องกรีดผิวหนังเพื่อคลอดธรรมชาติ แพทย์จะทำการประเมินก่อนค่ะ ว่า ทารกมีความกว้างของช่วงไหล่ที่ใหญ่กว่าช่องคลอดหรือไม่ หรือทารกมีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า หากเป็นเช่นนี้แพทย์ถึงจะทำการตัดฝีเย็บ แต่ถ้าทารกสามารถออกมาได้อย่างสะดวกก็ไม่จำเป็นต้องตัดฝีเย็บค่ะ

การดูแลแผลฝีเย็บ ไม่ให้อักเสบ

ก่อนที่แผลฝีเย็บจะอักเสบ เรามีวิธีดูแลแผลฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติมาฝากค่ะ

ควรทำความสะอาดแผลให้ถูกวิธี

การทำความสะอาดเริ่มจากใช้สำลีชุบน้ำอุ่น เช็ดบริเวณแผลฝีเย็บอย่างเบามือ เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง วันละ 2 ครั้ง ซับแผลให้แห้งเท่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงหลังการขับถ่าย ที่สำคัญไม่ควรใช้น้ำฉีดทำความสะอาด เพราะอาจทำให้แผลฉีกขาดได้ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติค่ะ แต่ควรระวังเรื่องความแรงของน้ำ

หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัย

เพื่อป้องกันการหมักหมมของเชื้อโรค คุณแม่ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมง เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

ประคบเย็น

หลังคลอด แผลฝีเย็บจะมีอาการบวม ซึ่งคุณแม่สามารถประคบด้วยถุงเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้

เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม

การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน ควรระมัดระวังเรื่องแผลเกิดการเสียดสี ดังนั้น ควรเดินแยกขาเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันได้ และการนั่ง ท่าที่ควรเลี่ยงคือ การนั่งขัดสมาธิ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้แผลฉีกขาดได้ แต่ควรนั่งในท่าห้อยขาหรือพับเพียบจะดีที่สุด

สัญญาณบ่งบอกว่า แผลฝีเย็บอักเสบ

หลังคลอด ผ่านไป 1 สัปดาห์ แผลฝีเย็บก็จะเริ่มแห้ง และมีอาการดีขึ้น ยกเว้นว่าถ้าผ่านมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว คุณแม่มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดตัว แผลบวม มีหนอง หรือมีก้อนบริเวณปากช่องคลอด รวมถึงปัสสาวะขัด เหล่านี้คือ อาการที่บ่งบอกได้ว่า แผลฝีเย็บเกิดการอักเสบ
การดูแลแผลฝีเย็บอักเสบเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาทันที

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น เมื่อปวดแผลฝีเย็บ

แผลฝีเย็บถึงแม้จะเป็นแผลเล็ก แต่เมื่อเกิดการอักเสบแล้วคุณแม่ต้องใส่ใจดูแลมากเป็นพิเศษค่ะ เพราะถ้าหากเชื้อลุกลามจะยิ่งทำให้เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการดูแลรักษามากทีเดียว

ประคบเย็น

การประคบเย็นจะช่วยลดอาการบวมและอาการปวดได้ แต่ถ้าต้องการอาบน้ำควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งจะอาบน้ำได้ก็ต่อเมื่อคลอดมาแล้วมากกว่า 24 ชั่วโมง

แช่แผลในน้ำอุ่น

คุณแม่สามารถแช่แผลฝีเย็บในน้ำอุ่นได้ค่ะ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 – 15 นาทีโดยประมาณ เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ยังช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

เช็ดทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

การเช็ดควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดวันละ 2 ครั้ง จากหน้าไปหลังเสมอ พร้อมกับซับให้แห้งสนิททุกครั้ง

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยากิน หรือยาทาก็ตาม

เลี่ยงการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่แผล

ได้แก่ การเบ่งอุจจาระ การใช้สายฉีดน้ำที่มีความดันแรงเกินไป รวมไปถึงการเช็ดทำความสะอาดแผลฝีเย็บที่รุนแรง

กินอาหารที่มีประโยชน์

โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้ถ่ายคล่อง ไม่ต้องเบ่ง ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้แผลฉีกได้

หมั่นสังเกตความผิดปกติ

หลังจากปฏิบัติตามกันมาหมดทุกข้อแล้ว ให้คุณแม่หมั่นสังเกตความผิดปกติของแผล และของร่างกายด้วยนะคะ เพื่อที่หากมีอะไรผิดปกติ จะได้เข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ได้ทันท่วงที

แผลฝีเย็บแม้จะเป็นแผลเล็ก ๆ แต่ก็สามารถทำให้เกิดปัญหากับร่างกายคุณแม่ได้เช่นกัน ดังนั้น การดูแลรักษาก่อนการอักเสบหรือการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นและควรทำอย่างยิ่ง เพราะอย่าลืมว่าเรายังมีลูกน้อยที่รอคอยการดูแลจากคุณแม่อีกนะคะ แต่ถ้าคุณแม่ไม่แน่ใจว่าแผลฝีเย็บแห้งดีไหม หรือมีสิ่งผิดปกติอะไรหรือเปล่า แนะนำว่าปรึกษาแพทย์ได้เลยค่ะ เพื่อความสบายใจ

อ้างอิง sanook.com, amarinbabyandkids.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP