แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

นมแม่

ความกังวลของแม่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นกับหลายๆ คนคงหนีไม่พ้นเรื่อง “กลัวปริมาณน้ำนมไม่พอให้ลูกทาน” แม่บางคนบอกว่าให้ลูกเข้าเต้าตลอดก็พออยู่นะ จริงอยู่ค่ะ พออยู่แต่จะไม่เหลือสต๊อกสำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน

อ่ะ…วันนี้โน้ตอยากชวนคุณแม่มามุงดูกันในเรื่องของการเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ถูกต้องกันค่ะ แถมยังมีเหลือให้สต๊อกอีกด้วย

หลักการการผลิตน้ำนม

สิ่งสำคัญในเรื่องการผลิตของน้ำนมที่คุณแม่ควรรู้คือ

ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ลูกดูด (รวมปั๊มและบีบ) ออก

ยกตัวอย่างเพื่อให้คุณแม่เห็นภาพมากขึ้น

สมมุติว่าลูกต้องการน้ำนมแม่วันละ 20 ออนซ์/วัน

กรณีที่ 1
คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าทั้งวันโดยไม่ใช้ผสมเลย ร่างกายแม่ก็จะสามารถผลิตได้ 20 ออนซ์ต่อวัน เท่าที่ลูกดูดออกไป กรณีนี้จะเพียงพอสำหรับลูก แต่ไม่เพียงพอสำหรับทำสต๊อก

กรณีที่ 2
คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าทั้งวัน + ให้นมผสม 1 มื้อ จำนวน 2 ออนซ์ ถ้าเป็นเช่นนี้ ร่างกายของคุณแม่จะผลิตน้ำนมได้วันละ 18 ออนซ์ ซึ่งไม่พอต่อความต้องการของลูก และถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ร่างกายของคุณแม่จะผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ

กรณีที่ 3
คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าทั้งวันและปั๊มออกมาได้อีกวันละครั้ง ครั้งละ 2 ออนซ์ ถ้ากรณีนี้ร่างกายของคุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมออกมาได้วันละ 22 ออนซ์ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของลูกและยังเหลือพอทำสต๊อก

แนะนำเทคนิคการเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ถูกต้อง

อย่างที่โน้ตเกริ่นไว้ตอนต้นค่ะ ว่าวันนี้จะชวนคุณแม่มามุงดูวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำนมอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งยกตัวอย่าง เพื่อให้คุณแม่เข้าใจง่ายๆ ไปค่ะ ไปดูกันเลย

ต้องบอกว่ายิ่งคุณแม่เริ่มให้ลูกเข้าเต้าเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี โดยเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ถ้าไม่ทันก็ให้เริ่มเลยตั้งแต่วันนี้ค่ะ

“ช่วงเวลาที่ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้ดีที่สุด คือ ช่วง ตี 5 – 6 โมง”

ยกตัวอย่าง

ถ้าตื่นก่อนลูก
ให้คุณแม่ปั๊มนมออกก่อน 1 ข้าง (สมมุติว่าเป็นข้างขวา) ประมาณ 15 นาที จะได้เท่าไหร่ไม่เป็นไรค่ะ เพราะช่วงแรกอาจได้น้อยอยู่ ไม่ต้องกังวลค่ะ ทำไปทุกๆ วัน น้ำนมก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปั๊มออกแล้ว เก็บไว้ เมื่อลูกตื่นก็ให้เข้าเต้าด้านซ้าย นานจนกว่าลูกจะพอใจ และถอนปากจากเต้าแม่เอง แต่ถ้าไม่หลับก็ให้ลูกมาเข้าเต้าต่อที่ด้านขวา เมื่อลูกดูดเสร็จให้กลับมาปั๊มข้างซ้ายต่ออีก 2-3 นาที เพื่อเป็นการกระตุ้น

ถ้าลูกตื่นก่อน
ให้ลูกดูดข้างหนึ่งก่อน (สมมติว่าเป็นข้างซ้าย) ให้ลูกดูดนานเท่าที่ต้องการและให้ลูกถอนปากจากเต้าเอง ให้ปั๊มนมอีกข้างหนึ่งออก (คือข้างขวา) ประมาณ 15 นาที แล้วไปปั๊มข้างซ้าย (ที่ลูกดูดตอนแรก) ต่ออีก 2-3 นาที ทั้งสองข้างจะได้น้ำนมมากเท่าไหร่ เก็บไว้ ถ้าลูกไม่หลับให้ลูกมาดูดต่อข้างขวา (ที่เราปั๊มออกตอนแรก) ซ้ำได้อีกค่ะ

คำถามคือ

“ข้างที่ปั๊มนมออกแล้วจะมีน้ำนมพอให้ลูกทานหรือ?”

แม่โน้ตเคยเขียนบทความไว้เรื่อง “น้ำนมเกลี้ยงเต้า…ไม่มีอยู่จริง” เพราะความจริงคือ ร่างกายจะมีการผลิตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันเมื่อลูกดูดนมมาแล้วหนึ่งข้าง ความแรงของการดูดจากลูกก็จะเบาลง เพราะความหิวลดลง

วิธีอื่นๆ ในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม

นอกจากการให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ เท่าที่ต้องการและการปั๊มออกแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีก เช่น

ดื่มน้ำเปล่าสะอาดเยอะๆ

โดยเฉพาะน้ำอุ่น จะเป็นการช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น

ไม่ควรใช้จุกนม หรือ ให้ลูกกินนมจากขวด

เพราะการดูดนมจากขวดจะใช้แรงน้อยกว่าการดูดจากเต้าแม่ ซึ่งจะทำให้ลูกปฏิเสธเต้า ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยลง และจะน้อยลงเรื่อยๆ

ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

อาจจะเน้นอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนมอีกซักหน่อย เช่น ขิง หัวปลี ใบกระเพรา หรืออินทผลัม เป็นต้น

พักผ่อนให้เพียงพอ

รวมถึงต้องไม่เครียดหรือกังวลมากเกินไปนะคะ เพราะร่างกายจะผลิตน้ำนมได้น้อยลง

การเพิ่มปริมาณน้ำนมในแบบที่พอจะสต๊อกได้นั้น คุณแม่ต้องมีวินัย ทำเป็นประจำทุกๆ วัน น้ำนมคุณแม่ก็จะเพียงพอให้ลูกน้อย และเหลือพอที่จะสต๊อกอีกด้วยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP