น้ำนมแม่…ผลิตมาได้อย่างไร?

นมแม่

การันตีได้เลยว่าทุกคนทราบกันดีว่า “น้ำนมแม่” นั้นมีประโยชน์มหาศาล เราทราบกันดีว่าอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปนั้นบางอย่าง บางส่วนจะถูกส่งต่อถึงลูกผ่านมายังน้ำนมแม่ แต่…เราเคยฉุกคิดกันไหมคะว่า “กระบวนการผลิตน้ำนมของแม่เกิดมาได้อย่างไร?” กว่าจะกลั่นออกมาให้ลูกกิน วันนี้เราจะไปดูกันค่ะ

กระบวนการผลิตน้ำนมแม่

กระบวนการผลิตน้ำนมแม่นั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยน้ำนมจะเริ่มสร้างตั้งแต่ระยะที่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด เรามาดูกันทีละช่วงเลยค่ะ

กระบวนการผลิตน้ำนมแม่

ช่วง Lactogenesis I

ช่วงที่ 1 นี้เป็นช่วงที่นมแม่เริ่มสร้างฮอร์โมน โดยจะเริ่มตั้งแต่ระยะการตั้งครรภ์ประมาณ 16-22 สัปดาห์ไปจนถึงวันแรกหลังการคลอด ร่างกายคุณแม่จะเริ่มผลิต “หัวน้ำนม หรือ Colostrum” แต่ในปริมาณที่น้อยนิด

ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของระยะตั้งครรภ์นี้ น้ำนมจะถูกสร้างจากการกระตุ้นของฮอร์โมน Estrogen, Progesterone, Prolactin, HPL และยังมีฮอร์โมนอื่นๆ ร่วมด้วย ในระยะนี้เต้านมของคุณแม่จะมีท่อนมงอกและแตกแขนงที่ตรงส่วนปลายท่อ ซึ่งจะกลายเป็นต่อมน้ำนมมารวมกัน

ต่อมาในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ฮอร์โมน HPL จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำนมช่วงแรกแต่ยังไม่มีน้ำนมไหลออกมา จนกระทั่งช่วงของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ต่อมน้ำนมและขนาดเต้านมของคุณแม่เริ่มขยายขนาดมากขึ้น หากช่วงนี้จะมีน้ำนมที่ไหลออกมาบ้างในปริมาณที่เล็กน้อยก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เป็นเรื่องปกติ

ช่วง Lactogenesis II

หรือ “ช่วงน้ำนมหลังคลอด” น้ำนมส่วนนี้จะเกิดขึ้นหลังการคลอดประมาณ 30-40 ชม.โดยฮอร์โมน Prolactin จะทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการผลิตน้ำนมมากขึ้นภายใน 2-3 วันหลังคลอด

คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าเต้านมนั้นตึงมากขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่าเต้านมมีการผลิตน้ำนมมากขึ้นและมีการไหลเวียนของเลือดในเต้านมมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่รู้สึกว่า “น้ำนมมาแล้ว” หลังจากคลอดแล้ว 2-3 วัน และหลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน น้ำนมจะผลิตได้มากหรือน้อยอย่างต่อเนื่อง ก็ขึ้นอยู่กับการดูดของทารกและการนำน้ำนมออกมาจากเต้าแล้วล่ะค่ะ

**ใน 2 ช่วงแรก กระบวนการการผลิตของน้ำนมจะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนนะคะ โดยไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ก็ตาม ร่างกายก็จะยังคงผลิตน้ำนมได้เองโดยธรรมชาติค่ะ**

ช่วง Galactopoiesis

ช่วงนี้น้ำนมไม่ผลิตออกมา

ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะช่วงนี้น้ำนมไม่ผลิตออกมาจากการกระตุ้นของฮอร์โมนอย่างเดียวแล้วค่ะ แต่…สำคัญตรงที่ว่าคุณแม่ต้องกระตุ้นการผลิตน้ำนมโดยการดูดของลูก การบีบนมออกมาด้วยมือหรือจะเครื่องปั๊มนมก็ได้ค่ะ

เพราะฉะนั้นแล้ว ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดจึงสำคัญมาก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประสบความสำเร็จอย่างง่ายดายหรือยากลำบากจะอยู่ที่ช่วงนี้ค่ะ ยิ่งถ้าคุณแม่สามารถนำน้ำนมออกมาได้มากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมได้มากเท่านั้น

ซึ่งหากคุณแม่รู้สึกว่าน้ำนมนั้นยังน้อยอยู่ ยิ่งต้องให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยขึ้นนะคะ ไม่ใช่การให้นมผงเสริม เพราะจะเป็นการแทรกแซงกลไกธรรมชาติของกระบวนการการผลิตน้ำนม แถมเป็นการซ้ำเติมให้นมแม่ยิ่งมาช้าและน้อยลงกว่าเดิม

ทั้งนี้ วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็วและเยอะก็คือ คุณแม่ต้องมีวินัย พยายามนำน้ำนมออกมาจากร่างกายให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อยๆ

แต่ด้วยความที่ใน 2-3 วันแรก ทารกจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ คุณแม่เองก็อาจเพลียจากการคลอด การมีเครื่องปั๊มนมก็จะเป็นตัวช่วยในการนำน้ำนมออกมาจากร่างกายได้อย่างดีเลยค่ะ เพราะถ้ารอให้ลูกดูดอย่างเดียวน้ำนมอาจผลิตได้น้อย

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ คุณแม่บางท่านอยากให้มีน้ำนมออกเยอะๆ ใช้เครื่องปั๊มมือ เร่งบีบและใช้แรงเยอะ สิ่งนี้อาจทำให้คุณแม่เจ็บเต้านมหรือหัวนมแตกได้ เมื่อถึงเวลาที่ลูกจะดูดกลับดูดไม่ได้เพราะเต้านมของคุณแม่เจ็บซะก่อนแล้ว

ได้รู้กันแบบนี้แล้วว่าน้ำนมนั้นมีกระบวนการผลิตอย่างไร และการที่จะกระตุ้นให้มีน้ำนมมากๆ อย่างถูกวิธีต้องทำอย่างไร คุณแม่ก็ใจเย็นๆ พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ กระตุ้นการผลิตน้ำนมอย่างค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP