ไขข้อข้องใจ แม่ไม่สบายให้นมลูกได้ไหม?

นมแม่
JESSIE MUM

แม่ไม่สบายให้นมลูกได้ไหม?” เชื่อว่ามีคุณแม่ลูกอ่อนหลาย ๆ คนคงมีคำถามนี้ เพราะไม่รู้และไม่แน่ใจว่าถ้าตัวเองไม่สบายแล้วกินยาเข้าไป ยานั้นจะส่งถึงลูกน้อยผ่านทางน้ำนมด้วยไหม วันนี้แม่โน้ตมีคำตอบค่ะ

การผลิตน้ำนม

ก่อนที่เราจะไปเรื่องของยานั้น แม่โน้ตอยากพูดถึงกระบวนการการผลิตน้ำนมกันสักหน่อยก่อนว่า แท้จริงแล้วมีข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กระบวนการผลิตน้ำนมของคุณแม่นั้น ธรรมชาติได้ให้ระบบรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงสดุมาด้วย นั่นคือ น้ำนมของคุณแม่กว่าจะออกมาสู่ปากของลูกน้อยนั้น ต้องผ่านการกรองมาแล้วจากผนังถึง 2 ชั้น ซึ่งก็คือ ผนังหลอดเลือดฝอย และผนังต่อน้ำนม ดังนั้น เมื่อคุณแม่กินยา ปริมาณยาจะผ่านเข้าไปที่น้ำนมแม่ได้ไม่ถึง 1%

ยาที่แม่ลูกอ่อนกินได้

หากวันหนึ่งคุณแม่เกิดมีอาการป่วยขึ้นมา และต้องได้รับยาเข้าจริง ๆ ก็มียาที่คุณแม่ลูกอ่อนกินได้ พร้อมวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย ดังนี้

ยาที่รักษาโรคทั่วไป

ซึ่งยาที่คุณแม่ลูกอ่อนสามารถกินได้ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก วิตามิน รวมถึงยาปฏิชีวนะ ที่มีความปลอดภัยมากพอสำหรับคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังกินนมแม่ แต่จะยกเว้นปฏิชีวนะตัวหนึ่งชื่อ “เตตร้าซัยคลิน” ที่จะมีผลต่อฟันของทารก จะทำให้สีฟันเปลี่ยนเป็นสีเทาจุด ๆ

ยาที่มีน้ำหนักของโมเลกุลสูง

ได้แก่ อินซูลิน (เป็นยารักษาโรคเบาหวาน) ซึ่งจะไม่ขับออกมาทางน้ำนมแม่ รวมไปถึงยาที่ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่มีชื่อว่า “วอร์ฟาริน” ซึ่งจะจับตัวกับโปรตีนในกระแสเลือด ทำให้ไม่ถูกขับออกมากับน้ำนมแม่เช่นกัน

ยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ

ได้แก่ ยากลุ่มยาลดไข้ ยาแก้ปวด ซึ่งไม่มีผลต่อการให้นมของลูกน้อยเลยค่ะ แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ไม่ควรซื้อยามากินเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการกิน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

ยาที่กินแล้ว ควรงดให้นมลูก

  • ยาต้านมะเร็ง รวมถึงยากดภูมิต่าง ๆ ได้แก่ ไซโคลฟอสฟาไมด์ หรือไซโคลสปอริน ยาเหล่านี้จะทำหน้าที่ฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายลูกน้อยได้
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า อาทิ ยาโปรแซค ซึ่งถ้าส่งผ่านไปยังลูกน้อยจะทำให้ลูกน้อยมีอาการซึมเศร้า หรือ ลิเธียม ที่สามารถขับออกมากับน้ำนมแม่ได้ถึง 1/2 หรือ 1/3 ของระดับยาในกระแสเลือด ถ้าหากลูกน้อยได้รับยานี้เป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทของลูกน้อยได้
  • ยาเออร์โกทามีน เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคปวดไมเกรน หากส่งผ่านไปยังลูกน้อยจะทำให้ลูกน้อยท้องเสีย อาเจียน และมีอาการชักได้
  • อะทีนอล เป็นยาที่ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง และรักษาโรคไมเกรน ยานี้หากส่งถึงลูกน้อยจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยช้าลง ซึ่งคุณแม่ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะลูกน้อยหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีการทำงานที่ผิดปกติของไต
  • โบรโมคริปทีน เป็นยาที่ยับยั้งฮอร์โมนโปรแล็กติน ซึ่งมีผลให้การผลิตน้ำนมนั้นน้อยลงค่ะ
  • การเข้ารับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสี เช่น ไอโอดีน 131

ข้อควรระวังในการใช้ยาของคุณแม่ลูกอ่อน

บรรเทาอาการด้วยตัวเองก่อน

หากคุณแม่มีอาการเป็นหวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมีน้ำมูกแต่ยังไม่มาก ให้คุณแม่พยายามรักษาตัวเองก่อนนะคะ ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ (แต่ก็ควรเน้นให้ครบ 5 หมู่นะคะ) ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ พร้อมกับพยายามนอนพักผ่อนเยอะ ๆ

แจ้งคุณหมอทุกครั้ง ว่าอยู่ในระยะให้นมลูก

ข้อนี้ต้องแจ้งคุณหมอทุกครั้งนะคะ หากคุณแม่ยังต้องให้นมลูกน้อยอยู่ เพื่อที่คุณหมอจะได้จัดยาให้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ปฏิบัติติตามคำแนะนำของคุณหมอ

นอกจากคุณแม่จะแจ้งคุณหมอเรื่องการให้นมลูกแล้ว ที่สำคัญคุณแม่ต้องปฏิบัติคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดอีกด้วยนะคะ

หากคุณแม่ไม่สบาย จำเป็นต้องกินยาก็ยังสามารถทำได้ค่ะ หากอาการไม่สบายนั้นไม่รุนแรงมาก เพียงแต่อย่าลืมแจ้งคุณหมอนะคะ ว่าคุณแม่ยังต้องให้นมลูกอยู่

ข้อมูลอ้างอิง parentsone.com , enfababy.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP