Overfeeding คืออะไร? พร้อมวิธีสังเกตอาการของลูกน้อย

นมแม่
JESSIE MUM

เพราะการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ผนวกกับการที่ทารกยังไม่สามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นคำพูด ดังนั้น ความท้าทายในการเลี้ยงลูกของคุณพ่อคุณแม่ใหม่ก็คือ การที่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยแทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการให้นมลูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะมารู้อีกทีก็คือ ลูกแหวะนมแล้ว ดังนั้นวันนี้ โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกันสักนิดเกี่ยวกับ Overfeeding กันค่ะ ว่า Overfeeding คืออะไร? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา Overfeeding แล้ว อาการของลูกน้อยจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

Overfeeding คืออะไร?

คือ การที่ทารกดื่มนมมากเกินไป จนส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยน้ำนมนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกน้อยแหวะนมออกมา ซึ่งการแหวะนมสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่จากเต้าและดื่มน้ำนมจากขวด

วิธีสังเกตอาการ Overfeeding

หลังจากที่ลูกน้อยดื่มนมแล้ว ให้คุณแม่คอยสังเกตอาการดังต่อไปนี้ด้วยนะคะ ซึ่งถ้าลูกน้อยมีอาการตามด้านล่างนี้ แสดงว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมมากเกินไปค่ะ

  • ลูกบิดตัวซ้ายบ้าง ขวาบ้าง มีการเอี้ยวตัว เหยียดแขนเหยียดขา พร้อมส่งเสียงอึ๊อ๊ะ
  • มีเสียงครืดคราดในลำคอ ขณะหายใจ ฟังดูคล้ายมีเสมหะในลำคอ ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากน้ำนมที่ลูกน้อยดื่มเข้าไปแล้วล้นขึ้นมาที่คอหอย ลูกจะมีอาการที่คล้ายจะอาเจียน แต่ยังไม่อาเจียน
  • ท้องโป่ง แข็ง ตึง ตลอดเวลา
  • ลักษณะพุงจะกางตลอดเวลา คล้ายทรงของน้ำเต้า
  • ร้องกวน ร้องไห้งอแงบ่อย เพราะรู้สึกไม่สบายตัว
  • มีน้ำนมสำรอกออกมาทางปาก และจมูก

การป้องกัน Overfeeding

Overfeeding สามารถป้องกันได้ ดังนี้ค่ะ

หยุดป้อนนมหากลูกน้อยอิ่ม

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอิ่ม? คุณแม่สามารถสังเกตอาการลูกน้อยได้โดย เมื่อลูกน้อยอิ่มลูกมักจะแสดงอาการเบือนหน้าหนี หรือปัดขวดนม แม้ว่าคุณแม่จะพยายามให้ลูกกินลูกก็จะพยายามปัดออกเช่นกัน ลูกเริ่มแสดงอาการหงุดหงิด ดูดนมช้าลง รวมไปถึงจะเว้นช่วงของการดูดนมที่นานขึ้น

พยายามใช้วิธีการเข้าเต้า

เนื่องจากการให้ลูกดื่มนมด้วยวิธีการเข้าเต้า ลูกน้อยต้องออกแรงดูดมากกว่าการดูดขวด ซึ่งถ้าลูกไม่ดูดน้ำนมก็จะไม่ออกมา ส่วนการดื่มนมด้วยขวด แม้ว่าลูกน้อยจะไม่ได้ดูดแต่น้ำจะไหลตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อลูกอิ่มด้วยการเข้าเต้าก็จะเป็นการหยุดการไหลออกของน้ำนมได้ ซึ่งเป็นการป้องกัน Overfeeding ได้นั่นเองค่ะ

ปริมาณน้ำนมที่ลูกต้องการในแต่ละวัน

การป้องกัน Overfeeding ของลูกน้อย คุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้ค่ะว่า ในแต่ละวันนั้นลูกน้อยมีความต้องการน้ำนมในปริมาณเท่าไหร่ จริงอยู่ว่าในเด็กแต่ละคนจะมีความต้องการที่แตกต่างกันไปแต่ก็มีค่าเฉลี่ยที่พอจะใช้เป็นแนวทางได้ ดังนี้

น้ำนมแม่

โดยทั่วไปแล้ว ทารกที่ดื่มน้ำนมแม่จะมีความต้องการที่จะดื่มน้ำนมแม่ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่สามารถใช้วิธีสังเกตอาการลูกน้อยได้ว่าอิ่มหรือไม่ จากการที่ลูกเบือนหน้าหนีไม่อยากเข้าเต้าแล้ว

น้ำนมผสม

สำหรับทารกที่ดื่มน้ำนมจากขวดหรือดื่มน้ำนมผสม ทารกจะต้องการปริมาณน้ำนมที่ 60-90 มิลลิลิตร และจะต้องการน้ำนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง

Overfeeding จะมีอันตรายต่อลูกไหม?

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจมีความกังวลว่าถ้า Overfeeding มากไปจะมีอันตรายหรือไม่? อาจตอบได้ว่าไม่ได้อันตรายร้ายแรงค่ะ เพียงแต่ว่าเมื่อลูกน้อยแหวะนมออกมาทางปากและจมูกแล้ว ในน้ำนมที่ลูกแหวะออกมานั้นจะมีน้ำย่อย ซึ่งเป็นกรดอ่อน ๆ ขึ้นย้อนมาที่หลอดลม และทางเดินอาหาร ทำให้ลูกน้อยมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ซึ่งถ้าแหวะนมบ่อย ๆ น้ำกรดจากน้ำย่อยในกระเพาะจะกัดหลอดลม และหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดแผลได้ ลูกจะร้องงอแง เพราะไม่สบายตัว ที่สำคัญการ Overfeeding จะทำให้ลูกติดพฤติกรรมการกินจุ จนเกิดเป็นโรคอ้วนได้เมื่อเติบโตขึ้น

เรื่องของ Overfeeding สามารถป้องกันได้ เพียงแต่คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยค่ะ ว่าลูกมีพฤติกรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่ และที่สำคัญ เมื่อลูกดื่มนมไปแล้วสักครึ่งทาง ให้คุณแม่อุ้มลูกเรอเพื่อเป็นการไล่ลม และอีกหนึ่งครั้งหลังจากที่ลูกดื่มนมเสร็จ ป้องกันลูกน้อยท้องอืดด้วยนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP