เบาหวานขณะตั้งครรภ์ แม้ผอมก็เป็นได้ ส่งผลร้ายต่อลูก

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างมากค่ะ โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนก็จะมีมากขึ้น ซึ่งวันนี้เราจะพูดถึงเรื่องของโรคเบาหวานกันค่ะ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นมีความเสี่ยงต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ และคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจไปว่าเราไม่ได้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ คงไม่เป็นหรอก ความจริงแล้วจะเป็นเช่นนั้นไหม เราไปไล่เรียงกันเลยค่ะ

อาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

จากสถิตแล้วโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะไม่มีอาการใด ๆ ที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็พอที่จะสังเกตอาการได้ ซึ่งดูแล้วจะคล้าย ๆ กับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือ

  • กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ต้องการนอนพักผ่อนมากกว่าปกติ

ผลกระทบโรคเบาหวานที่มีต่อคุณแม่

คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีผลกระทบต่อตัวคุณแม่ ดังนี้

เสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสที่จะเกิดอาการครรภ์เป็นพิษได้ คือร่างกายมีความดันโลหิตที่สูงร่วมกับมีโปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะมากกว่าปกติ โดยมากจะพบได้บ่อยในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

เสี่ยงต่อการผ่าท้องคลอด

คุณแม่ที่วางแผนเอาไว้ว่าต้องการจะคลอดลูกแบบธรรมชาติ หากเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจต้องมีการเปลี่ยนแผน และเสี่ยงต่อที่จะคลอดด้วยวิธีผ่าตัดแทน เนื่องจากทารกจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ

มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้มีได้มากกว่าผู้หญิงปกติถึง 7.4 เท่า

เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

หากคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ และเส้นประสาทถูกทำลาย เป็นต้น

ผลกระทบโรคเบาหวานที่มีต่อทารกในครรภ์

สำหรับผลกระทบต่อทารกมีดังนี้

  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักของทารกแรกคลอดมากกว่าเด็กปกติ เช่น ทารกที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ หรืออาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขณะคลอดได้
  • ทารกจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีเมื่อหลังคลอด
  • ทารกจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • เสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • ทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วน และอาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ลักษณะไหนที่ถือว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน มีดังนี้

  • คุณแม่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์
  • ใครรภ์ก่อนหน้า คุณแม่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  • ในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
  • ก่อนจะตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักจะพบว่ามีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงกว่าปกติ แต่อาจไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • มีคลอเสลเตอรอลในเลือดสูง
  • มีความอ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หากคุณแม่พบว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถดูแลตัวเองได้ ดังนี้

ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถออกกำลังกายได้ค่ะ โดยให้เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่มีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ เช่น การเดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ, การเต้นรำ, การว่ายน้ำ, หรือการออกกำลังกายเฉพาะส่วนบน โดยใช้เวลา 30 นาที ซึ่งจะให้ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

ดูแลควบคุมเรื่องโภชนาการ

คุณแม่ยังสามารถทานอาหารได้ 3 – 5 มื้อต่อวัน แต่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป โดยเน้นลดอาหารจำพวกแป้ง หรือน้ำตาล จะให้ดีหันมาทานข้าวซ้อมมือจะดีที่สุด เพิ่มอาหารจำพวกโปรจีนเข้าไป ทานผัก และงดอาหารที่มีความหวานมาก ๆ หรือแม้แต่ผลไม้ก็ไม่ควรทานผลไม้ทีมีความหวานมาก ๆ เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก เงาะ ลำไย หรือลิ้นจี่ เป็นต้น รวมถึงงดของทอด หรืออาหารที่มีไขมันสูง ๆ

ใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย

บางรายหากมีอาการมาก จำเป็นที่จะต้องใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นยาฉีด คุณแม่บางคนก็ต้องฉีดวันละหลายครั้ง

เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไม่มีใครอยากเป็นค่ะ แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นแล้วให้คุณแม่สังเกตร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ เช่น ถ้ารู้สึกว่าอ่อนเพลียมากเกินไป น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากเกินไป ท้องไม่โตขึ้น ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย ลักษณะนี้ ควรพบแพทย์ทันทีนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP