ท้องนอกมดลูก มีอาการอย่างไร จะอันตรายไหม

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

การจะมีลูกสักคนที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องง่าย เริ่มตั้งแต่สุขภาพของทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ รวมถึงเมื่อตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ก็ควรที่จะมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด แพทย์จะช่วยดูแลและประเมินสุขภาพทั้งคุณแม่และลูกในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นอย่างดี ตลอดจนถึงเรื่องของการคลอด โดยที่หากเกิดปัญหาขึ้นในระยะตั้งครรภ์ แพทย์จะได้ให้การรักษาได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ซึ่งเรื่องของการท้องนอกมดลูกก็เช่นกัน

ท้องนอกมดลูก คืออะไร?

การท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ตัวอ่อนไม่ได้มีการฝังตัวอยู่ภายในโพรงมดลูกแต่กลับไปฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูกแทน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผิดปกติ และเมื่อตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตมากขึ้น อวัยวะในส่วนที่ตัวอ่อนไปฝังตัวนั้นไม่สามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่สามารถรองรับกับขนาดของทารกได้ ส่วนมากจะพบในท่อนำไข่ อาการผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นหลังจากการตั้งครรภ์แล้วประมาณ 7 สัปดาห์
ปกติแล้วรังไข่จะผลิตไข่ และปล่อยให้ไข่เดินทางผ่านท่อนำไข่ แล้วจึงค่อยไปปฏิสนธิกับอสุจิ จากนั้นก็จะเคลื่อนตัวมาสู่มดลูก แต่ในกรณีท้องนอกมดลูก คือ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไม่เดินทางมาที่มดลูก

อาการท้องนอกมดลูก

มีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ปวดท้องเฉียบพลัน
  • มีเลือดออกที่อวัยวะเพศ
  • เวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ

ท้องนอกมดลูก สัญญาณเตือน

  • ปวดท้องมาก
  • ประจำเดือนขาด
  • เลือดออกทางช่องคลอด

ทั้งนี้ ภาวะท้องนอกมดลูกในระยะแรก อาจจะยังตรวจไม่พบอาการใด ๆ การตั้งครรภ์ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการเจ็บที่ท้องน้อย ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยมีลักษณะการปวดที่บีบรัดเป็นช่วง ๆ อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง บางรายอาจปวดแล้วหายไป บางรายอาจปวดตลอดเวลา
ในกรณีที่มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้กระบังลมเกิดการระคายเคือง ส่งผลให้มีการปวดร้าวไปถึงหัวไหล่ คุณแม่ที่ท้องนอกมดลูกส่วนใหญ่ไปพบแพทย์ด้วยอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งหมายถึงระยะที่ท่อนำไข่แตกแล้ว

ท้องนอกมดลูกพบบ่อยแค่ไหน?

การท้องนอกมดลูกพบได้ไม่บ่อย โดยคิดเป็นร้อยละ 1 โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการท้องนอกมดลูกก็คือ ท่อรังไข่เกิดการติดเชื้อ ดังนั้น ครอบครัวไหนที่วางแผนว่าอยากจะมีลูก แต่กำลังเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ควรรักษาตัวให้หายดีก่อนนะคะ

วิธีการรักษาท้องนอกมดลูก

การรักษามีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

  • ใช้ยาเคมีบำบัด
  • ใช้การผ่าตัด

หากอาการท้องนอกมดลูกไม่รุนแรงและอายุครรภ์ยังไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด เพราะฉะนั้นให้คุณแม่ที่เพิ่งรู้ว่าตั้งครรภ์ควรหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากมีอาการอะไรที่ผิดปกติหรือกำลังสงสัยว่าจะท้องนอกมดลูก ควรปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยให้อวัยวะภายในมีการฉีกขาด เพราะอาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

การดูแลตัวเองหลังการรักษาอาการท้องนอกมดลูก

หลังจากที่คุณแม่ได้เข้ารับการรักษาอาการท้องนอกมดลูกแล้ว ควรนอนพักรักษาตัว เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจสักระยะหนึ่งก่อน เนื่องจากเพิ่งเผชิญกับความผิดหวัง และการต้องสูญเสียลูกในเวลาเดียวกัน เรื่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ คุณแม่ไม่ควรโทษตัวเองหรือตอกย้ำให้ตัวเองต้องเจ็บปวดกับเรื่องนี้ คุณแม่ยังสามารถมีลูกได้ตามปกติเหมือนคนอื่นทั่วไปค่ะ เพียงแต่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำโดยเฉพาะในเรื่องการเตรียมตัว เตรียมร่างกายในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป คุณแม่ควรทิ้งช่วงห่างสักระยะหนึ่งก่อนที่จะพยายามมีลูกน้อยอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำว่าควรรอสัก 3-6 เดือน

หากเคยท้องนอกมดลูกแล้ว จะมีลูกตามปกติได้ไหม?

หากคุณแม่เคยมีประสบการณ์ในการท้องนอกมดลูกมาก่อน ก็ยังสามารถมีลูกที่แข็งแรงเหมือนปกติ และเหมือนคนอื่นทั่วไปได้ค่ะ แม้ว่าจะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่ทำให้ท้องนอกมดลูกนั้นเกิดจากความเจ็บป่วย หรือการติดเชื้อ แพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ

การท้องนอกมดลูกเป็นเคสที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ รู้เร็ว รักษาได้ไว อันตรายต่อชีวิตก็น้อยลงค่ะ แต่ไม่ต้องถึงขั้นเครียดนะคะ เดี๋ยวจะส่งผลต่อลูกน้อยในท้องได้

ข้อมูลอ้างอิง paolohospital.com , phyathai.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP