แม่ท้องน้ำหนักเกิน เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

มีคุณแม่หลายคนที่คิดว่าเมื่อท้องแล้วจะกินอะไรก็ได้ ตามใจปาก ลูกในท้องจะได้มีน้ำหนักเยอะ ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิดค่ะ และที่สำคัญ คือ เมื่อคุณแม่มีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์แล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วงของการตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้ายอาจเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน และอาการอื่น ๆ ได้ และไม่ใช่แค่คุณแม่คนเดียวค่ะ ที่ได้รับผลกระทบแต่เป็นลูกน้อยด้วยเช่นกัน

น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์ ที่ขึ้นปกติ

ก่อนที่จะไปดูในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนกรณีคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักเกิน ช่วงนี้เรามาดูกันสักนิดก่อนค่ะ ว่าปกติแล้ว เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มแต่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานควรอยู่ที่เท่าไหร่

ตั้งครรภ์ – ช่วงไตรมาสแรก

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นี้ น้ำหนักของคุณแม่จะยังไม่เพิ่มขึ้นมากค่ะ บางคนอาจลดลงเล็กน้อย เนื่องมาจากอาการแพ้ท้อง ทำให้กินได้น้อย ทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะช่วงนี้ลูกน้อยยังไม่ได้ต้องการสารอาหารอะไรมากนัก เพราะเขายังเป็นตัวอ่อน ซึ่งจะมีอาหารอยู่ในถุงไข่แดงค่ะ โดยรวมแล้วช่วงนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มที่ไม่เกิน 2 กิโลกรัม เท่านั้น

ตั้งครรภ์ – ช่วงไตรมาสที่สอง

ช่วงนี้น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มมาประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งช่วงเดือนที่ 4-5 หลายคนจะสังเกตเห็นคุณแม่เริ่มมีน้ำมีนวลขึ้นบ้างแล้วค่ะ

ตั้งครรภ์ – ช่วงไตรมาสที่สาม

มาช่วงสุดท้ายนี้ น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยประมาณ หรือไม่ควรเกิน 5-6 กิโลกรัม ภายใน 3 เดือนนี้

ท้องน้ำหนักเกิน เสี่ยงต่ออะไรบ้าง?

คุณแม่ท้องที่มีน้ำหนักเกินระหว่างการตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงต่อภาวะที่ส่งผลกระทบด้านลบทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยในท้องได้ ดังนี้

แท้งลูก

คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งครรภ์เป็นพิษเป็นอาการเริ่มแรกที่นำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด การแท้งลูก ซึ่งทำให้ต้องยุติการตั้งครรภ์ได้เลยทีเดียว

คลอดยาก

เมื่อคุณแม่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็จะส่งผลให้ลูกในท้องมีน้ำหนักมากตามไปด้วย แต่ทั้งนี้แม้ลูกจะมีน้ำหนักที่มากตามไปด้วย แต่น้ำหนักคงค้างส่วนใหญ่จะยังอยู่ที่คุณแม่อยู่ดี คราวนี้เมื่อลูกในท้องมีน้ำหนักมาก จึงทำให้คุณแม่คลอดยากเป็นธรรมดา แต่ความเสี่ยงคือ ความเจ็บ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะคุณแม่ได้รับความบอบช้ำมากระหว่างการคลอดลูก

แต่ในปัจจุบัน แพทย์จะประเมินค่ะ ว่าถ้าคุณแม่อยากคลอดเอง แต่เมื่อดูสถานการณ์แล้ว ไม่น่าไหว แพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัดคลอดแทน ซึ่งกลายเป็นคุณแม่เจ็บทั้ง 2 ทางค่ะ

ปากแหว่งเพดานโหว่

อาการปากแหว่งเพดานโหว่เกิดที่ลูกในท้องค่ะ เนื่องจากคุณแม่มีปริมาณไขมันและน้ำตาลในร่างกายที่สูงมากเกินไป ทั้งนี้ อาการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด แต่ก็ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ที่พบได้น้อยรองลงมา โดยแต่ละคนจะมีอาการที่ต่างกันไป

เบาหวาน

ในร่างกายคุณแม่ท้องจะมีปริมาณไขมัน และปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น และด้วยปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้นนี้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของลูกน้อยในครรภ์สูงขึ้นด้วย ลูกน้อยจึงเป็นโรคอ้วน และเป็นเบาหวานได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป

ตกเลือดขณะคลอด

หากลูกน้อยมีขนาดตัวที่ใหญ่ และมีน้ำหนักมากแล้ว ลูกจะคลอดออกมาได้ยาก และส่งผลให้มดลูกของคุณแม่มีขนาดใหญ่ เมื่อคลอดมาแล้วส่งผลให้มดลูกหดตัวได้ไม่ดี จนทำให้มีเลือดคั่งค้างในมดลูก หรือเกิดการตกเลือดได้

ระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลเรื่องสุขภาพและโภชนาการตัวเองให้ดี โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะจะให้น้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ดี การบำรุง…คุณแม่อาจไม่ต้องบำรุงอะไรให้มากเป็นพิเศษค่ะ เพียงแต่ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกก็เพียงพอ และที่สำคัญคือ การดื่มนมวัว หากคุณแม่ดื่มเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณนะคะ เพราะอาจเสี่ยงที่ลูกจะแพ้โปรตีนจากนมวัวได้ แนะนำให้ดื่มน้ำนมถั่วเหลืองสลับกันไปค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP