โพแทสเซียม สารอาหารสำคัญของแม่ท้อง ที่ควรรู้

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เรื่องของโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญค่ะ การกินอาหารควรกินให้ครบ 5 หมู่ แต่ไม่ใช่ว่ากินทุกอย่างในปริมาณที่เท่า ๆ กันค่ะ อย่างเช่น น้ำตาล หรือแป้ง กินได้บ้าง แต่ก็ไม่ควรกินเยอะ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ มีสารอาหารอีกตัวหนึ่งที่สำคัญต่อคุณแม่ท้องมาก ๆ นั่นคือ โพแทสเซียม บอกตามตรงจากประสบการณ์เลยค่ะว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้ให้ความสนใจกับสารอาหารตัวนี้เลย จนมาพบว่าตัวเองเป็นความดันโลหิตสูง ตัวการหนึ่งคือ เพราะโพแทสเซียมต่ำ สุดท้ายเมื่อตั้งครรภ์ แม่โน้ตต้องคลอดก่อนกำหนด

โพแทสเซียม คืออะไร?

โพแทสเซียมมีหน้าทีสำคัญคือ ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย และอิเล็คโทรไลต์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ส่งแรงกระตุ้นจากเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว ซึ่งในร่างกายของเรามีโพแทสเซียมจำนวนมากที่สะสมอยู่ในเม็ดเลือดแดง ตับ กล้ามเนื้อ และกระดูก

โพแทสเซียมสำคัญต่อแม่ท้องอย่างไร?

มาทำความรู้จักกับโพแทสเซียมเพิ่มกันอีกสักหน่อยค่ะว่า โพแทสเซียมมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ไม่อ่อนแรง

เพราะด้วยคุณสมบัติของโพแทสเซียมที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว ซึ่งถ้าร่างกายขาดโพแทสเซียมก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่มีการหดตัว หรือเรียกว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรงนั่นเอง

แม่โน้ต

แม่โน้ตมารู้ว่าโพแทสเซียมต่ำก็คือ หลังคลอดน้องมิน (ตอนนั้นแม่โน้ตยังเป็นความดันโลหิตสูงอยู่) แม่โน้ตไปตรวจเลือด ผลออกมาว่าโพแทสเซียมต่ำอยู่ขั้นวิกฤติ แต่โชคดีที่ยังไม่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คุณหมอจึงช่วยกันแก้ไขอาการนี้ก่อน ส่วนตอนนี้แม่โน้ตหายจากความดันโลหิตสูงแล้วค่ะ

ลดการเกิดตะคริวที่แขนและขา

นอกจากโพแทสเซียมที่จะช่วยบรรเทาอาการนี้แล้ว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยลดอาการนี้ได้ อาทิ แมกนีเซียม และแคลเซียม

ช่วยเก็บกักของเหลวในร่างกาย

ปัญหาสุดคลาสสิกที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะเจอก็คือ อาการเก็บกักน้ำในร่างกาย ซึ่งถ้าหากร่างกายได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยลดอาการนี้ได้ค่ะ

ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

อิเล็คโทรไลต์เป็นแรธาตุชนิดหนึ่งในร่างกายที่สามารถนำไฟฟ้าได้ และอยู่กับเราในทุกส่วน ได้แก่ ปัสสาวะ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ รวมไปถึงเลือด เป็นต้น ในคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอิเล็คโทรไลต์ที่ไม่สมดุล ซึ่งจะผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้

ปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายแม่ท้องต้องการต่อวัน

โพแทสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายเราต้องการแม้จะไม่ได้มีการตั้งครรภ์ โดยปริมาณที่แนะนำของแต่ละช่วงวัย มีดังนี้

หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

อายุ 14 – 18 ปี ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,300 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 19 ปี ขึ้นไป ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,600 มิลลิกรัม/วัน

คุณแม่ตั้งครรภ์

อายุต่ำกว่า 18 ปี ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,600 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 19 ปี ขึ้นไป ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,900 มิลลิกรัม/วัน

คุณแม่ในระยะให้นมบุตร

อายุต่ำกว่า 18 ปี ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,500 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 19 ปี ขึ้นไป ร่างกายควรได้รับโพแทสเซียม 2,800 มิลลิกรัม/วัน

อาการของแม่ท้องที่มีต่อโพแทสเซียม

อะไรก็ตามที่มีมากไปก็ไม่ดี มีน้อยไปก็ไม่ดี เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีโพแทสเซียมที่ไม่สมดุลแล้ว จะมีผลกระทบอะไรต่อร่างกายบ้าง

โพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia)

อาการที่เกิดจากโพแทสเซียมต่ำ

  • เกิดตะคริวได้ทั้งที่แขนและขา
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้งแขนและขา
  • เวียนหัว หน้ามืด
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ผิวแห้งมาก แตก คัน
  • ความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่โพแทสเซียมต่ำ

  • คุณแม่อาเจียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย
  • ท้องเสียบ่อย
  • มีภาวะคั่งน้ำ หรือมีอาการบวมน้ำ
  • ขาดการดูแลเรื่องอาหารที่ดี

โพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia)

อาการที่เกิดจากโพแทสเซียมสูง

  • หัวใจผิดจังหวะ
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก เนื่องจากปอดทำงานผิดปกติ
  • มีอาการชาตามแขนและขา

สาเหตุที่โพแทสเซียมสูง

  • คุณแม่กินอาหารเสริมมากเกินขนาด
  • กินอาหารที่มีโพแทสเซียมมากเกินไป

ลำพังที่เรายังไม่ได้ตั้งครรภ์ โพแทสเซียมก็เป็นสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกายอยู่แล้ว ดังนั้น ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ได้แก่ อะโวคาโด มันฝรั่ง กล้วย และพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทั้งแม่ทั้งลูกน้อย อย่าลืมใส่ใจเรื่องโพแทสเซียมกันนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP