ลูกสมาธิสั้นหายได้ง่ายๆ ด้วยความเข้าใจ

โรค
JESSIE MUM

เด็กๆ ย่อมมาคู่กับความซน ความอยากรู้อยากเห็น และช่างสงสัย แต่อาจจะมีเด็กบางคนที่อาจจะซนจนเกินไปและไม่สามารถใจจดใจจ่อกับสิ่งใดได้นานเท่าไรนัก อาการดังกล่าวอาจจะเป็นอาการของโรคสมาธิสั้นก็เป็นได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปตรวจเช็คอาการเพื่อที่จะสามารถดูแลกันได้อย่างถูกวิธี

และการรักษาโรคนี้จะไม่สามารถสำเร็จได้เลยถ้าขาดความเข้าใจ ความใส่ใจ และการคอยช่วยเหลือลูกอย่างถูกวิธี วันนี้เราจะพามารู้จักกับโรคสมาธิสั้นและบอกเล่าถึงวิธีการรักษาให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับลูกๆ ของคุณกัน

ประเภทของโรคสมาธิสั้น

ไฮเปอร์

คือ อาการของเด็กๆ ที่ซน ไม่ชอบที่จะอยู่นิ่งๆ หรือจดจ่อกับสิ่งใดนานๆ รวมไปถึงอาจจะพูดมากและมีพลังงานในตัวอย่างเหลือล้นจนใครหลายๆ คนที่ไปเล่น ไปคุยด้วยอาจจะหมดพลังไปเลยก็ว่าได้

ขาดสมาธิ

คือ อาการที่จะแสดงออกมาให้เห็นถึงความเบื่อหน่ายเรื่องต่างๆ ได้ง่ายๆ และมักมีอาการวอกแวกในเวลาที่กำลังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เสมอ ชอบเหม่อลอย และเมื่อได้รับมอบหมายการบ้านหรืองานต่างๆ ก็จะไม่มีสมาธิทำให้เสร็จและยังเป็นเด็กขี้ลืมอยู่บ่อยๆ อีกด้วย

อาการใจร้อน

คือ อาการที่ส่งผลให้เกิดการขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่มีความอดทน ชอบพูดแทรก และไม่ค่อยฟังคุณพ่อคุณแม่และมักโวยวาย แสดงอาการหงุดหงิดใจร้อนอยู่บ่อยๆ นั่นเอง

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

พันธุกรรม

หากก่อนหน้านั้นในครอบครัวของคุณมีคนที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่อาจจะเป็นผลให้ลูกของคุณสามารถเป็นได้เนื่องจากพันธุกรรมนั่นเอง

ความผิดปกติทางสมอง

ไม่ว่าจะเกิดมาจากสาเหตุของอาการสมองขาดออกซิเจน มีเลือดออก ติดเชื้อโรค มีอาการลมชัก รวมไปถึงความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถเป็นต้นเหตุของโรคสมาธิสั้นของลูกคุณได้เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามคุณควรพาลูกไปตรวจกับแพทย์ให้ดีก่อนเพราะมีบางโรคที่ส่งผลให้ของคุณมีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้นได้ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภูมิแพ้ต่างๆ การขาดสารอาหารบางชนิด รวมไปถึงการที่เด็กอาจได้รับยาบางชนิดด้วย

วิธีการรักษาโรคสมาธิสั้น

หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า

เด็กๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นจะมีอาการออกมาเยอะขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้า เช่น การอยู่กับเพื่อนที่ซุกซน การนั่งเรียนหลังห้องทำให้ไม่ได้รับความสนใจ การมีสิ่งอื่นๆ ให้สนใจรอบตัว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเร้าที่สามารถทำให้อาการของลูกนั้นหนักไปยิ่งกว่าเดิมได้
สิ่งที่ควรแก้ก็คือ การพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าและการหากิจกรรมต่างๆ ให้ลูกได้ทำแทน เช่น การเล่นดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กค่อยๆ มีสมาธิมากขึ้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำก็คือการคอยสังเกตว่าลูกชอบกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่ และคอยเอ่ยปากชมเสมอเมื่อมีจังหวะและโอกาสที่เหมาะ

ไม่ลงโทษอย่างผิดวิธี

การเป็นเด็กสมาธิสั้นหากไม่ได้รับความเข้าใจอาจจะทำให้โดนเข้าใจได้ว่าเป็นเด็กดื้อ ไม่ยอมรับฟังคำสอนต่างๆ จนทำให้เป็นสาเหตุของการถูกลงโทษนั่นเอง และเมื่อลงโทษด้วยความรุนแรงและไม่เข้าใจพื้นฐานของโรคแล้วอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้อาการหนักไปกว่าเดิมจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตและเป็นผลต่ออนาคตที่เด็กๆ อาจจะหันไปพึ่งพาสิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ยาเสพติด การพนัน เป็นต้น
ดังนั้นก่อนจะลงโทษหรือสอนต้องมีความเข้าใจทั้งในนิสัยส่วนตัว และในโรคสมาธิสั้นให้ดีก่อนไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดผลเสียตามมา

คอยสังเกต

เมื่อเด็กๆ ได้เริ่มทำกิจกรรมและชอบ รวมไปถึงได้รับความเข้าใจและไม่ถูกลงโทษไปเรื่อยแล้วนั้นก็จะมีอาการที่ดีขึ้น ในจุดนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆ เอาการบ้านงานที่ได้รับมอบหมายเข้ามาให้ลูกทำ ด้วยการคอยสอน คอยบอกและคอยดูแลอยู่เสมอ อย่าลืมที่จะเอ่ยชมทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อเป็นการช่วยโน้มน้าวใจให้ลูกค่อยๆ รู้สึกดีกับเรื่องเหล่านี้และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการหายเป็นสมาธิสั้นได้ในที่สุด

ความรัก ความใส่ใจ ความเข้าใจ การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดรวมไปถึงการหมั่นปรึกษาแพทย์อยู่ตลอดสิ่งเหล่านี้จะช่วยก่อให้เกิดสิ่งดีๆ ตามมาอย่างแน่นอน
คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มเปิดใจว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อใจของคนดูแลดี ใจของคนถูกดูแลย่อมสัมผัสได้อย่างแน่นอน

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP