ดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ แต่รับมือได้

โรค
JESSIE MUM

ดาวน์ซินโดรม เป็นโรคที่เชื่อว่าคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์นั้น จะต้องมีความกังวลใจเรื่องของความผิดปกติของทารกภายในครรภ์ ที่เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด จนเป็นปัญหาให้เด็กในครรภ์มีปัญหาทางด้านพัฒนาการ สมอง และร่างกาย อย่างไรก็ตาม ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ตั้งแต่หนักไปจนถึงเบาได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจป้องกันไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถรับมือกับภาวะเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยได้

โรคดาวน์ซินโดรม เกิดจากอะไร

ดาวน์ซินโดรม เป็นอาการที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน ซึ่งทำให้ผู้ที่มีปัญหานี้มีพัฒนาการที่ต่ำ และมีปัญหาทางด้านร่างกายอย่างเช่นกล้ามเนื้อด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้สิ่งที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอกของผู้ที่มีปัญหานี้ นั่นก็คือ ลักษณะใบหน้า จมูก และหัว จะค่อนข้างแบน ดวงตาเรียวเล็กเป็นวงรี พัฒนาการของร่างกายค่อนข้างช้า และมีส่วนสูงที่เตี้ยกว่าคนทั่วไปในวัยเดียวกัน และสุดท้ายคือ ผู้ป่วยจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติด้วยเช่นเดียวกัน

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน ทำให้ผู้ป่วยมีเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ และมีลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดเจน อย่างหน้าแบน หัวแบน จมูกแบน ตาเล็กเป็นวงรี คอสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอายุสั้นกว่าคนปกติ
อ้างอิงจาก: โรงพยาบาลเปาโล

ความผิดปกติของโครโมโซมนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่มีการแบ่งตัวโครโมโซมภายในเซลล์ไข่ของคุณแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งจริงๆแล้วอาการเหล่านี้ ไม่ใช่อาการที่เกิดจากหรือถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจโครโมโซม เมื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นกับลูกคนต่อไปของคุณพ่อคุณแม่ได้

อาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนของดาวน์ซินโดรม

  • ลักษณะของโครงสร้างใบหน้าที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น หน้าแบน หูเล็ก ตาเรียวเล็ก คอสั้น และมีลักษณะตัวเล็กกว่าคนปกติทั่วไป
  • กล้ามเนื้อหย่อน ข้อต่อหลวม
  • พัฒนาการของด้านเชาน์ปัญญาต่ำ
  • นิ้วมือนิ้วเท้าสั้น
  • มีอาการลิ้นจุกปาก

โอกาสเสี่ยงการเกิดทารกเป็นดาวน์ซินโดรม

ปัญหาการเกิดโครโมโซมที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดดาวน์ซินโดรมขึ้นกับลูกน้อยภายในครรภ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่เกิดการตั้งครรภ์ทุกคน ยิ่งสำหรับคุณแม่ที่มีอายุที่มากยิ่งขึ้น อาจทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าคุณแม่อายุน้อยที่มีช่วงอายุอยู่ที่ 25 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่เคยคลอดทารกคนก่อน ที่เคยมีปัญหาและพบความผิดปกติของดาวน์ซินโดรมแล้ว อาจทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปด้วยเช่นเดียวกัน

โรคดาวน์ซินโดรม ป้องกันได้หรือไม่

โรคดาวน์ซินโดรม ไม่สามารถป้องกันได้ อย่างที่กล่าวในข้างต้น คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่ทารกภายในครรภ์จะเกิดความผิดปกติเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีความกังวลใจ กับความเสี่ยงเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือวางแผนการตั้งครรภ์ในช่วงเริ่มต้นได้

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ได้แก่
h3>การตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงต่ำ

การตรวจคัดกรองจะเป็นวิธีการอัลตราซาวน์ และเจาะเลือด เพื่อหาสาเหตุที่เป็นตัวบ่งชี้ มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำและมีระยะเวลาในการรอผลไม่นาน

การตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงสูง

การตรวจคัดกรองจะเป็นวิธีในการเจาะน้ำคร่ำ วิธีนี้จะให้ผลการคัดกรองที่ค่อนข้างแม่นยำที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีกระบวนการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ ที่จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบและร่วมหาวิธีในการวางแผนรักษา หรือ วางแผนการตั้งครรภ์ของคุณแม่ในครั้งต่อไป ได้แก่

การตรวจโครโมโซมจากรก

โดยแพทย์จะใช้การตรวจวินิจฉัยโดยใช้เนื้อเยื่อของรกมาตรวจสอบ การตรวจด้วยวิธีนี้มักจะใช้ตรวจเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ค่อนข้างมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงอย่างมาก

การเจาะเลือดจากสายสะดือ

โดยแพทย์จะทำการเจาะเพื่อนำตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดที่อยู่บริเวณสายสะดือ เพื่อตรวจสอบ วิธีนี้มักใช้ในการตรวจเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 18-22 สัปดาห์ มีความเสี่ยงต่อการแท้งสูงเช่นเดียวกัน แต่มักจะถูกใช้เมื่อการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ให้ผลที่ชัดเจน

การเจาะน้ำคร่ำ

โดยแพทย์จะนำน้ำคร่ำที่เจาะได้จากบริเวณรอบตัวของเด็กทารกภายในครรภ์ของคุณแม่มาตรวจสอบ มักใช้ตรวจในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 15 สัปดาห์ขึ้นไป

การวินิจฉัยโรคจากพันธุกรรม

เป็นวิธีการที่มักจะใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาความเสี่ยงในการเจ็บป่วยของเด็กตั้งแต่เป็นตัวอ่อน ซึ่งมักเกิดจากการปฏิสนธิภายนอกของร่างกาย ( การทำเด็กหลอดแก้ว ) ก่อนที่จะทำการฝังตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกของคุณแม่

การดูแลลูกที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม

เนื่องจากว่าโรคนี้เป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ คือการดูแลและช่วยเหลือเด็กทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา การฝึกฝนทักษะให้เขาสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตในประจำวันในสังคมได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ คุณแม่จำเป็นจะต้องพาลูกเข้าไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ และจะต้องปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย ถึงวิธีการในการวางแผนเพื่อดูแลและรักษา

เนื่องจากว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม อาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในช่วงแรก ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ค่อยช่วยเหลือ ชี้แนะ เพื่อให้เด็กสามารถดูแลตนเองได้ในอนาคต

จะเห็นได้ว่าโรคดาวน์ซินโดรม ไม่ใช่โรคร้ายที่น่ากลัวเลย หากคุณแม่มีความเข้าใจและใส่ใจเด็กพิเศษ ก็สามารถรับมือกับอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับลูกได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่อย่าลืมที่จะเลี้ยงดูเด็กด้วยความใส่ใจ ให้กำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าเด็กเหล่านี้จะมีความผิดปกติ ทางด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย แต่จะเห็นได้ชัดว่าพวกเขาค่อนข้างเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี สดใส ร่าเริงและเลี้ยงค่อนข้างง่ายกว่าเด็กทั่วไปอย่างแน่นอน

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP