หัดกับส่าไข้ต่างกันอย่างไร? ต้องแอดมิทหรือเปล่า?

โรค

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “ส่าไข้” กันมาบ้างแล้ว อาการของส่าไข้จะคล้ายกับหัดมาก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบถึงรายละเอียดของโรคแล้วจะรู้ได้เลยค่ะว่ามันต่างกัน
วันนี้ผู้เขียนจึงอยากหยิบยกเรื่องราวของ “ส่าไข้” กับ “หัด” มาแชร์ให้คุณแม่ได้รู้เท่าทันโรค มีทั้งสาเหตุของโรค อาการ ภาวะแทรกซ้อน ความต่างระหว่างส่าไข้กับหัด วิธีรักษา และอีกมากมายเกี่ยวกับส่าไข้ จัดไปชุดใหญ่ไฟกระพริบค่ะ

ทำความรู้จักกับส่าไข้

ส่าไข้, หัดกุหลาบ, หัดดอกกุหลาบ หรือ ไข้ผื่นกุหลาบในทารก (Roseola, Roseola infantum, Exanthem subittum หรือ Sixth disease) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุ 3 เดือนถึง 3 ปี แต่พบได้บ่อยสุดในเด็กอายุ 6-12 เดือน และพบได้น้อยมากเมื่อเด็กมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ไม่พบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ร้อยละ 95 พบมากในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี

สาเหตุของโรค

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Herpesvirus type 6 (HHV-6) และ Human Herpesvirus Type 7 (HHV-7) จัดอยู่ในตระกูล Roseolovirus Genus จำพวกเดียวกันกับที่ทำให้เกิดเริม (Herpesvirus) เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นไวรัส HHV-6 แต่เด็กที่มีอายุ 2-3 ปี มักจะติดเชื้อจากไวรัส HHV-7

รับเชื้อได้ทางใดบ้าง?

เชื้อชนิดนี้จะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไอหรือจามรด แล้วเราสูดละอองน้ำลายเข้าไป หรือจากการสัมผัสผู้ป่วย รวมไปถึงเชื้ออาจจะติดอยู่กับข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากคนปกติได้สัมผัสถูกมือผู้ป่วย ข้าวของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วใช้มือขยี้ตาหรือแคะจมูก เราก็รับเชื้อแล้วค่ะ

ระยะฟักตัว

ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 5-15 วัน

ระยะติดต่อ

ตั้งแต่ 2 วันก่อนมีไข้ จนกระทั่งถึง 2 วัน หลังไข้ลด

อาการของโรค

  • ในระยะก่อนผื่นขึ้น เด็กจะมีไข้สูงประมาณ 39.5 – 40.5 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เด็กจะยังร่าเริง ดื่มน้ำ ดื่มนม ทานอาหารได้ดีเป็นปกติ แต่เด็กบางคนอาจงอแง หงุดหงิดทานได้น้อย คุณแม่ใจเย็นๆ นะคะ ในบางรายอาจพบอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกใส หรือท้องเดินเล็กน้อย
    อาการไข้ปกติจะอยู่ที่ 1-3 วัน (อย่างมากไม่เกิน 5 วัน)
  • อาจตรวจพบน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู ท้ายทอย หนังตาบวมเล็กน้อย และเยื่อบุตาแดง
  • ระยะที่ไข้ลดแล้ว จะมีผื่นแดงราบสีแดงขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ที่ลำตัวและแขน ผื่นบางจุดอาจนูนเล็กน้อย หรืออาจมีวงสีแดงจางๆ อยู่รอบๆ ผื่นแดง โดยผื่นจะมีอยู่ไม่กี่ชั่วโมงถึง 3 วันแล้วจะจางหายไป เด็กก็จะหายเป็นปกติค่ะ

ภาวะแทรกซ้อน

  • เด็กอาจเกิดอาการชักจากไข้ประมาณ 2-3 นาที พบประมาณร้อยละ 6-15 ของผู้ป่วยส่าไข้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุ 12-15 เดือน
  • อาจมีสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • สำหรับเด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไขกระดูกไม่ทำงาน เป็นต้น

ความต่างระหว่าง “ส่าไข้” กับ “หัด”

หัด ส่าไข้
อายุที่พบ พบในเด็กอายุ 2-14 ปี พบในเด็กอายุต่ำกว่า 8 เดือน
อาการ มีไข้สูง ซึม หน้าตาแดง มีอาการหวัด ไอ และน้ำมูกไหล ไม่มีอาการหวัด ไอ หรือน้ำมูกไหล
วันที่ 4 ของไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว ขณะที่ผื่นขึ้น จะมีไข้สูงไปอีก 3-4 วัน ผื่นจะขึ้นหลังไข้ลดดีแล้ว
ผื่นจะค่อยๆ จาง เป็นรอยแต้มสีน้ำตาล ผื่นจางหายทันที

วิธีการรักษา

  1. ดูแลลูกน้อยระวังอย่าให้ไข้ขึ้นสูงมาก เพราะลูกอาจชักได้ คุณสามารถ…
    • ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดตัว โดยเช็ดย้อนรอยรูขุมขน ไม่ใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนา
    • ถ้ามีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ร่วมกับการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
    • หากพบว่าเด็กเคยมีประวัติชักหรือมีพี่น้องเคยชักมาก่อน คุณหมอจะให้ยากันชักร่วมกับยาลดไข้ เช่น ฟีโนบาร์บีทาล (Phenobarbital), โซเดียมวาลโพรเอต (Sodium Valproate) เป็นต้น
  2. ดื่มน้ำให้มากๆ ทีละน้อยๆ จะเป็นนม น้ำ หรือน้ำหวานก็ได้ จะลดลดความร้อนในร่างกายค่ะ
  3. ถ้าลูกน้อยงอแง คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆ อุ้มเค้า และตบหลังเบาๆ เพื่อปลอบโยน
  4. หากมีอาการชัก ควรรีบไปหาคุณหมอนะคะ ซึ่งคุณหมอบางท่านอาจขอเจาะหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ชักเพราะโรคอื่น เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่อาการชักจะชักไม่กี่นาที และครั้งเดียวในชีวิต (อาจมี 2 ครั้งในบางราย) แต่เมื่ออายุเกิน 5 ปีไปแล้ว มักจะไม่มีอาการชักอีก ซึ่งวิธีดูแลลูกเบื้องต้นมีดังนี้ค่ะ
    • ให้ลูกนอนบนพื้นโล่งและปลอดภัย จับลูกนอนตะแคง เชยคางขึ้นเล็กน้อย
    • ปลดเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็คตัวเพื่อลดไข้
    • อย่ามัดตัวลูกหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของลูก
    • อย่าใช้ปากกา ดินสอ ด้ามช้อน สอดเข้าปากลูกเพราะอาจทำให้ฟันหักหรือปากเจ็บได้
  5. ไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส

การป้องกัน

โรคนี้ยังไม่มัวัคซีนป้องกัน แต่หากมีคนในบ้านเป็นโรคนี้ คุณแม่ควรจะ…

  • แยกผู้ป่วยออกจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ (2 วันก่อนมีไข้ ถึง 2 วันหลังไข้ลด)
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จัดชุดใหญ่ไฟกระพริบเลยกับส่าไข้และหัด เพราะผู้เขียนอยากให้คุณแม่ได้ดูแลลูกน้อยได้ถูกวิธี อย่าลืมนะคะ หากลูกชักไม่ว่าจะกี่นาทีก็ตาม ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที และให้คุณแม่จับเวลาที่ลูกชักเพื่อจะได้แจ้งให้แพทย์ทราบต่อไป ท่องไว้นะคะคุณแม่…สติ สติ สติ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP