โนโรไวรัส (Norovirus) ตัวการทำเด็กท้องเสีย

โรค
JESSIE MUM

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวว่ามีเด็กเล็กตั้งแต่่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษามีอาการคลื่นไส้และท้องเสียอย่างรุนแรงกว่า 500 คน ที่จังหวัดราชบุรี ผลสรุปจากการตรวจพบเชื้อโนโรไวรัสซึ่งเป็นตัวการทำให้เด็กท้องเสียอย่างรุนแรง ส่งผลให้โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนมีจำนวนเตียงไม่พอรองรับ ยิ่งถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะภาวะขาดน้ำและความดันต่ำ

หลังจากมีข่าวนี้ออกไป ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีต้องมีการเรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนและกำหนดให้มีการทำ Big Cleaning Day ครั้งใหญ่และให้เพิ่มคลอรีนในน้ำดื่มโดยให้เท่ากับที่ทางสาธารณสุขแนะนำ

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อโนโรไวรัสตัวนี้กัน ว่าจะมีความรุนแรงมากแค่ไหน สาเหตุเกิดจากอะไร ติดต่อกันได้อย่างไรบ้่าง พร้อมวิธีรับมือกันค่ะ

ทำความรู้จักกับโนโรไวรัส (Norovirus)

โนโรไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ ไวรัสชนิดนี้มีการระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ถึงแม้ว่าร่างกายจะได้รับเชื้อเพียงน้อยนิดก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้นความน่ากลัวของเจ้าเชื้อโนโรไวรัสนี้คือ ทนต่อความร้อนและน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ เรียกว่าตายได้ยากมาก เพราะฉะนั้นหากในอาหารและน้ำดื่มมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคตัวนี้ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และอย่าลืมนะคะเจ้าเชื้อตัวนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย ทำให้มีการแฃแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในวงกว้างเพียงใช้เวลาไม่กี่นาที

ฤดูในการแพร่เชื้อ

เชื้อโนโรไวรัสนี้มักมีการแพร่ระบาดมากในฤดูหนาว ติดต่อกันได้ง่ายในสภาวะอากาศเย็น ติดต่อกันได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

รับเชื้อได้ทางใด

เชื้อนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่ ผ่านพฤติกรรมเหล่านี้

  • ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโนโรไวรัสเข้าไป ซึ่งพบบ่อยในน้ำดื่ม น้ำแข็ง ผักและผลไม้สด รวมถึงหอยนางรม เป็นต้น
  • สัมผัสกับสิ่งของของผู้ป่วย หรือไม่ถ้าเป็นเด็กๆ ก็อาจไปสัมผัสของเล่นของผู้ป่วยแล้วเอามือเข้่าปากโดยไม่รู้ตัว
  • สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง

อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อโนโรไวรัส (Norovirus)

อาการที่สามารถพบได้บ่อยหลังจากได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 1-2 วัน มีดังนี้ค่ะ

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้ต่ำ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อ่อนเพลีย

การตรวจหาเชื้อและการรักษา

หมอจะตรวจหาเชื้อจากอุจจาระ จากห้แงปฏิบัติการ หากพบว่าติดเชื้อนี้จริงก็จะดูแลรักษาไปตามอาการ หากเด็กมีภูมิต้านทานดีก็จะสามารถหายได้เองใน 2-3 วัน

แต่ถ้าหากเด็กมีอาการขาดน้ำ หมอจะให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ทานอาหารอ่อน ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ซึ่งถ้าหากเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาการก็จะรุนแรง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด เพราะถ้าเด็กมีอาการช็อก ความดันต่ำ อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส (Norovirus)

ความสะอาด คือ หัวใจหลักสำหรับการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งทำได้ดังนี้ค่ะ

  • หลังเข้าห้องน้ำ ก่อนจะทานอาหารหรือจะหยิบจับอาหาร ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และใช้วิธีให้น้ำไหลผ่านประมาณ 15 วินาที
  • เลือกดื่มน้ำหรือทานอาหาร ี่สะอาดและปรุงสุกใหม่
  • ใช้ช้อนกลาง หากทานอาหารกับผู้อื่น

จากข้อมูลด้านบน ทำให้เราได้รู้มากขึ้นแล้วว่าเจ้าเชื้อโนโรไวรัสนี้มีความแข็งแรงพอตัว ตายยาก แถมแพร่กระจายได้เร็วอีกต่างหาก ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดและ “เท่าที่เราสามารถควบคุมได้” ก็คือ การพยายามรักษาความสะอาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

“เพราะอะไร?”

ก็เพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยังไม่มียาตัวใดที่จะรักษาโรคนี้ได้โดยตรง ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น

อ้างอิง bangkokhospital.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP