ไวรัสRSV ดูคล้ายหวัด แต่อันตรายกว่า

โรค

ไวรัสRSV หรือมีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นหนึ่งในหลายๆ โรคที่มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือปลายฝนต้นหนาว มักเกิดในเด็กเล็กดูเผินๆ อาการจะคล้ายหวัดทั่วไป แต่จริงๆ แล้ว RSV มีความรุนแรงมากกว่าและเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งออกมาเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ เป็นต้น หากเด็กไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เด็กเป็นโรคหอบหืดได้ลูกของผู้เขียนเองก็เป็นโรคนี้ตอนเค้าอายุได้เพียงขวบเดียว และผู้เขียนก็ได้รับเชื้อไวรัสRSV ต่อ แต่อาการเบากว่าลูกมาก
วันนี้ผู้เขียนชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักไวรัส RSV ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้สังเกตอาการลูกและ…

Youtube : ไวรัสRSV ดูคล้ายหวัด แต่อันตรายกว่า

อาการหลังการติดเชื้อไวรัส RSV

อาการหลังการติดเชื้อไวรัส RSV

หลังจากที่ได้สัมผัสกับเชื้อไวรัส RSV แล้ว ผู้ป่วยจะแสดงอาการภายใน 4-6 วัน โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการทั่วไปดูคล้ายหวัด เช่น มีไข้ต่ำ คัดจมูก จาม มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ยังพอมีอาการให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตและแยกแยะค่ะว่าลูกจะติดเชื้อไวรัสRSV หรือไม่

  • หอบเหนื่อย
  • หายใจเร็ว หายใจแรง
  • หายใจครืดคราด
  • ตัวเขียว
  • มีเสียงหวีดในปอด(เป็นเพราะเยื่อบุทางเดินหายใจบวม อักเสบ และหลอดลมหดตัว)
  • ไอแบบมีเสมหะมาก

ควรหาคุณหมอทันที หากมีอาการเหล่านี้

ควรหาคุณหมอทันที หากมีอาการ

  • ภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากเวลาที่ลูกร้องไห้จะไม่มีน้ำตามออกมา
  • ไอและมีเสมหะเป็นสีเทา สีเขียว หรือสีเหลือง
  • หายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ หรือมีอาการหอบเหนื่อย
  • มีน้ำมูกข้น เหนียว ทำให้หายใจลำบาก
  • ปลายนิ้วหรือปากเริ่มมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากภาวะขาดออกซิเจน
  • มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ทานอาหารได้น้อย หรือเบื่ออาหาร
  • มีผื่นขึ้น

ช่องทางติดเชื้อไวรัสRSV

ไวรัส RSV สามารถติดได้จาก…

  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกายผ่านตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากมือ
  • สัมผัสละอองน้ำลายของผู้ป่วยจากการไอหรือจาม

ไวรัสชนิดนี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่างๆ

การรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ ต้องรักษาตามอาการ ดูแลเรื่องระบบหายใจให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยการดูแลใกล้ชิดที่โรงพยาบาล ซึ่งในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ที่บ้านก่อน ดังนี้ค่ะ

  • ให้ลูกนั่งหรือนอนในท่าที่จะทำให้หายใจได้สะดวก (อาจนอนแบบเอนเบาะขึ้นมานิดหน่อยก็ได้ค่ะ) แต่หมอนต้องไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป
  • ดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำจะช่วยให้สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก หรือเสมหะไม่ข้นเหนียวจนเกินไป ทำให้ไม่ขวางการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน เพื่อให้ลูกหายใจได้สะดวกขึ้น
  • ทานยาในกลุ่มอะเซตามิโนเฟน(Acetaminophen) เพื่อช่วยลดไข้

แต่หากลูกเริ่มมีอาการที่รุนแรงขึ้น จำเป็นอย่างมากที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกได้รับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาล ซึ่งคุณหมอจะใช้วิธีการรักษาในแนวทางอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • ทานยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ลูกมีอาการแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย
  • ใช้ยาพ่นขยายหลอดลม เพื่อบรรเทาอาการหายใจที่มีเสียงหวีด
  • ดูดเสมหะ หากมีเสมหะที่ข้นเหนียวจำนวนมาก เพื่อช่วยให้ทางหายใจโล่งขึ้น
  • คุณหมออาจใช้ยาเอพิเนฟริน (Epinephrine)เพื่อลดอาการบวมของทางเดินหายใจ
  • อาจมีการให้ออกซิเจน หรือใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ ในกรณีที่พบว่าลูกมีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัสRSV

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นทารกหรือเด็กเล็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจ กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า ซึ่งจะส่งผลดังนี้

  • โรคปอดบวมหรือโรคหลอดลมฝอยอักเสบ เพราะไวรัสจะเคลื่อนตัวจากระบบทางเดินหายใจด้านบน เช่น จมูก ปาก ลงไประบบหายใจช่วงล่าง ทำให้เกิดการอักเสบที่ปอดและทางเดินหายใจ
  • โรคหอบหืด

การป้องกัน

การป้องกันRSV

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนมื้ออาหารทุกครั้ง
  • ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  • ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
  • ควรทำความสะอาดของเล่นที่ผู้ป่วยเล่นทุกครั้ง

ไวรัสRSV นี้ ถึงแม้เป็นแล้วแต่ก็สามารถเป็นได้อีกนะคะ เพียงแต่ความรุนแรงจะไม่เท่าครั้งแรก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้กันอย่างนี้แล้ว เมื่อลูกเป็นหวัด ลองสังเกตอาการลูกนะคะ ว่าเข้าข่าย RSV หรือไม่ เพื่อให้ลูกได้รับการรักษาอย่างถูกทางแต่เนิ่นๆ ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP