หวัดลงกระเพาะ ลูกอาเจียน ทานไม่ได้ วิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ขวบ (บางโรคอาจต้องรอถึง 9 ขวบ กว่าคุณหมอจะสามารถควบคุมอาการได้) นับว่ายังมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงสมบูรณ์นัก ดังนั้น ร่างกายเค้าจะรับเชื้อโรคได้ง่าย และป่วยบ่อยมาก แต่หากลูกเป็นหวัดแล้ว เกิดหวัดนั้นลงกระเพาะล่ะ? คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไร มีอาการอะไรบ้างที่ต้องสังเกต? หนักแค่ไหนถึงเรียกว่าต้องไปพาลูกพบคุณหมอ วันนี้เรามีข้อมูลจาก รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษีพร้อมการรับมือในเบื้องต้นมาฝากค่ะ ไปดูกันเลย

มาทำความรู้จัก หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงกระเพาะ

จากกรณีที่คุณหมอได้พบ มีเด็กหญิงคนหนึ่ง อายุ 3 ขวบ มาหาคุณหมอด้วยอาการที่มีไข้ต่ำๆ ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ทานอะไรไม่ได้เลย ไอ และมีน้ำมูกนิดหน่อย คุณหมอจึงวินิจฉัยลงความเห็นเด็กคนนี้ว่าเป็นหวัดลงกระเพาะหรือไวรัสลงกระเพาะ
แต่หากก่อนหน้าที่ยังไม่มาพบคุณหมอ แล้วพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไร? จะรู้ได้อย่างไร? ไปติดตามในรายละเอียดกันค่ะ

อาการของหวัดลงกระเพาะหรือไวรัสลงกระเพาะ

หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกไม่สบายและมีอาการต่างๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยค่ะว่าอาจเป็นหวัดลงกระเพาะหรือไวรัสลงกระเพาะได้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียนทานอะไรไม่ได้
  • มีไข้ต่ำๆ
  • ปวดหัวหรือ เวียนหัว
  • ไอเล็กน้อย มีน้ำมูกใส (ซึ่งอาจไม่ได้มีอาการนี้ในทุกครั้งที่เป็นหวัด)

คุณหมอจะวินิจฉัยได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสลงกระเพาะ

  • ดูจากประวัติอาการที่ผ่านมา
  • ตรวจร่างกายโดยรวมและดูอาการที่เข้าได้กับโรค
  • ประวัติการระบาดของโรค
  • การสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้

แต่ทั้งนี้ คุณหมออาจมีการวินิจฉัยให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นด้วยการ

  • นำอุจจาระผู้ป่วยไปตรวจด้วย rapid test เพื่อหาเชื้อ norovirusและ rotavirus แต่หากเป็นไวรัสตัวอื่น การตรวจจะมีความยุ่งยากมากกว่านี้
  • หรือ อาจส่งอุจจาระเพื่อไปตรวจหาเชื้อไวรัสตัวอื่น เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ พยาธิบางชนิด

วิธีรักษาไวรัสลงกระเพาะ

ต้องบอกว่าโรคนี้ยังไม่มียาที่จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคได้โดยตรง ดังนั้น การรักษาจึงต้องเป็น “การรักษาตามอาการ” และเน้นการป้องกันการขาดน้ำ หากทานได้ก็ควรดื่มน้ำเกลือแร่ในปริมาณที่เยอะหน่อย ทานอาหารอ่อน อาทิ ข้าวต้ม พักผ่อนให้มาก และทานยาตามที่คุณหมอสั่ง เช่น ยาลดอาการคลื่นไส้ เป็นต้น

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกไปพบคุณหมอ

  • ดื่มน้ำหรือทานอาหารไม่ได้เลย
  • อาเจียนมาก หรืออาเจียนแล้วมีเลือดปน
  • มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อย มีอาการซึม อ่อนเพลีย เวียนหัว
  • มีไข้สูง โดยเฉพาะหากมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส

ป้องกันอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่คงพอรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้มาประมาณนึงแล้ว คงอยากรู้แล้วใช่มั้ยคะว่าเราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นไวรัสลงกระเพาะได้หรือไม่ อย่างไร ไปดูกันค่ะ

  • พาลูกไปรับวัคซีนป้องกันเชื้อ rotavirus ตั้งแต่ยังเป็นทารก
  • สอนให้ลูกรู้จักดูแลสุขอนามัยของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันโรค โดย…
  • ล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีทั้งก่อนและหลังทานอาหาร โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ โดยใช้สบู่ล้างมือ ถูกให้ทั่วมือ รวมถึงซอกนิ้ว ควรล้างอย่างน้อย 20 วินาที
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ชาม ช้อน หรือผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • พยายามอยู่ให้ห่างหรือไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย

ดูเผินแล้วอาการของหวัดลงกระเพาะหรือไวรัสลงกระเพาะดูจะไม่ค่อยต่างจากหวัดธรรมเท่าไหร่ แต่ความรุนแรงของไวรัสลงกระเพาะนี้จะเป็นเรื่องของการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกเป็นหวัดธรรมดาหรือหวัดลงกระเพาะ แนะนำควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัย และรับการรักษาที่ถูกต้องดีกว่านะคะ เพราะหากปล่อยไว้จนลูกมีอาการซึม อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ หากเป็นมากอาจถึงขั้นช็อคหมดสติได้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP