โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคระบาดในเด็ก ที่คุณแม่ควรรู้

โรค

โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคที่คุณแม่จะต้องทำความรู้จักไว้ เพื่อเป็นความรู้ และสร้างความเข้าใจในโรคนี้ เพื่อการเตรียมตัวป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้โรคนี้ยังถือว่าเป็นโรคติดต่อได้อีกด้วย ลักษณะจะคล้ายคลึงกับโรคมือเท้าปาก เนื่องจากว่าทั้งสองโรคนี้ เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันนั่นเอง วันนี้เรามาดูกันค่ะว่าโรคเฮอร์แปงไจน่า คืออะไร? จะมีอาการอะไรที่บ่งชี้และมีอาการที่แตกต่างจากโรคอื่น ๆ อย่างไรบ้าง?

สาเหตุโรคเฮอร์แปงไจน่า

จากที่กล่าวข้างต้น ว่าโรคนี้มีเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับโรคมือเท้าปาก นั่นก็คือกลุ่มไวรัสที่มีชื่อว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus Infection) โดยจะถูกแบ่งแยกออกเป็น เชื้อไวรัสอย่าง เอนเทอโรไวรัส 71 ไวรัสคอกซากี และ ไวรัสกลุ่ม A ที่มักจะเป็นไวรัสที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วย ซึ่งเป็นโรคไวรัสที่สามารถพบได้บ่อยอีกด้วย

เนื่องจากว่าโรคนี้ สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้จากทางอากาศ ผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือทางน้ำ และพาหะที่สามารถนำโรคนี้มาสู่คนได้ นั่นก็คือ ของเล่น ผ้าขนหนู รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ คุณแม่จึงควรระมัดระวังสิ่งของเครื่องใช้ของเด็กในความดูแลเป็นพิเศษ ยิ่งเด็กในวัยที่ต้องเข้าเรียน พบปะผู้คนเป็นจำนวนมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

อาการ โรคเฮอร์แปงไจน่า

อาการของโรคมักจะแสดงออกหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อภายในสองวัน โดยมักจะแสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน โดยมีอุณหภูมิของร่างกายระหว่าง 5-40 องศาสเซลเซียส
  • มีอาการปวดท้อง ปวดหัว และปวดบริเวณลำคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองในคอมีอาการบวมโต
  • มีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย ทานได้น้อย เนื่องจากอาการเจ็บคอในขณะกลืนอาหาร
  • สำหรับเด็กทารก มักจะพบเจออาการน้ำลายไหลยืด (เนื่องจากเจ็บคอ) รวมถึงอาเจียน
  • มีตุ่มแดงบริเวณลำคอ แผลเปื่อยที่มีลักษณะของขอบสีแดง และมีความเจ็บปวดร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคของแพทย์

หากลูกมีความเสี่ยง คุณแม่สามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ หากเข้าพบแพทย์ จะมีการวินิจฉัยเบื้องต้น โดยการสอบถามอาการที่เกี่ยวข้อง การตรวจลำคอและเพดานปาก หากสามารถสังเกตลักษณะของแผลที่มีความเสี่ยงได้ แพทย์จะใช้วิธีในการตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ที่แม่นยำเพิ่มเติมด้วย ได้แก่

  • การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกัน
  • การตรวจหาเชื้อจากตัวอย่างของเหลว บริเวณโพรงจมูก
  • การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ

แนวทางการรักษาโรคเฮอร์แปงไจน่า

การรักษาโรคจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ เพราะโดยปกติแล้วหากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อจากไวรัสเหล่านี้ จะสามารถหายได้เองภายใน 7 วัน เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันเข้ามาต่อสู้กับเชื้อไวรัสเหล่านี้ ดังนั้น คุณแม่สามารถสบายใจได้ว่าโรคนี้จะไม่ทำอันตรายจนถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยได้

สำหรับการรักษาเบื้องต้น

แพทย์จะมีการแนะนำด้วยกัน 2 ขั้นตอน โดยแบ่งเป็น

การรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีอาการไม่มาก หรือสำหรับเด็กที่ไม่สามารถทานยาตามแพทย์สั่งได้ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และต้องเน้นเป็นน้ำเย็นเป็นหลัก เนื่องจากโรคนี้มีอาการไข้สูงร่วมด้วย การดื่มน้ำเย็น จะช่วยทดแทนของเหลวภายในร่างกาย และต้องหลีกเลี่ยงน้ำร้อนด้วยเช่นเดียวกัน

การรักษาด้วยยา

การใช้ยาเพื่อรักษา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกทานยาพาราเซตามอล สำหรับบรรเทาอาการไข้ อาการปวดต่าง ๆ และจะมีการจ่ายยารักษาเฉพาะทาง สำหรับการรักษาแผลบริเวณช่องปากและลำคอร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเฮอร์แปงไจน่า

แม้ว่าโรคนี้ดุจะไม่ค่อยมีความอันตรายมากนัก แต่ก็ยังพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ จึงเป็นภาวะที่คุณแม่ต้องพึงระวังสำหรับวัยเด็ก แม้ว่าจะพบได้น้อยก็ตาม โดยภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ จะได้แก่ โรคเยื่ออหุ้มสมองอักเสบ เกิดขึ้นได้จากการที่เด็กมีการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรคอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า

จากข้อมูลที่เราได้แนะนำไปนั้น ตัวเชื้อโรคเองสามารถแพร่กระจายได้ ดังนั้น คุณแม่จะต้องป้องกันตามวิธีการเหล่านี้ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการปกป้องเด็กในความดูแลให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสเหล่านี้ ได้แก่

  • หมั่นดูแลเรื่องความสะอาดของเด็ก ด้วยการสอนให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ดูแลความสะอาด ข้าวของเครื่องใช้ ของเล่น ของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนู ผ้าอ้อม ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการสัมผัสของเหลวของเด็กที่มีอาการติดเชื้อด้วย
  • ไม่ควรพาเด็กเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัด ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องพาเด็กไปพบปะผู้คน

เมื่อทำความรู้จักกับโรคเฮอร์แปงไจน่าแล้ว มันจะทำให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคนี้ มีอาการบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจน จึงไม่ต้องกังวลไปว่าจะเกิดอาการร้ายแรงขึ้นกับเด็ก แต่หากไม่แน่ใจ การพาเด็กเข้าพบแพทย์ ก็จะช่วยยืนยันผลและวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่มียาในการต้านเชื้อไวรัสก็ตาม แต่ก็ยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรแต่อย่างใด

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP