หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินว่ามีลูกตอนอายุเยอะอาจจะมีผลไม่ดีกับลูกได้ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องมาเท่าไรนักเพราะในความเป็นจริงแล้วคุณแม่ที่มีอายุเยอะไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ของลูกในครรภ์ แต่อายุที่เยอะของคุณแม่นั้นมีผลต่อโอกาสเสี่ยงที่ลูกอาจจะเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมได้นั่นเอง
ช่วงอายุและระดับความเสี่ยงในการมีลูก
โดยตามหลักแล้วนั้นความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติในโครโมโซมของลูกในครรภ์จะมีผลมาจากอายุของคุณแม่เป็นหลัก
คุณแม่มีอายุที่น้อยกว่า 35 ปีจะมีโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 1 : 1000
คุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 1 : 250
คุณแม่อายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 1:100
และคุณแม่อายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1:30
ดังนั้น การได้วางแผนในการแต่งงานและมีลูกก่อนเสมอนั้นย่อมมีประโยชน์กับการช่วยลดความเสี่ยงให้กับลูกได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ยังมีในกรณีที่แม้คุณแม่อาจจะอายุยังน้อยแต่เคยคลอดลูกเป็นดาวซินโดรมก็ยังคงมีโอกาสเสี่ยงถึง 1 : 50 ที่ลูกคนต่อไปอาจจะมีโอกาสเป็นดาวซินโดรมเช่นเดียวกัน
การดูแลสุขภาพในการตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่มีอายุเยอะ
แม้ว่าคุณแม่บางท่านอาจจะมีอายุที่มากกว่า 35 ปีขึ้นไปแล้วนั้นการดูแลสุขภาพในช่วงที่ตั้งครรภ์ก็ไม่ได้แตกต่างจากคุณแม่ที่อายุน้อยแต่อย่างใดเพราะโดยหลักๆ แล้วการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำให้เหมาะสม พร้อมทั้งออกกำลังกายให้ถูกต้อง และเมื่อทราบแล้วว่าตั้งครรภ์ก็เพียงแค่รีบไปฝากครรภ์และหมั่นไปตรวจสุขภาพตามนัดอยู่เสมอ
แต่ในส่วนของสุขภาพนั้นคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปควรที่จะเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบถึงสุขภาพครรภ์และความผิดปกติต่างๆ ของลูกในครรภ์